คุณครู.คอม
.









Online: 22 user(s)

ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ 2541





kunkroo radio

ตรวจสอบแทรคไปรษณีย์ไทย

domain register Admin Only

ทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต

ตรวจสอบไอพี(IP check for locate)

..
     


    :  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม
หมวด: สาระจากพระพุทธศาสนา
เอาเงินใส่บาตรพระบาปไหม ที่นี่มีคำตอบ
03-04-2016 เข้าชมแล้ว: 58537

การตักบาตรและถวายเงินใส่ซองให้พระ แบบนี้จะทำให้พระท่านอาบัติไหมครับ
แล้วจะใส่บาตรอย่างไร จึงจะถูกต้องครับ

ลองอ่านเรื่องต่อไปนี้ แล้วพิจารณาเองว่า ถูกหรือผิดอย่างไีร


การใส่บาตรพระในตอนเช้า ขอ จำแนกออกป็น ขั้น ๆ ดังนี้
การนิมนต์พระ

ถ้าพระเดินมาทางเราแล้วก็ไม่ต้องนิมนต์แต่อย่างใด แต่ถ้าหากพระเดินเลยไป หรือไปทางอื่น ก็อาจใช้คำ ว่า ขอนิมนต์ทางนี้หน่อย ครับ /คะ/เจ้าคะ
(เพิ่มเติม แต่ถ้าหาก มีพระมายืนรอหน้าบ้านโดยไม่ได้นิมนต์ (ไม่สมควร)อาจบอกว่า ขอนิมนต์ข้างหน้าก่อน ครับ/คะ /เจ้าคะ ทุกวันนี้มีเห็นกันมากในหมู่บ้านจัดสรร
ส่วนมากไม่รูจักมาก่อนไม่ทราบมาจากไหน บางครั้งมีการเรียกให้ทำบุญตักบาตรด้วย เช่น "ใส่บาตรไหมโยม" บางครั้ง มีบอกโยมถึงสิ่งตนเองอยากได้
เช่น"โยมอาตมายากได้มุ้ง โยมจะถวายได้ไหม ผืนละร้อยเอง"เลยทำให้สงสัยว่าเป็นพระจริงหรือเปล่า หรือบางทีไม่ได้เตรียมอะไรไว้ ทำให้เกิดการใส่บาตรด้วยเงิน
เพราะสาเหตุนี้มากมาย จึงไม่อยากยุ่งเลยนิมนต์เลยไปก่อน ดังนี้ จากประสบการณ์จริงของผู้เขียน : นายนิคม พวงรัตน์)
การจบ




การจบข้าวก่อนใส่บาตรพระ คือการยกข้าวทูนหัว แล้วอธิฐานจิต เพื่ออธิษฐานถึงสิ่งที่ตนเองปรารถนา ควรสั้น ๆ ส่วนการอุทิศส่วนกุศลค่อยไปว่าตอนกรวดน้ำ
จะเป็นภาษาไทย หรือบาลีก็ได้ เช่น "สุทินนัง วัตตเมทานัง อาสวัก คยาวหัง นิพพานัง ปัจจโยโหตุ" ซึ่งแปลว่า ทานที่ข้าพเจ้าถวายดีแล้วนี้ จงเป็นปัจจัย ให้ถึงพระนิพพานด้วยเทอญ

ถอดรองเท้า ทำไมต้องถอดรองเท้า



ในสมัยนั้น ปกติชาวบ้านไม่ใส่รองเท้า
จะมีพวกที่ใส่รองเท้าได้แก่พวก พระราชา อำมาตย์ เศรษฐี

พอพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วก็สั่งสอนธรรมที่เป็นเรื่องมักน้อย สันโดษ มุ่งปฏิบัติธรรม โดยอาศัยชาวบ้านเลี้ยงดู ไม่ต้องวุ่นวายเรื่องอาหาร

ตอนที่พระทั้งหลายออกไปบิณฑบาต
บางองค์ก็เท้าเปล่า เพราะมาจากชาวบ้าน
บางองค์ก็ใส่รองเท้าเพราะมาจากคนที่เคยใส่มาก่อน

ชาวบ้านก็นินทาว่า ยังไม่ละทิ้งเรื่องความสุขสบาย
ออกมาบวชกันทำไม เรื่องนี้ก็เลยป็นเหตุให้พระไม่ใส่รองเท้า..

ในพระวินัยบางแห่ง พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุใส่รองเท้าหนังเขียงเท้าได้ ในขณะที่เดินทางในถิ่นทุรกันดาร

**ใส่รองเท้าเป็นอาบัติหรือไม่
ตามพระไตรปิฏกมีบัญญัติไว้เกี่ยวกับเรื่องรองเท้าดังนี้
พระพุทธบัญญัติห้ามสวมรองเท้าสีต่างๆ

พระพุทธบัญญัติห้ามสวมรองเท้ามีหูไม่สมควร

พระพุทธบัญญัติทรงห้ามสวมรองเท้าบางชนิดภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าติดแผ่นหนังหุ้มส้น ไม่พึงสวมรองเท้าหุ้มแข้ง ไม่พึงสวมรองเท้าปกหลังเท้า
ไม่พึงสวมรองเท้ายัดนุ่น ไม่พึงสวมรองเท้ามีหูลายคล้ายขนปีกนกกระทา ไม่พึงสวมรองเท้า
ที่ทำหูงอนมีสัณฐานดุจเขาแกะ ไม่พึงสวมรองเท้าที่ทำหูงอนมีสัณฐานดุจเขาแพะ ไม่พึงสวม
รองเท้าที่ทำประกอบหูงอนดุจหางแมลงป่อง ไม่พึงสวมรองเท้าที่เย็บด้วยขนปีกนกยูง ไม่พึงสวม
รองเท้าที่อันวิจิตร รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

พระพุทธบัญญัติทรงห้ามสวมรองเท้าขลิบหนังราชสีห์ ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังเสือโคร่ง ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังเสือเหลือง
ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังชะมด ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังนาก ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังแมว ไม่พึงสวมรองเท้า
ขลิบด้วยหนังค่าง ไม่พึงสวมรองเท้าขลิบด้วยหนังนกเค้า รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ทรงอนุญาตรองเท้าหลายชั้นที่ใช้แล้ว

พระพุทธานุญาตให้สวมรองเท้าเป็นพิเศษเราอนุญาตให้ภิกษุผู้มีเท้าชอกช้ำ หรือมีเท้าแตก หรืออาพาธมีหน่อที่เท้า สวมรองเท้าได้

ห้ามสวมรองเท้าในที่บางแห่ง
ภิกษุไม่พึงเดินสวมรองเท้า รูปใดเดินสวมรองเท้า ต้องอาบัติทุกกฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวมรองเท้าภายในอาราม รูปใดสวม ต้องอาบัติทุกกฏ.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเขียงเท้าที่ตรึงอยู่กับที่ ไม่ใช่สำหรับใช้สวมเดิน ๓ ชนิด
คือ เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบถ่ายอุจจาระ ๑ เขียงเท้าที่สำหรับเหยียบถ่ายปัสสาวะ ๑ เขียงเท้าที่
สำหรับเหยียบในที่ชำระ ๑.

