คุณครู.คอม
.









Online: 24 user(s)

ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ 2541





kunkroo radio

ตรวจสอบแทรคไปรษณีย์ไทย

domain register Admin Only

ทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต

ตรวจสอบไอพี(IP check for locate)

..
     


    :  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม
หมวด: สาระจากพระพุทธศาสนา
พระไตรปิฏก ตอนที่ 1(เข้าใจง่าย)
04-01-2013 เข้าชมแล้ว: 9931

"โย โว อนนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา"
  "ดูก่นอานนท์ ธรรมและวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว แและบัญญิติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลที่เราล่วงลับไป"

พระพุทธพจน์  :  แก่นแท้ของพระพุทธศานา
พระไตรปิฎก สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้  เมื่อเราเรียนรู้เรื่องราวในพุทธศาสนา เรียกว่า"ปริยัติ" เมื่อรู้แล้วหมายถึงรู้จริงรู้ถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ ก็นำเอาสิ่งที่รู้ไป "ปฏิบัติ" เมื่อปฏิบัติถูกต้อง ก็จะเกิด"ปฏิเวท" ปฏิเวท ที่เกิดก็จะถูกต้อง เช่น โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และพระอรหัตผล  ในทางกลับกันหากไม่เรียนรู้ หรือเชื่อคำสอนที่ผิดเช่นมีบางสำนักสอนให้ปฏิบัติโดยภาวนาตามประสงค์ ใคอยากได้เงินได้ทองให้ภาวนาตามนั้น ท่านจะรวยในไม่ช้า การปฏิบัตินั้นก็ผิด ปฏิเวทที่เกิดก็จะผิดเพี้ยนไปไม่ได้มรรคผลอันใด มีแต่ความเสื่อม หรือเรียกว่ายังให้กุศลเสื่อม เจริญในทางอกุศล  ดังนั้นชาวพุทธจึงจำเป็น "ต้องรู้้"พระไตรปิฎก ซึ่งเป็นศาสดา

 คำว่า  พระพุทธศาสนา  ว่าโดยทั่วไป มีความหมายกว้างมาก  รวมตั้งแต่หลักธรรม พระสงฆ์ องค์กร สถาบัน กิจการ ไปจนถึงศานาสถานและศาสนวัตถุ ทุกอย่าง
แต่ถ้าจะเจาะลงไปถึงความหมายแท้ที่เป็นตัวจริงพระุพุทธศาสนาก็มีความหมายตรงไปตรงมาตามคำแปลโดยพยัญชนะของคำว่า พระพุทธศานา นั้นเอง "คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า"  นี้คือตัวแท้ตัวจริงของพระพุทธศาสนา สิ่งอื่นนอกจากนี้เป็นส่่วนขยายออกหรืองอกขึ้นมาจากคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น

เมื่อจับความหมายที่เป็นตัวแท้ได้แล้วก็จะมองเห็นว่่าความดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนาหมายถึงความคงอยู่แห่งคำสอนของพระพุทธเจ้าหากคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเลือนลางหายไปแม้จะมีบุคคลกิจการศาสนสถานและศาสนวัตถุใหญ่โมโหฬารมากมายเท่าใดก็ไม่อาจถือว่ามีพระพุทธศาสนาแต่ในทางตรงข้ามแม้ว่าสิ่งที่เป็นรูปธรรมภายนอกดังกล่าวจะสูญหายถ้าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ายังดำรงอยู่คนก็ยังรู้จักพระพุทธศาสนาได้ด้วยเหตุนี้การดำรงรักษาพระถุทธศาสนาที่แท้จริง จึงหมายถึงการดำรงรักษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
กล่าวให้เฉพาะลงไปอีก คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ก็ได้แก่พุทธพจน์หรือพระดำรัสของพระพุทธเจ้านั่นเอง อันนั้น ว่าโดยสาระ การดำรงรักษาพระพุทธศานา จึงหมายถึงการดำรงรักษาพระพุทธพจน์ 

อนึ่่ง พระพุทธพจน์นั้นเป็นพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตัสแสดงธรรมและบัญญัติวินัยไว้ก่อนพะทธบรินิพพานไม่นาน  พระพุทธเจ้าตรัสไว้าเองว่าจะไม่ทรงตั้งพระภิกษุองค์ใดเป็นศาสดาแทนพระองค์เมื่อพระองค์ปรินิพพานล่วงลับไป แต่ไ้ด้ทรงมอบหมายให้ชาวพุทธได้รู้กันว่า พระธรรมวินัยนั้นแหละเป็นพระศาสดาแทนพระองค์ ชาวพุทธจำนวนมากถึงกับจำพุทธพจน์ภาษาบาลีได้ว่า
  โย โว อนนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา
  "ดูก่นอานนท์ ธรรมและวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว และบัญญิติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลที่เราล่วงลับไป"

โดยนัยนี้ พระพุทธพจน์จึงเป็นทั้งพระพุทธศาสนาคือคำตรัสสอนของพระพุทธเจ้า และที่ธำรงสถิตพระศาสดา โดยได้ทรงไว้และประกาศพระธรรมวินัยแทนพระพุทธองค์

พระไตรปิฎก: ข้อควรรู้้เบื้องต้น
คัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ คือพระธรรมวินัย มีชื่่อที่ชาวตะวันตกรูจักกันโดยทั่วไปว่า Pali Canon หรือ ฺ Buddhist Canon ทัั้้งนี้ก็เพราะว่า เป็นที่ประมวลหลักการพื้นฐานของศานา (=canon)  ซึ่งในที่นี้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา (Budhist)  และข้อความในคัมภีร์นี้บันทึกด้วยภาษาบาลี  (=Pali)  แต่คำบาลีที่เรียก พระไตรปิฎก  ก็คือ  ติปิฎก จากคำว่า "สาม" + ปิฎก "ตำรา, คัมภีร์, หรือกระจาด (อันเป็นภาชนะบรรจุของ)"  ซึ่งตามอักษรใช้หมายถึงคำสอนหมวดใหญ่  ๓  หมวด คือ
- พระวินัยปิฎก  ได้แก่ประมวลระเบียบข้อบังคับของบรรพชิตที่่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุและภิกษุณี
- พระสุตตันตปิฎก  ได้แก่ประมวลพระสูตรหรือคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยักเยื้องไปต่าง ๆ ให้เหมาะกับบุคคลสถานที่เหตุการณ์ มีเรื่องราวประกอบ
- พระอภิธรรมปิฎก ได้แก่ประมวลคำสอนที่เป็นเนื้อหาหรือหลักวิชาล้วน ๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ ไม่มีเรื่องราวประกอบ

อันที่จริง พระไตปิฎกมิ่ใช่คัมภีร์เพียงเล่มเดียวแต่เป็นคัมภีร์ชุดใหญ่ที่มีเนื้อหาถึง ๘๔,๐๐๐  พระธรรมขันธ์  ฉบับบพิมพ์ด้วยอักษฃรไทยนิยมจัดแยกเป็น ๔๕ เล่ม  เพื่อหมายถึงระยะเวลา ๔๕  พรรษาแห่งพุทธกิจ นับรวมได้ถึง ๒๒,๓๗๙  หน้า  (ฉบับบสยามรัฐ)  หรือเป็นตัวอักษาประมาณ  ๒๔,๓๐๐๐,๐๐๐  ตัว  แต่ละปิฎกมีการจัดแบ่งหมวดหมู่่บทตอน ซอยออกไปมากมายซับซ้อน  (โปรดดูเค้าโครงในการจัดหมวดหมู่ในแผนภูมิหน้า ๓๓)


ความสำคัญของพระไตรปิฎก

ความสำคัญของพระไตรปิฎกต่อการธำรงรักษณาพระศาสนานั้น เราจะเข้าใจได้ชัดยิ่งขึ้นเมื่่่อมองเห็นความสัมพันธ์ของพระไตรปิฎกกับส่วนอื่นของพระพุทธศาสนา