***เวลาใส่บาตร ทำไมต้องถอดรองเท้า

การทำบุญทำทานโดยทั่วไปมีอยู่ ๒ ประเภทใหญ่ๆคือ ให้เพื่อสงเคราะห์ หรืออนุเคราะห์ กับให้เพื่อบูชาคุณ
ให้เพื่อสงเคราะห์หรือให้เพื่ออนุเคราะห์นั้นได้แก่ การให้กับคนที่ต่ำกว่าเรา(ทางฐานะ) เช่นขอทาน คนพิการ คนชรา คนประสบภัย เป็นต้น
คนรับทานพวกนี้เราถือว่าเขาอยู่ในฐานะต่ำกว่าเรา เมื่อเราให้เขาแล้วก็ไม่จำเป็นต้องเคารพ หรือกราบไหว้ตรงกันข้าม ผู้รับควรจะเคารพหรือกราบไหว้เราเสียอีก
ให้เพื่อบูชาคุณ ได้แก่ การให้แก่ พระ เณร พ่อแม่ ครู อาจารย์ ตลอดจนผู้มีพระคุณต่างๆ ท่านเหล่านี้ล้วนเป็นผู้ทรงคุณค่าต่างๆ เราให้ท่านก็เพื่อบูชาคุณของท่าน
จึงถือว่าท่านอยู่ในคุณธรรมสูงกว่าเรา เราจึงต้องเคารพท่าน ทั้งก่อนให้ กำลังให้ หรือให้แล้วก็ตาม
ในการตักบาตรให้พระนั้น เราต้องถือว่า พระที่แท้จริงนั้น ท่านต้องสูงทั้งศีลและธรรมกว่าเรา เราจึงต้องเคารพท่าน จะให้อย่างขอทานไม่ได้
เพราะขอทานไม่ใช่เนื้อนาบุญของเรา แต่พระสงฆ์ที่ดีนั้น ท่านจัดว่าเป็น "เนื้อนาบุญ" ของชาวพุทธ เมื่อเราจะทำบุญทำทานแก่ท่าน
เราก็ต้องทำด้วยความเคารพทั้งกาย วาจา และ ใจ
การแสดงความเคารพพระสงฆ์นั้น เราจะต้องจัดที่ให้ท่านสูงกว่าเราเสมอ หรืออย่างน้อยก็ต้องเสมอกันจึงจะถือว่า เป็นการให้ความเคารพท่านอย่างถูกต้อง
ในการใส่บาตรนั้น พระท่านมาเท้าเปล่า ถ้าผู้ใส่บาตรสวมรองเท้าอยู่ ไม่ว่ารองเท้าประเภทใด ก็ถือว่าเราสูงกว่าพระ จึงจัดว่าขาดความเคารพในพระสงฆ์ผู้รับทาน
แม้การถอดรองเท้า แต่ยังยืนบนรองเท้าก็จะยิ่งถือว่าสูงกว่าใส่รองเท้าเสียอีก เพราะได้เหยียบบนหูรองเท้าอีกทีหนึ่ง ถ้าไม่มีความจำเป็นอย่างอื่นก็ควรจะถอดออก
และไม่ควรยืนบนรองเท้าอีก
ข้อยกเว้น ในกรณีที่จำเป็นจริงๆ ในบางครั้งบางโอกาสเช่นเท้าเจ็บ หรือใส่รองเท้าหุ้มส้นถอดยาก เรื่องมาก ไม่สะดวก และรีบร้อนจะไปธุระ ก็ไม่ถือว่าขาดความเคารพ
หรือจะสวมรองเท้าก็ได้แต่ควรจัดสถานที่พระยืนรับบาตรให้อยู่เสมอเรา หรืออยู่สูงกว่าเรา เช่นหาแผ่นกระดานมารองเท้าพระ ให้ยืนสูงกว่าเราก็ไม่ถือว่าขาดความเคารพ
แต่ว่าก็ว่าเถอะ ไหนๆเราจะทำบุญใส่บาตรทั้งที ชั่วเวลาไม่กี่นาที จะกลัวอะไรกับการเปื้อน พระท่านย่ำเท้ามาไกลกว่าเรา และนานกว่าเราด้วย ท่านยังทำได้
ควรจะกลัวกิเลสเปื้อนใจ มากกว่าที่จะกลัวโคลนเปื้อนเท้ามิใช่หรือ

สำหรับบุคคลในเครื่องแบบ ใส่บาตรโดยไม่ถอดรองเท้าก็ไม่ถือว่าขาดความเคารพ
- ต้องแสดงความเคารพด้วยความสำรวม
- การแสดงความเคารพด้วยการไหว้ การยกมือประนมต้องให้
หัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ซึ่งสูงกว่าการไหว้ บุพการีและบุคคลอื่น
- การแสดงความเคารพด้วยการกราบ ให้กราบ 3 ครั้ง อันหมายถึง
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
- การยืน ไม่ควรยืนเสมอพระสงฆ์ หรือควรให้พระสงฆ์ยืนสูงกว่า
บุคคลจึงไม่ควรสวมรองเท้าขณะยืนต่อหน้าพระสงฆ์ หรือหากมีความจำเป็นต้องสวมรองเท้า ให้ย่อตัวลงมิให้เสมอพระสงฆ
ศีล 227 ข้อไม่มีข้อห้ามรับบาตรจากผู้ที่ใส่รองเท้า
แต่ห้ามแสดงธรรมแก่ผู้สวมรองเท้า ซึ่งน่าจะรวมการห้ามให้พร ด้วย