- พระไตรปิฎกกับพระรัตนตรัย
เหตุผลหลักที่พระไตรปิฎกมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดก็คือ เป็นที่รักษาพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นไตรสรณะของชาวพุทธทุกคนเช่นกัน ดังนี้
(๑)  พระไตรปิฎกเป็นที่สถิตของพระพุทธเจ้า อย่างที่ได้บอกตั้งแต่ต้นแล้วว่า ธรรมวินัยจะเป็นศาสดาแทนพระองค์  เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้วในแง่นี้  ชาวพุทธจึงยังคงสามารถเข้าเฝ้าพระศาสดาในพระไตรปิฎกได้ แม้พระองค์จะล่วงลับไปกว่า ๒,๕๐๐๐  ปีแล้วก็ตาม
(๒)  พระไตปิฎกทำหน้าที่ของพระธรรม  เรารูจักพระธรรมวินัย คือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจากพระไตปิฎก  พระธรรมวินัยนั้น  เราเรียกสั้น ๆ ว่า พระธรรม เวลาเราจะแสดงอะไรเป็นสัญลักษณ์แทนพระธรรม  เราก็มักใช้พระไตรปิฎกเป็นเครื่องหมายของพระธรรม
(๓)  พระไตรปิฎกเป็นที่รองรับพระสงฆ์  พระสงฆ์นั้นเกิดจากพุทธบัญญัติในพระไตรปิฎก  หมายความว่า พระภิกษิทั้งหลายที่รวมเป็นภิกขุสังฆะคือ ภิกษุสงฆ์นั้นบวชขึ้นมาและอยู่ได้ด้วยพระวินัย

วินัยปิฎกเป็นที่่บรรจุไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ กติกา ที่รักษาไว้ซึ่งภิษุสังฆะ ส่วนสังฆะนั้นก็ทำหน้าที่่เป็นผู้ที่จะรักษาสืบทอดพระศาสนา สังฆะจึงผูกพันเนื่องอยู่ด้วยกันกับพระไตรปิฎก

รวมความว่า พระรัตนตรัย ต้องอาศัยพระไตรปิฎกเป็นที่ประกฏตัวแก่ประชาชนชาวโลก เริ่มตั้งแต่พุทธศาสนิกชนเป็นต้นไป พระไตรปิฎกจึงมีความสำคัญในฐานะเป็นที่ปรากฏของพระรัตนตรัย ดังนั้น การธำรงพระไตรปิฎกจึงเป็นการธำรงไว้ซึ่งพระรัตนตรัย ซึ่งก็คือการธำรงรักษาพระพุทธศาสนา
ไม่ใช่การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลา การทอดกฐิน ทอดผ้าป่า  จะเรียกว่ารักษาศาสนา หรือสืบต่อพระพุทธศาสนา เพราะนั้นคือการทำ "ทาน" ซึ่งเป็นคำสอนให้ละความโลภ และเป็นสร้างบุญกุศลตามบุญกิริยาวัตถุ10 ข้อที่ 1 คือ

๑. บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย) คือการเสียสละนับแต่ทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง ตลอดจนกำลังกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม รวมถึงการละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งมีค่าที่สุดเพื่อการปฏิบัติธรรม

๒. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) คือการตั้งใจรักษาศีล และการปฏิบัติตนไม่ให้ละเมิดศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกา ศีล ๑๐ ของสามเณร หรือ ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ เพื่อรักษากาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์สะอาด พ้นจากกายทุจริต ๔ ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม และเสพสิ่งเสพติดมึนเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท วจีทุจริต ๔ ประการ คือไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดปด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดคำหยาบ มโนทุจริต ๓ ประการ คือ ไม่หลงงมงาย ไม่พยาบาท ไม่หลงผิดจากทำนองคลองธรรม

๓. บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย ) คือการอบรมจิตใจในการละกิเลส ตั้งแต่ขั้นหยาบไป จนถึงกิเลสอย่างละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยใช้สมาธิปัญญา รู้ทางเจริญและทางเสื่อม จนเข้าใจอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด

๔. บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย) คือการให้ความเคารพ ผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ ๓ ประเภท คือ ผู้มี วัยวุฒิ ได้แก่พ่อแม่ ญาติพี่น้องและผู้สูงอายุ ผู้มี คุณวุฒิ หรือคุณสมบัติ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มี ชาติวุฒิ ได้แก่พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์

๕. บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) คือ การกระทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดี ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น การชักนำบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ในฝ่ายสัมมาทิฎฐิ

๖. บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป

๗. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า “สาธุ” เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ ก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย

๘. บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) คือ การตั้งใจฟังธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน หรือที่เคยฟังแล้วก็รับฟังเพื่อได้รับความกระจ่างมากขึ้น บรรเทาความสงสัยและทำความเห็นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนเกิดปัญญาหรือความรู้ก็พยายามนำเอาความรู้และธรรมะนั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สู่หนทางเจริญต่อไป

๙. บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย) คือ การแสดงธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปของการกระทำ หรือการประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ในทางที่ชอบ ตามรอยบาทองค์พระศาสดา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น หรือการนำธรรมไปขัดเกลากิเลสอุปนิสัยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา มาประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไป

๑๐. บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐชุกัมม์) คือ ความเข้าใจในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ สิ่งที่เป็นแก่นสารสาระหรือที่ไม่ใช่แก่นสารสาระ ทางเจริญทางเสื่อม สิ่งอันควรประพฤติสิ่งอันควรละเว้น ตลอดจนการกระทำความคิดความเห็นให้เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่เสมอ

บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้ ผู้ใดได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยิ่งมากจนครบ ๑๐ ประการแล้ว ผลบุญย่อมเกิดแก่ผู้ได้กระทำมากตามบุญที่ได้กระทำ ยิ่งได้มีการเตรียมกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ตั้งใจจรดเข้าสู่ศูนย์กลางกาย หยุดในหยุด เข้าไปแล้วก็ยิ่งได้รับบุญมหาศาลตามความละเอียดประณีตที่เข้าถึงยิ่งๆ ขึ้นไป

-  พระไตรปิฎกกับพุทธบริษัท ๔
พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า พระองค์จะปรินิพพานต่อเมื่อพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายทั้งปวง คือ พระภิกษุ ทั้งเถระ ทัี้งมัชฉิมะ ทั้งนวกะ ภิกษุณีก็เช่นเีดียวกัน พร้อมทั้งอุบาสก อุบาสิกา ทั้งที่ถือพรหมจรรย์และที่เป็นผู้ครองเรือนทั้งหมด ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะรักษาพระศาสนาได้คือ
(๑)  ต้องเป็นผู้มีความรู้ เข้าใจหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ดีและพระพฤติปฏิบัติได้ถูกต้องตามคำสอน
(๒)  นอกจากรู้เข้าใจเองและปฏิบัติได้ดีแล้วยังสมารถบอกกล่าวแนะนำสั่่งสอนผู้อื่นได้ด้วย
(๓)  เมื่อมีปรัปวาาทเกิดขึ้น คือ คำจ้วงจาบสอนคลาดเคลื่อนผิดเพี้ยนจ่ากพระธรรมวินัยก็สามารถชี้แจงแก้ไขได้ด้วย

ตอนที่พระองค์จะปรินิพพานนั้น มารก็มากราบทูลว่า เวลานี้พุทธบริษัท ๔ มีคุณสมบัติพร้อมอย่างที่พระองค์ได้ตรัสเหมือนกับเป็นเงื่อนไขไว้แล้ว พระพุทธเจ้างทรงพิจารณาเห็นว่าเป็นอย่างนั้น จึงทรงรับที่จะปรินิพพานโดยทรงปลงพระชนมายุสังขาร