การตักบาตรหรือการใส่บาตรนั้น
ถ้าญาติโยมใส่รองเท้าอยู่ ควรถอดรองเท้าเสียก่อนจึงใส่บาตร เพราะว่าพระภิกษุท่านไม่ได้ใส่รองเท้ามาบิณฑบาต เราก็ไม่ควรที่จะใส่รองเท้าเหมือนกันเพราะจะทำให้สูงกว่าพระภิกษุสามเณร
จึงเป็นการไม่เคารพต่อพระภิกษุสามเณรและกองบุญของตน

เว้นไว้แต่ข้าราชการทหาร ตำรวจ ที่อยู่ในชุดเครื่องแบบประจำ จึงใส่บาตรได้โดยไม่ต้องถอดรองเท้า
นอกนั้นต้องถอดรองเท้าจึงเป็นการเคารพในการทำบุญตักบาตรของตน
-----------------------------
บางทีอาจมีการเข้าใจผิด

พระ : "โยม อาตมาว่าโยมควร ถอดรองเท้าใส่บาตร นะ"
โยมมีสีหน้าตกกะใจ ตอบพระไปว่า
โยม : เอ่อ จะดีเหรอคะ
พระ : ไม่เป็นไรหรอกโยม
โยมก็จัดแจงถอดรองเท้า ยกขึ้นมาพร้อมกับถามพระว่า
โยม : จะให้ใส่ข้างเดียวหรือว่าสองข้างเลยคะ
--------------------------------
การใส่บาตร
ใส่สิ่งของที่เป็นกับปิยะ
เมื่อเวลามีคนให้ทาน(ใส่บาตร) พระภิกษุต้องรับทานที่คนให้ทั้งหมด ไม่สามารถที่จะเลือกได้ว่าจะรับหรือไม่รับ หรือบอกกับผู้คนว่าตนต้องการสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่อย่างไรก็ดี สิ่งของที่จะนำมาใส่บาตร ควรเป็นดังนี้

1. สิ่งที่จะนำมาใส่บาตร เป็นสิ่งของที่เป็นกับปิยะ เช่นควรเป็นอาหาร เพื่อให้พระฉันได้ เช่น ข้าวสุก (คำว่า บาตร แปลว่าข้าวตก) กับข้าว ที่ปรุงสุกแล้ว จุดประสงค์ในการบิณฑบาตร
คือต้องการอาหาร มายังให้ร่างกายมีชีวิตให้อยู่ได้ เพื่อปฏิบัติธรรมเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อนำมาบริโภคตามใจ(กิเลส)ปรารถนา จึงไม่ควนใส่มากจนเหลือเฟือ
อาหารที่ใส่ควรเป็นอาหารที่มีประโชน์ต่อร่างกาย ไม่ควรมุ่งบำรุงส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เช่นอาหารที่รับประทานแล้วทำให้เกิดการกำหนัด มึนเมา ง่วงซึม เป็นต้น
ไม่เป็นของต้องห้าม เช่นสารเสพติด สุราเมรัย ศาสตรวุธ ยาพิษ
สิ่งอกัปปิยะเป็นอาบัติ เช่น เงิน ทอง เพราะถ้ามีผู้ใส่บาตร พระจำเป็นต้องรับ เมื่อรับจะเกิดอาบัติ นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ลองคิดดูว่า ผู้ใส่เงินในบาตรพระ จะได้บุญหรือได้บาป ที่ทำให้พระอาบัติ)

กัปปิยะ แปลว่า สมควร เช่น ปัจจัย 4 อาหาร บิณฑบาต จีวร ยารักษาโรค
อกัปปิยะ แปลว่า ไม่สมควร เช่น เงินทอง ข้าวเปลือก ฯลฯ ไม่สมควรแก่พระภิกษุสงฆ์

2. เนื้อสัตว์ที่ต้องห้ามตามหลักศาสนาพุทธ เรียกว่า มังสัง 10 อย่าง (เช่น มนุษย์ ช้าง ม้า สุนัข งู ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี และเสือดาว )
3. เนื้อสัตว์ที่ได้มาจากการที่บุคคลคนนั้นตั้งใจที่จะฆ่าสัตว์โดยมีจุดประสงค์หลักคือเพื่อที่จะเอาเนื้อมาถวายพระภิกษุโดยเฉพาะ และพระภิกษุรู้ว่าเนื้อนั้นมาจากการฆ่าเพื่อที่จะนำมาถวายตน
โดยเฉพาะข้อนี้เป็นพุทธบัญญัติ หลังจากพระเทวทัต เสนอให้พระพุทธเจ้าห้ามไม่ให้ภิกษุฉันเนื้อตลอดชีวิต แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต ให้เป็นไปตามศรัทธาของแต่ละคน
และไม่ห้ามพระภิกษุฉันเนื้อในกรณี 3 ประการ 1.ไม่รู้ว่าเขาฆ่า 2.ไม่เห็นเขาฆ่า 3.ไม่ได้้ยินว่าเขาฆ่าเพื่อเรา
4. ผลธัญญพืชที่มีเมล็ด บุคคลที่ตักบาตรไม่สามารถถวายผลธัญญพืชที่มีเมล็ดได้ เพราะถือว่าเมล็ดนั้นยังสามารถที่จะให้กำเนิดชีวิตได้อยู่ ถ้าจะถวายต้องเอาเมล็ดออกก่อน
ข้อนี้มาจากพุทธบัญญัติที่ห้ามไม่ให้พระภิกษุทำครัว เพราะการทำครัว จะต้องมีการฆ่า การพรากของสีเขียวหรือพืชคาม ภูตคาม
"ภูตคาม" หมายถึง ต้นไม้ ใบหญ้า พีชที่มีรากติดอยู่ที่พื้นดิน ภิกษุตัดหรือทำให้หลุดจากลำต้นหรือทำให้พ้นจากพื้นดิน เป็นอาบัติปาจิตตีย์
"พีชคาม" หมายถึง พีชที่เขาตัดมาจากต้น แต่ยังงอกได้ หรือเมล็ดพีชที่งอกได้ภิกษุทำลายต้องอาบัติทุกกฏ

พืชเป็นสิ่งของประเภทไม่มีจิตครอง แต่มีชีวิตแบบพืชการที่พระพุทธเจ้าไม่ให้พรากของสีเขียวจากต้น จุดมุ่งหมาย
๑. อาจจะมีเจ้าของอยู่ที่เป็นมนุษย์
๒. อาจจะไปพรากสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น หนอนและแมลงที่กำลังเป็นดักแด้ต้องอาศัยพืชที่เด็ดออกมานั้นมาเป็นอาหาร
หากเด็ดใบหรือสิ่งที่ไม่ต้องการนั้นทิ้งเสียสัตว์ที่มาเกาะกินน้ำเลี้ยงอาจจะตายได้ภายใน๑ วันจึงมีโทษฆ่าสัตว์ทางอ้อมใน ๑วัน
๓. การถอดถอนต้นไม้และหญ้าออกจากดินอาจจะไปทำให้สัตว์ที่ต้องอาศัยรากไม้ต้องตายและขาดที่อยู่อาศัยได้
๔. หากเป็นไม้มีแก่น สูงจากพื้น ๑ คืบขึ้นไปมีเทวดามาจองวิมานแปะกับต้นไม้นั้น เมื่อพรากออกจากพื้นและทิ้งลงวิมานของเทวดาย่อมสลายไป ต้องไปหาที่ใหม่
....รวมความว่าเป็นเหตุก่อให้เกิดอกุศลกรรมในเบื้องต้น และหากเกิดมากกว่านั้นในการพรากกิ่งไม้ยอดไม้ที่มีสีเขียวก็อาจจะทำลายป่าทั้งป่าได้
และในที่สุดจิตใจแข็งกล้ามากขึ้น ย่อมละเมิดศีล ๒๒๗ ได้ในที่สุด จึงเป็นบทบัญญัติที่มีความละเอียดอ่อนในบทบัญญัติพระวินัย
เป็นที่น่าบูชาในพระพุทธองค์อย่างยิ่งที่มีเมตตาแก่ภิกษุ ในพระพุทธศาสนา

5.วัตถุดิบในการทำอาหาร เช่น ข้าวสาร, แป้ง ผัก ปลา เนื้อสัตว์ เพราะตามหลักของศาสนานั้นไม่อนุญาตที่จะให้พระภิกษุประกอบอาหาร(ตามข้อ4)








การกรวดน้ำ





ควรกรวดน้ำทันที เมื่อพระให้พร โดยอธิษฐานจิต เช่น "ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลที่ได้จากการใส่บาตร ครั้งนี้ ให้กับ
บิดามารดาทั้งในชาตินี้และในอดีด ญาติทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย เทวดาทั้งหลาย เปรตทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรทั้ง หลาย และสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากทั้งหลาย ให้มารับกุศลนี้โดยทั่วหน้ากันเทอญ

ความคิดเห็นจากผู้สนใจ

การที่ฆารวาสเอาเงินใส่บาตร พระภิกษุทราบดีว่าจะเป็นอาบัติ เหตุใดพระภิกษุ จึงไม่บอก
ญาติโยมที่ใส่บาตร ให้ทราบเรื่องพระวินัยของพระว่าไม่สามารถรับเงินและทองได้
ดิฉันใส่บาตรทุกเช้า จะเห็นทุกวันที่คนที่มาใส่บาตรใส่อาหารคาวหวานและใส่เงินลงไปใน
บาตรด้วย แต่พระท่านก็ไม่พูดอะไร ก็รับไป ดิฉันคิดว่าพระท่านทราบดีว่าผิดหรือถูก ที่จริง
ถ้าท่านน่าจะบอก ให้ญาติโยมทำให้ถูกต้อง แต่ท่านก็ไม่พูด
สัตว์โลกสะสมต่างกันไปตามอัธยาศัย ผู้ทีไม่รู้เป็นเพศบรรพชิตแล้วรับเงินทองก็มีเพราะ
ไม่รู้ ส่วนผู้ที่รู้อยู่แต่ก็ยังรับก็มีเพราะยินดีในเงินทอง ปัญญาไม่พอนั่นเองครับ และผู้ที่รู้อยู่
ด้วยปัญญาและปฏิเสธก็มีครับ ดังนั้นสัตว์โลกจึงเป็นไปตามการสะสมมาที่แตกต่างกันไป
ครับ ตามกำลังของปัญญาที่สะสมมานั่นเอง
พระภิกษุเป็นนักบวช เป็นบรรพชิต เป็นผู้สละทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อการละกิเลส
เพื่อการเป็นพระอรหันต์ บรรพชิตเป็นผู้ที่ไม่มีเครื่องกังวล มีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข ถ้า
บรรพชิตมีเงินทอง จะทำให้เป็นเครื่องกังวล เป็นห่วงต้องคอยเก็บรักษา เงินทอง
เป็นที่ต้องการของคนทั่วไปรวมทั้งโจรด้วย เพราะทรงเห็นโทษของการมีสิ่งของที่มี
ค่า จะทำให้บรรพชิตอยู่อย่างมีความสุข จึงทรงบัญญัติสิกขาบทนี้เพื่อประโยชน์

๑๐ ประการ

๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือ ยินดีทอง เงิน อันเขา

เก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
การถวายเงินกับพระสงฆ์เป็นการกระทำที่ไม่สมควร พระพุทธองค์ทรงตำหนิทั้งผู้รับและ
ผู้ให้คือ สำหรับผู้รับทรงบัญญัติพระวินัยปรับอาบัตินิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ต้องสละทิ้งเงิน
ก่อนจึงปลงอาบัติได้ ส่วนผู้ถวายทรงแสดงเรื่องการให้ทานแบบอสัตบุรุษคือผู้ไม่ฉลาด
ย่อมถวายของที่เป็นอกัปปิยะ คือ ของที่ไม่สมควรแก่บรรพชิต ส่วนพระสงฆ์แม้รับเพื่อผู้
อื่นก็เป็นอาบัติและการพัฒนาหรือช่วยเหลือสังคมไม่ใช่กิจของสงฆ
เงิน ทอง ( สิ่งอื่น ๆ ที่ใช้แทนเงินทอง) ไม่ใช่ปัจจัย4 ของพระภิกษุ เพราะปัจจัย 4
ของพระภิกษุ ได้แก่ อาหารบิณฑบาตร 1 จีวร 1 ที่อยู่ 1 ยารักษาโรค 1 เท่านั้น
ธุระของพระภิกษุ ก็มีเพียง 2 อย่าง คือ
1 คันถธุระ คือ ศึกษาพระธรรม ( จากพระไตรปิฎก หรือจากผู้รู้พระไตรปิฎก )
2 วิปัสสนาธุระ คือ อบรมเจริญวิปัสสนาเพื่อความเป็นพระอรหันต์
ผู้ที่ใส่บาตรด้วยเงิน และพระภิกษุที่รับเงิน ชื่อว่าไม่เคารพในวินัย ไม่เคารพในผู้