พุทธดำรัสนี้ ก็เหมือนกับว่าพระพุทธเจ้าทรงฝากพระพุทธศานาไว้กับพุทธบริษัท ๔ แต่ต้องมองให้ตลอดด้วยว่า ทรงฝากพระพทธศาสนาไว้กับพุทธบริษัทที่เป็นอย่างไร

ชาวพุทธจะเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องที่จรรโลงพระศาสนาไว้ ก็เริ่มด้วยมีคัมภีร์ที่จะให้เีัีรียนรู้เข้าใจพระธรรมวินัยอันเป็นของแท้ก่อน


เป็นอันว่า ในแง่นี้พระไตรปิฎกก็เป็นหลักของพุทธบริษัท ต้องอยู่คู่กับพุทธบริษัท โดยเป็นฐานให้แก่พุทธบริษัทซึ่งจะทำให้ชาวพุทธเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะรักษาพระศาสนาไว้ได้

สองฝ่ายนี้ คือ ตัวคนที่จะรักษาพระศาสนา กับตัวพระศาสนาที่จะต้องรักษา ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน  พระศานาจะดำรงอยู่จะเกิดผลเป็นประโยชน์ ก็ต้องมาปรากฏที่ตัวพุทธบริษัท ๔  ต้องอาศัยพุทธบริษัท ๔  เป็นที่รักษาไว้
พร้อมกันนั้นในเวลาเดียวกัน พุทธบริษัท ๔  จะมีความหมายเป็นพุทธบริษัทขึ้นมาได้และจะได้ประโยชน์จากพระพุทธศาสนาก็เพราะมีธรรมวินัยที่รักษาไว้ในพระไตรปิฎกเป็นหลักอยู่


-  พระไตรปิฎกกับพระสัทธรรม  ๓
อีกแง่หนึ่ง พระพุทธศาสนานี้ ตัวแท้จริงถ้าสรุปง่าย ๆ ก็เป็น ๓ ดังนี้  เรียกว่าเป็น สัทธรรม ๓  คือ  ปริยัติ  ปฏิบัติ  และปฏิเวธ
ปริยัติ ก็คือ พุทธพจน์ที่เรานำมาเล่าเรียนศึกษา  ซึ่งอยู่ในพระไตรปิฎก ถ้าไม่มีพระไตรปิกฎ พุทธพจน์ก็ไม่สามารถมาถึงเราได้ เราอาจกล่าวได้ว่าปริยัติเป็นผลจากปฏิเวธและเป็นฐานของการปฏิบัติ
พระพุทธเจ้าเมื่อทรงบรรลุผลการปฏิบัีติของพระองค์แล้ว จึงทรงนำประสบการณ์ที่เป็นผลจากการปฏิบีติของพระองค์์นั้นมาเรียบเรียงร้อยกรองสั่งสอนพวกเรา คือทรงสั่งสอนพระธรรมวินัยไว้ คำสั่งสอนขององค์นั้นก็มาเป็นปรยัติของเรา คือเป็นสิ่่งที่เราจต้องเล่าเรียน แต่ปริยัติที่ผลจากปฏิเวธนั้น หมายถึงปฏิเวธของพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ คือผลการปฏิบัติของพระพุทธเจ้าและที่พระพุทธเจ้าทรงยอมรับเท่านั้น ไม่เอาผลการปฏิบัติของโยคี ฤาษี ดาบส นักพรต ชีไพร อาจารย์เจ้าลัทธิ หรือศาสดอื่นใด

ถ้าไม่ได้เล่าเรียนปริยัต ไม่รู้หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า การปฏิบัติของเราก็เขว ก็ผิด ก็เฉไฉ ออกนอกพระพุทธศาสนา ถ้าปฏิบัติผิดก็ได้ผลผิด หลอกตัวเองด้วยสิ่่งที่่พบซึ่งตนหลงเข้าใจ ปฏิเวธก็เกิดขึ้นไม่ได้