บัญญัติวินัยด้วย
ควรทราบว่า การออกจากอาบัติที่เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์นั้น ไม่ใช่เพียงการปลงอาบัติ
เท่านั้นคือ ต้องสละวัตถุนั้นเสียก่อนจึงจะปลงอาบัติได้ ถ้ายังครอบครองเงินทองอยู่
แม้ว่าจะปลงอาบัติตั้งร้อยครั้ง พันครั้ง ก็ไม่ชื่อว่าปลงอาบัติ คือการปลงอาบัตินั้นใช้ไม่
ได้ ชื่อว่ายังมีอาบัติอยู่ อนึ่งท่านแสดงว่า อาบัติทั้งหมดแม้เล็กน้อย เป็นเครื่องกั้นทั้ง
หมด ดังนั้นอย่างอื่นบริสุทธิ์หมด แต่มีอาบัติ ๑ ข้อ ก็ชื่อว่า ไม่บริสุทธิ์นั่นเอง ทุคติพึง
หวังได้ ไม่ต้องสงสัย
ตามพระธรรมวินัยของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้แล้วว่า พระภิกษุเป็นนัก
บวชไม่ควรรับเงินและทอง หรือยินดีในเงินและทอง ที่เขาเก็บไว้ให้เพื่อตน เมื่อรับหรือ
ยินดีมีโทษ คือต้องอาบัติ เมื่อต้องอาบัติแล้ว ต้องสละทิ้งเงินทองนั้น จึงจะเป็นผู้
บริสุทธิ์ได้ ถ้าไม่สละเงินทองนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ เมื่อไม่บริสุทธิ์ชื่อเป็นผู้เศร้า
หมอง มีมลทินเป็นเครื่องกั้นการเกิดในสุคติภูมิ และกั้นการบรรลุคุณวิเศษ ดังนั้น
เป็นผู้ขาดสัจจะ ผู้ที่ไม่มีสัจจะย่อมรู้แจ้งอริยสัจจะไม่ได้ สรุปคือ การถวายเงินกับพระ
ภิกษุ เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม ขัดกับพระวินัย
เครื่องเศร้าหมอง ๔ อย่าง [อุปกิเลสสูตร]

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒- หน้าที่ 175

๑๐. อุปกิเลสสูตร

ว่าด้วยเครื่องเศร้าหมอง ๔ อย่าง

[๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลส (เครื่องมัวหมอง) แห่ง
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ๔ อย่างนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ไม่
สว่างไสวไพโรจน์ อุปกิเลสแห่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ๔ อย่างคืออะไรบ้าง
คือ เมฆ ๑ หมอก ๑ ควันและผงคลี ๑ อสุรินทราหู ๑ นี้แล อุปกิเลส
แห่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ๔ อย่าง ซึ่งเป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ไม่
สว่างไสวไพโรจน์
ภิกษุทั้งหลาย ฉันเดียวกันนั้นแล อุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ทั้งหลาย
ก็มี ๔ ประการ ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ทั้งหลายไม่งามสง่า สุกใส
รุ่งเรื่อง อุปกิเลสของสมณพราหมณ์ ๔ ประการ คืออะไรบ้าง คือ
มีอยู่ สมณพราหมณ์บางเหล่าดื่มสุราเมรัย ไม่งดเว้นจากการดื่ม
สุราเมรัย การดื่มสุราเมรัยเป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ข้อ ๑ ซึ่งเป็นเหตุ
ให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง
มีอยู่ สมณพราหมณ์บางเหล่าเสพเมถุนธรรม ไม่งดเว้นจากเมถุน-
ธรรม การเสพเมถุนธรรมนี้เป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ข้อ ๒ ซึ่งเป็นเหตุ
ให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง.
มีอยู่ สมณพราหมณ์บางเหล่ายินดีทองและเงิน ไม่งดเว้นจากการ
รับทองและเงิน ความยินดีรับทองและเงินนี้เป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์
ข้อ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง
มีอยู่ สมณพราหมณ์บางเหล่าเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาอาชีวะ ไม่งดเว้น
จากมิจฉาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาอาชีวะนี้เป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์
ข้อ ๔ ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล อุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ ๔ ประการ ซึ่ง
เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง.
สมณพราหมณ์บางเหล่าผู้มีราคะโท-
สะปกคลุมแล้ว เป็นคนอันอวิชชาปกปิด
แล้ว เพลินยินดีในปิยรูป (สิ่งที่รัก) ดื่ม
สุราเมรัย บางเหล่าเสพเมถุน บางเหล่า
โฉดเขลา ยินดีเงินและทอง บางเหล่า
เลี้ยงชีพโดยมิจฉาอาชีวะ.
บาปธรรมเหล่านั้น พระพุทธเจ้า
เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ตรัสว่าเป็นอุปกิเลส
ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์เหล่านั้น ปรา-
กฏว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ มีราคีไม่งามสง่าสุกใส.
สมณพราหมณ์เหล่านั้นอันความมืด
(คืออวิชชา) หุ้มห่อแล้ว ตกเป็นทาสตัณหา
ถูกตัณหาจูงไป บำรุงเลี้ยงอัตภาพร้ายเข้า
ไว้ ต้องไปเกิดอีก.

จบอุปกิเลสสูตรที่ ๑๐
สำหรับผู้ที่ปฏิญาณตนว่าเป็นพระสมณเชื้อสายพระศากยบุตรแล้ว ตามพระธรรม
วินัยที่พระศาสดาทรงบัญญัติไว้ พระภิกษุและสามเณรรับเงินไม่ได้ ถ้ารับเมื่อไหร่เป็น
อาบัติ มีโทษ ทำให้กั้นการเกิดในสุคติภูมิและการบรรลุมรรคผล เพราะฉะนั้นเราฝ่าย
ฆราวาสไม่ควรถวายเงินพระ เพราะทำให้ท่านต้องอาบัติ ควรถวายของที่สมควรเท่านั้น
เช่น อาหาร จีวร ยารักษาโรค
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 148
เภสัชชขันธกะ
เมณฑกานุญาต
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เมณฑกะคหบดีเห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จ
กลับไป หลังจากนั้นพระองค์ทรงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เราอนุญาตโครส ๕ คือ นมสด นมส้ม เปรียง เนยข้น เนยใส
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย หนทางกันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุไม่มีเสบียง
จะเดินทางไป ทำไม่ได้ง่าย เราอนุญาตให้แสวงหาเสบียงได้คือ ภิกษุต้องการ
ข้าวสารพึงแสวงหาข้าวสาร ต้องการถั่วเขียวพึงแสวงหาถั่วเขียวต้องการถั่ว
ราชมาสพึงแสวงหาถั่วราชมาส ต้องการเกลือพึงแสวงหาเกลือ ต้องการน้ำอ้อย
พึงแสวงหาน้ำอ้อย ต้องการน้ำมันพึงแสวงหาน้ำมัน ต้องการเนยใสก็พึงแสวง
หาเนยใส มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทอง
ไว้ในมือกัปปิยการสั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้าขอท่านจงถวายสิ่งนั้น
ด้วยกัปปิยภัณฑ์นี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจาก
กัปปิยภันฑ์นั้นไว้ แต่เรามิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดย
ปริยายไร ๆ เลย.
คำอธิบายจากพระไตรปิฎกมีดังนี้
บทว่า รับ คือ รับเอง เป็นนิสสัคคีย์.
บทว่า ให้รับ คือ ให้คนอื่นรับแทน เป็นนิสสัคคีย์.
บทว่า หรือยินดีทองเงินอันเขาเก็บไว้ให้ ความว่า หรือยินดี
ทองเงินที่เขาเก็บไว้ให้ด้วยบอกว่า ของนี้จงเป็นของพระคุณเจ้า ดังนี้
เป็นต้น เป็นนิสสัคคีย์ ทอง เงิน ที่เป็นนิสสัคคีย์ ต้องเสียสละในท่าม
กลางสงฆ์



วิธีแก้คือ สละเงินทองนั้นเสียก่อนแล้วจึงปลงอาบัติ
ส่วนการที่มีผู้มอบเงินไว้แก่ไวยาวัจจกรณ์ พระภิกษุยินดีในเงินก็เป็นอาบัติ
แต่ถ้ายินดีในสิ่งของ มีจีวร เป็นต้น ตามมูลค่าที่เขาฝากไว้ไม่เป็นอาบัติครับ
กราบอนุโมทนาในธรรมทานของทุกๆ ท่านค่ะ
ดิฉันขอถามว่า แล้วเงินใส่ติดกัณฑ์เทศน์ละคะ ผิดหรือไม่ค่ะ
อย่างเทศน์มหาชาติ มีซองแจกให้เราใส่ซองทำบุญติดกัณฑ์เทศน์มหาชาติ
และการเทศน์ในโบสถ์ทั่วๆ ไป ก็มีพานใส่เงินติดกัณฑ์เทศน์ แบบนี้เราใส่เงิน
ไปได้ใช่มั้ยค่ะ
ไม่ถูกต้องครับ เพราะธรรมไม่ใช่มีไว้แลกกับของต่ำ คือ เงินทอง และที่สำคัญ เพศพระ
ภิกษุไม่ควรรับหรือยินดีในเงินทองเลย ดังนั้นหน้าที่แสดงธรรมของท่านคือให้บุคคลอื่น
ได้เข้าใจเท่านั้น แต่ไม่ใช่เพื่อมาแลกเปลี่ยน เปรียบเหมือนเอาของดี ไปแลกกับของไม่
ดี พระธรรมจึงไม่ใช่มีไว้สำหรับแลก ที่มีไว้สำหรับให้ครับ
ดังนั้นจึงไม่ถูกต้องโดยประการทั้งปวงที่ถวายเงินในกัณฑ์เทศน์ครับ เพราะในความ
เป็นจริง เครื่องบูชาที่ประเสริฐ เกิดขึ้นแล้ว คือ ขณะที่เกิดกุศลจิต ขณะที่ปัญญาเกิด
ขณะนั้นเป็นการบูชาพระธรรม อันสูงสุดแล้วครับ ไม่ต้องบูชาด้วยเงินทองและติด
กัณเทศน์เลยครับ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ทำนายในอนาคตกาลว่าจะมีพระภิกษุแสดงธรรม
เพื่อแลกกับลาภ สักการะ เปรียบเหมือนการนำของดี ของสูงไปแลกกับของบูดเน่าไม่ดี
ไม่ได้ครับ พระจะมีชื่อบัญชีเป็นของตนเองไม่ได้ เพราะพระรับเงินทองไม่ได้ ก็เท่ากับ
ว่า ท่านรับเงินทองแล้ว เพราะเป็นชื่อท่านและที่สำคัญ แม้การยินดีในเงินทองที่ได้มา
ก็อาบัติแล้วครับ พระจะทำเป็นดังเช่นคฤหัสถ์ไม่ได้ ดังนั้นที่ถูกคือ ต้องเป็นชื่อบัญชีคน
อื่นที่ไม่ใช่พระ นั่นแหละครับ คนที่มีชื่อนั้นเป็นไวยาวัจจกร และพระไม่มีส่วนจะมาใช้ชื่อ
เบิกเงินเองอะไรไมได้ทั้งสิ้นคัรบ และที่สำคัญ การจะสร้างศาสนาวัตถุ โดยการใช้เงิน
ก็ต้องเป็นเรื่องของฆราวาสที่เป็นไวยาวัจจกร ไม่ใช่พระทำครับ
ดังนั้นหากเราเข้าใจถูกอย่างนี้ก็ไม่ควรโอนเงินเข้าบัญชีพระเลยเพราะทำลายท่าน
ทำให้ท่านอาบัติ ทำให้พระศาสนาอายุสั้นลงและก็เราเป็นอุบาสก อุบาสิกาที่ทำไม่ถูก
ต้องตามพระธรรมครับ บุญมีมากมายให้ทำครับ ที่สำคัญทำด้วยความถูกต้อง สำคัญที่
สุดครับ ขออนุโมทนา
หากคิดจะเกื้อกูลพระในการล่วงพระวินัย จะด้วยเหตุผลอย่างใดตามที่เราคิดเอาเอง...
ก็พึงพิจารณาถึงทุกข์โทษที่ท่าน (พระ) และเราจะได้รับในกาลภายหลังเถิด
เมื่อเรามีส่วนช่วยพระในการล่วงพระวินัย ผลที่ตามมาคงไม่เกษมปลอดภัยแน่
แม้ในทางโลก หากเราช่วยคนพาลทำผิดกฏหมายยังมีความผิดและโทษตามมา
ในทางธรรมอันมีพื้นฐานบนความจริงขั้นปรมัตถ์ เมื่อทำไปโดยไม่รู้ ก็ย่อมมีโทษตามมาแน่นอนยิ่งกว่ากฏใด ๆ แบบโลก ๆ
โดยเฉพาะพระผู้เข้ามาอาศัยเครื่องนุ่งห่มที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ เมื่อไม่สามารถประพฤติได้ตามบัญญัติพระวินัย
ก็ย่อมเป็นผู้ที่มีอบายทุคติเป็นที่ไปโดยแน่แท้ ฆราวาสและพระจึงต่างกัน ฆราวาสใช้เงินรับเงินได้ ไม่ไปนรก
แต่พระ เมื่อประพฤติเยี่ยงฆราวาสก็ย่อมเป็นผู้ที่อาศัยเครื่องแบบหลอกลวงชาวบ้านอยู่ นี้ย่อมเป็นเรื่องที่เราชาวพุทธต้องทราบ...
ไม่ใช่เห็นใคร ๆ นุ่งห่มแบบพระก็ศรัทธาจนงมงายไปเพราะไม่มีปัญญาเลย จึงพากันกระทำย่ำยีจนศาสนาเสื่อมจนสูญหายไปในที่สุด ..