ถ้าไม่มีปริยัติเป็นฐาน ปฏิบัติและปฏิเวธก็พลาดหมด เป็นอันล้มเหลวไปด้วยกัน พูดง่าย ๆ  ว่้าจากปฏิเวธของพระพุทธเจ้าก็มาเป็นปริยัติของเรา แล้วเราก็ปฏิบัติตามปรยัตินั้้้้้้้้้น  เมื่อปฏิบัติถูกต้องก็บรรลุปฏิเวธอย่างพระพุทธเจ้า ถ้าวง
จรนี้ยังดำเนินไป พระศาสนาของพระพุทธเจ้าก็ยังคงอยูู่

ปริยัติที่มาจากปฏิเวธของพระพุทธเจ้า และเป็นฐานแห่งการปฏิบัติของพวกเราเหล่าพทุธบริททั้งหลาย ก็อยู่ในพระไตรปิฎกนั่นเอง ตกลงว่าในความหมายที่จัดแบ่งตัวพระศาสนาเป็นสัทธรรม ๓ หรือบางทีแยกเป็นศาสนา ๒ คือ ปริยัติศาสนา กับปฏิบัติศาสนา นั้นรวมความก็อยู่ที่พระไตรปิฎกเป็นฐาน จึงต้องรักษาพระไตรปอฎกไว้ เมื่อรักษาพระไตรปิฎกได้ก็รักษาพระพุทธศานาได้้


-  พระไตรปิฎกกับไตรสิกขา
อีกแง่หนึ่ง เราอาจมองลึกลงไปถึงชั้นที่เอาพระพุทธศานสนาเป็นเนื้อเป็นตัวของเราหรือเป็นชีวิตของแต่ละคน  พระพุทธศาสนาในความหมายที่เป็นแก่่นสารแท้ ๆ ก็คือผลที่เกิดขึ้นเป็นความดี เป็นความเจริญก้าวหน้างอกงามขึ้น หรือเป็นการพัฒนาขึ้้นของไตรสิกขาในชีวิตของเรานี้เอง

พระพุทธศาสนาชนิดที่เป็นเนื้อเป็นตัวเป็นชีวิตของเรานี้ ก็ต้องอาศัยพระไตรปิฎกอีกเช่นกัน เพระาว่าพระพุทธศาสนาในความหมายนี้ หมายถึงการที่ีสามราถละโลภะ โทสะ โมหะ ได้ การที่ีจะละ โลภะ โทสะ โมหะ ได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตาม ศีล สมาธิ ปัญญา

อนึ่งในการจัดระเบียบหมวดหมู่คำสอนเป็นพระไตปิฎก ตามที่นิยมสืบกันมาจะนำแต่ละปิฎกไปเชื่ ่อมโยงสัมพันธ์กับไตรสิกขาแต่ละข้อ ดังนี้้้้้
-พระวินัยปิฏก เป็นแหล่งที่รวมศีลของพระสงฆ์ ทั้งศีล ๒๒๗ ข้อในปาติโมกข์กับศีลนอกปาติโมกข์ พระวินัยปิฎกจึงถือเป็นเรื่องวินัยหรือเรื่องศีลคือการฝึกหัดพัฒนาพฤติกรรมที่แสดงออกทางกายและวาจา
-พระสุตตันตปิฎก ความจริงมีครบหมด มีทั้ ้งศีล สมาธิ ปัญญาแต่ท่านชี้้ให้เห็นจุดเด่นของพระสุตตันตปิฎกว่าเน้นหนักในสมาธิ คือ การพัฒนาด้านจิตใจ
-พระอภิธรรมปิฎก เน้นหนักด้านปัญญา พูดอย่างปัจจุบันว่าเป็นเนื้อหาทางวิชาการล้วน ๆ ยกเอาสภาวธรรมที่ละเอียดประณีตลึกซึ้งขึ้นมาวิเคราะห์วิจัย จึงเป็นเรื่่องของปัญญาต้องใช้ปรีชากชาญอันลึกซึ้ง
ถ้าใครปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา ที่่แสดงไว้ในพระไตรปิฎกชีวิตของผู้้นั้นจะกลายเป็นเหมือนตัวพระพุทธศาสนาเอง ตราบใดชีวิตเรายังอยู่พระพุทธศาสนาก็ยังคงอยู่ เราอยู่ไหนเราเดินไปไหนพะรพุทธศาสนาก็อยทีู่่นั่นและก้าวไปถึงนั่้ัั่่่น