นี้เป็นเรื่องที่จะพากันไปอบายทั้งโยมและพระ เพราะหาความถูกต้องใด ๆ มิได้เลย..
การทำเหตุชั่ว ย่อมนำผลชั่วมาสู่ตนเสมอ... ถ้าต้องให้พระมาสวดในงานอะไร ๆ แล้วต้องถวายเงินพระ..ซึ่งเป็นการช่วยฉุดลากพระเหล่านั้นไปอบาย รวมทั้งตัวเราเอง
การไม่ต้องมีพระมาสวดนับว่ายังจะดีกว่า..อย่างน้อยเราเองย่อมปลอดภัยไม่พลอยไปอบายเพราะมีส่วนในการทำผิดพระวินัย..
แต่เพราะคนส่วนมาก ไม่เคยศึกษาพระธรรมของพระพุทธเจ้า เพราะไม่มีบุญเก่ามาสนับสนุน ทั้งยังเที่ยวนับถือเจ้าพ่อเจ้าแม่ตลอดจนกราบจอมปลวก
งูมีขา หมูมีเขาฯลฯ จึงไม่อาจมีปัญญาพาตนให้พ้นความบอดเขลา มีการทำพิธีกรรมตาม ๆ กันไปโดยไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร ประโยชน์อยู่ที่ใหน
ตกอยู่ในความกลัวว่าถ้าไม่ทำตามเขาจะถูกครหา คิดเลยเถิดไปอีกว่าจะไม่เป็นมงคล แต่กลับไม่ทราบเลยว่าที่คนส่วนมากทำกันอยู่นั่นนอกจากไม่เป็นมงคลแล้ว
ยังขาดทุนคือสร้างผลอันไม่สวัสดีแก่ตนเพื่อให้ไปรับผลอีกนับชาติไม่ถ้วน...จึงพึงระวังสังวรรักษาตนเถิด ใคร ๆ ในโลกย่อมไม่อาจทำร้ายเราเองเท่ากับตนเองเลย..
คนที่ดื่มยาพิษเพราะไม่ทราบว่าเป็นยาพิษย่อมได้รับอันตรายฉันใด การที่เราทำอะไร ๆ ที่ผิดเพราะไม่รู้ก็ย่อมได้รับอันตรายเช่นกัน ไม่พ้นผิดไปได้
หากกรรมทำ๑ครั้งแล้วได้ผล๑ครั้งก็คงไม่กระไร.. แต่กรรมนั้น บางอย่าง ทำครั้งเดียวให้ผล๕๐๐ชาติบ้าง บางอย่าง ให้ผลสิ้นวัฏฏกัปป์บ้างก็มี..
จะเอาสุขหรือทุกข์ก็พึงเลือกเอาตามอัธยาศัยเถิด
"ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ วัดเวฬุวันวิหาร ใกล้เมือง ราชคฤห์ พระอุปนันทศากยบุตรเป็นภิกษุเข้าไปฉันเป็นประจำในตระกูลหนึ่ง
ซึ่งตระกูลนั้นจะแบ่งอาหารไว้ถวายท่านส่วนหนึ่งเสมอ วันหนึ่งเขาได้เนื้อมา ก็แบ่งไว้ถวายแก่ท่าน ส่วนที่เหลือจากการแบ่งนั้นก็ได้ทำอาหารกินกัน
เมื่อได้อรุณแล้วก็ตื่นขึ้นมาทำอาหารไว้ถวายท่าน บังเอิญเช้านั้นเด็กในบ้านตื่นขึ้นมาแต่เช้าร้องอ้อนวอนอยากกินอาหารนั้น จึงให้เด็กกินเสีย
เมื่อ ได้เวลาท่านอุปนันทะ ก็เข้าไปฉันในตระกูลนั้น เขาก็นิมนต์ให้ท่านนั่งแล้วก็ได้เล่าเรื่องที่ตนเก็บเนื้อไว้ถวายนั้น ให้ท่านฟัง พร้อมทั้งบอกต่อไปอีกว่า
ถึงแม้ว่าไม่ได้ถวายเนื้อนั้นแต่ก็เก็บมูลค่าของเนื้อนั้นไว้มีมูลค่า ๑ กหาปณะ พระคุณเจ้าจะให้กระผมจัดหาวัตถุอะไร มาถวายขอรับ ส่วนท่านอุปนันทะรู้อย่างนั้นแล้ว
บอกให้ถวายเงินทันที หลังจากท่านกลับไปแล้วเขาก็ได้ติเตียนโดยประการต่าง ๆ ว่า พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรทำไมจึงรับเงินเหมือนอย่างพวกเราหนอ
เมื่อ พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่อง ทรงติเตียนพระอุปนันทะอย่าง