อย่างนี้เรียกว่าพระพุทธศาสนาอยู่ด้วยวิธีการรักษาอย่างสูงสุด  พูดได้ว่าพระไตรปิฎกเข้ามาอยู่ในเนื้อตวของคนแล้ว ไม่ใช่อยู่แค่เป็นตัวหนังสือ  แต่ก่อนจะมาอยู๋ในตัวคนได้ ก็ต้องมีคัมภีร์พระไตรปิฎกนี้ี้แหละเป็นแหล่งบรรจุรักษาไว้ แม้แต่เราจะปฏิบัติให้สูงขึ้นไป เราก็ต้องไปปรักษาพระอาจารย์ีที่เรียนมาจากพระไตรปิฎก ซึ่งอาจจะถ่ายต่อกันมาหลายสิบทอด ถ้าเราอ่านภาษาบาลีได้ก็ไปค้นพระไตรปิฎกเอง ถ้าไม่ได้ก็ไปถามพระอาจารย์ผู้รู้ให้ืท่านช่วยค้นให้ เมื่อค้นได้ความรู้ในหลักคำสอนมาแล้ว เราก็สมารถปฏิบัติถูกต้องให้เจติญงอกงามในศีล สมาธิ ปัญญา ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
สรุปว่า เราชาวพุทธอิงอาศัยพระไตรปิฎกโดยตรง ด้วยการนำหลักคำสอนมาปฏิบัติให้เกิดผลในชีวิตจริง

 








หมวด: สาระจากพระพุทธศาสนา
»บุญข้าวประดับดิน เรียกอีกอย่างว่าเปรตพลี แปลว่าอุทิศให้เปรต วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9
06-09-2021
»อำนาจบุญบวช สวดมนต์ไหว้พระ ทำสมาธิ เดินจงกรม
14-02-2021
»ชาติหน้ามีจริงไหม
26-01-2021
»บัญชีบุญ-บัญชีบาป
24-01-2021
»ถ้าไม่ใช่กรรมที่เราทำมา เราก็จะไม่ได้รับกรรมนั้น
26-01-2021
»คำยืนยันจากหลวงปู่มั่นว่า "พระแก้วมรกต เลือกประเทศไทย" ด้วยเหตุผล 3 ข้อ
24-01-2021
»มนุษย์อยากเป็นเทวดา แต่ เทวดากลับอยากเป็นมนุษย์
11-03-2018
»ทุกข์ทรมารมากกว่าจะได้เกิดเป็นคน
10-03-2018
»อันตรธาน 5
28-02-2018
»มาฆบูชา
28-02-2018
»การไปแสวงบุญที่พุทธสังเวชนียสถาน 4 แห่ง ได้ไปสวรรค์
10-02-2018
»กรรม 12 ประเภท
10-02-2018
»นาค พญานาค เป็นสัตว์เดรัจฉาน
10-02-2018
»นักแสดง ตายแล้วไปเกิดในนรก หรือกำเนิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน
10-02-2018
»คำว่า อนุโมทนา กับ โมทนา ต่างกันอย่างไร
20-12-2017
»เหตุใดวัดพระแก้วจึงไม่มีพระสงฆ์อยู่
26-10-2017
»ทำไมต้องทำบุญ
05-07-2017
»เจ้าชายสิทธัตถะประสูติแล้ว ดำเนินได้ ๗ ก้าวจริงหรือ
31-05-2017
»เรื่องพระสารีบุตรตอนจะเข้าสู่พระนิพพาน
23-02-2016
»แผนที่ธรรม แสดง 31 ภพ
23-02-2016
»สี่คนหาม สามคนแห่ หนึ่งคนนั่งแคร่ สองคนพาไป คืออะไร
07-12-2015
»"วันนี้วันพระ" วันพระมีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร
18-11-2015
»ติรัจฉานวิชา (ว่าด้วยสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่กระทำ)
07-08-2014
»มหาสุทัสสนสูตร : ข้อเตือนใจคนโลภ
29-07-2014
»อานาปานสติ
09-04-2014
»บัว 4 เหล่า
16-01-2018
»คติ และคติภพ คืออะไรและต่างกันอย่างไร
13-12-2014
»พระเกศา_พระโลหิต'_พระสังฆราชกลายเป็นพระธาตุ
13-12-2014
»สวรรค์ 6 ชั้น
19-01-2021
»พระคาถาธารณปริตร
02-10-2013
»หลวงพ่อชาตอบปัญหาธรรม
17-07-2013
»วันมาฆบูชา
11-02-2014
»พุทธชยันตี
10-01-2013
»พระธรรมเทศนาจากหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
05-01-2013
»ช้างปาเลไลยก์
17-01-2013
»พระกุมารกัสสปะ
05-01-2013
»นางจิญจมาณวิกา นางอมิตตา กลับชาติมาเกิด
05-01-2013
»นางวิสาขา มหาอุบาสิกา
03-04-2016
»นางสิริมา หญิงโสเภณีผู้บรรลุโสดาบัน
05-01-2013
»เอาเงินใส่บาตรพระบาปไหม ที่นี่มีคำตอบ
03-04-2016
»โครงการภาพยนตร์ พุทธศาสดา ชาวพุทธควรชมอย่างยิ่ง
05-01-2013
»ไฟล์เสียงวิธีนั่งสมาธิตอนที่1-5 โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
05-01-2013
»พระสุปฏิปฏิปัณโณ หรือพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
04-01-2013
»พระไตรปิฏก ตอนที่ 1(เข้าใจง่าย)
04-01-2013
»พระบรมครู คู่มือครู
16-01-2018
»อนุบุพพิกถา
04-01-2013
»ตักบาตรเทโวโรหนะ
04-01-2013
»คุณหมอผู้สนใจธรรมะ "ธรรมะคือลมหายใจ"
04-01-2013
»พระเจ้าพิมพิสาร
04-01-2013
»พระอานนท์
04-01-2013
»พระมหาโมคคัลลานะ
04-01-2013
»เรื่องเทวดา
04-01-2013
»ถือศีล ห้า ได้กุศลมากกว่าสร้างวิหารทาน จริงหรือ
04-01-2013
»เงื่อนไขการทำบุญให้ทาน
04-01-2013
»การทำบุญด้วยศรัทธา
04-01-2013
»บุญจากการอนุโมทนา
04-01-2013
»พระฉันนนะผู้ว่ายากสอนยาก
04-01-2013
»นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระพุทธเจ้า
04-01-2013
»เกิดใหม่กลัวบาป อุทาหรณ์ การทำบาป
04-01-2013
»พระภัททากัจจานาเถรี
04-01-2013
»นิทานธรรมบท เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก
04-01-2013
»เมื่อใด บาปให้ผล เมื่อนั้น คนพาล ย่อมประสบทุกข์
04-01-2013
»เมื่อพญานาคอยากเป็นมนุษย์
04-01-2013
»เหตุใดเทวดาจุติ(ตาย)แล้วจึงอยากเกิดเป็นมนุษย์
04-01-2013
»ผลของกรรม
04-01-2013
 
หน้าแรก  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม


คุณครู.คอม ขอแสดงเจตนาว่าทุกข้อความใน เว็บไซต์นี้ให้คัดลอกได้
ไม่จำกัด เพื่อเป็นวิทยาทาน เพื่อการศึกษาเท่านั้น . .

email  [email protected]


kkwebv56   Copyright©2023 kunkroo.com
Development from SMEweb 1.5f By คุณครู.คอม