หมวด: สาระจากพระพุทธศาสนา
»บุญข้าวประดับดิน เรียกอีกอย่างว่าเปรตพลี แปลว่าอุทิศให้เปรต วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9
06-09-2021
»อำนาจบุญบวช สวดมนต์ไหว้พระ ทำสมาธิ เดินจงกรม
14-02-2021
»ชาติหน้ามีจริงไหม
26-01-2021
»บัญชีบุญ-บัญชีบาป
24-01-2021
»ถ้าไม่ใช่กรรมที่เราทำมา เราก็จะไม่ได้รับกรรมนั้น
26-01-2021
»คำยืนยันจากหลวงปู่มั่นว่า "พระแก้วมรกต เลือกประเทศไทย" ด้วยเหตุผล 3 ข้อ
24-01-2021
»มนุษย์อยากเป็นเทวดา แต่ เทวดากลับอยากเป็นมนุษย์
11-03-2018
»ทุกข์ทรมารมากกว่าจะได้เกิดเป็นคน
10-03-2018
»อันตรธาน 5
28-02-2018
»มาฆบูชา
28-02-2018
»การไปแสวงบุญที่พุทธสังเวชนียสถาน 4 แห่ง ได้ไปสวรรค์
10-02-2018
»กรรม 12 ประเภท
10-02-2018
»นาค พญานาค เป็นสัตว์เดรัจฉาน
10-02-2018
»นักแสดง ตายแล้วไปเกิดในนรก หรือกำเนิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน
10-02-2018
»คำว่า อนุโมทนา กับ โมทนา ต่างกันอย่างไร
20-12-2017
»เหตุใดวัดพระแก้วจึงไม่มีพระสงฆ์อยู่
26-10-2017
»ทำไมต้องทำบุญ
05-07-2017
»เจ้าชายสิทธัตถะประสูติแล้ว ดำเนินได้ ๗ ก้าวจริงหรือ
31-05-2017
»เรื่องพระสารีบุตรตอนจะเข้าสู่พระนิพพาน
23-02-2016
»แผนที่ธรรม แสดง 31 ภพ
23-02-2016
»สี่คนหาม สามคนแห่ หนึ่งคนนั่งแคร่ สองคนพาไป คืออะไร
07-12-2015
»"วันนี้วันพระ" วันพระมีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร
18-11-2015
»ติรัจฉานวิชา (ว่าด้วยสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่กระทำ)
07-08-2014
»มหาสุทัสสนสูตร : ข้อเตือนใจคนโลภ
29-07-2014
»อานาปานสติ
09-04-2014
»บัว 4 เหล่า
16-01-2018
»คติ และคติภพ คืออะไรและต่างกันอย่างไร
13-12-2014
»พระเกศา_พระโลหิต'_พระสังฆราชกลายเป็นพระธาตุ
13-12-2014
»สวรรค์ 6 ชั้น
19-01-2021
»พระคาถาธารณปริตร
02-10-2013
»หลวงพ่อชาตอบปัญหาธรรม
17-07-2013
»วันมาฆบูชา
11-02-2014
»พุทธชยันตี
10-01-2013
»พระธรรมเทศนาจากหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
05-01-2013
»ช้างปาเลไลยก์
17-01-2013
»พระกุมารกัสสปะ
05-01-2013
»นางจิญจมาณวิกา นางอมิตตา กลับชาติมาเกิด
05-01-2013
»นางวิสาขา มหาอุบาสิกา
03-04-2016
»นางสิริมา หญิงโสเภณีผู้บรรลุโสดาบัน
05-01-2013
»เอาเงินใส่บาตรพระบาปไหม ที่นี่มีคำตอบ
03-04-2016
»โครงการภาพยนตร์ พุทธศาสดา ชาวพุทธควรชมอย่างยิ่ง
05-01-2013
»ไฟล์เสียงวิธีนั่งสมาธิตอนที่1-5 โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
05-01-2013
»พระสุปฏิปฏิปัณโณ หรือพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
04-01-2013
»พระไตรปิฏก ตอนที่ 1(เข้าใจง่าย)
04-01-2013
»พระบรมครู คู่มือครู
16-01-2018
»อนุบุพพิกถา
04-01-2013
»ตักบาตรเทโวโรหนะ
04-01-2013
»คุณหมอผู้สนใจธรรมะ "ธรรมะคือลมหายใจ"
04-01-2013
»พระเจ้าพิมพิสาร
04-01-2013
»พระอานนท์
04-01-2013
»พระมหาโมคคัลลานะ
04-01-2013
»เรื่องเทวดา
04-01-2013
»ถือศีล ห้า ได้กุศลมากกว่าสร้างวิหารทาน จริงหรือ
04-01-2013
»เงื่อนไขการทำบุญให้ทาน
04-01-2013
»การทำบุญด้วยศรัทธา
04-01-2013
»บุญจากการอนุโมทนา
04-01-2013
»พระฉันนนะผู้ว่ายากสอนยาก
04-01-2013
»นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระพุทธเจ้า
04-01-2013
»เกิดใหม่กลัวบาป อุทาหรณ์ การทำบาป
04-01-2013
»พระภัททากัจจานาเถรี
04-01-2013
»นิทานธรรมบท เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก
04-01-2013
»เมื่อใด บาปให้ผล เมื่อนั้น คนพาล ย่อมประสบทุกข์
04-01-2013
»เมื่อพญานาคอยากเป็นมนุษย์
04-01-2013
»เหตุใดเทวดาจุติ(ตาย)แล้วจึงอยากเกิดเป็นมนุษย์
04-01-2013
»ผลของกรรม
04-01-2013
 
หน้าแรก  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม


คุณครู.คอม ขอแสดงเจตนาว่าทุกข้อความใน เว็บไซต์นี้ให้คัดลอกได้
ไม่จำกัด เพื่อเป็นวิทยาทาน เพื่อการศึกษาเท่านั้น . .

email  [email protected]


kkwebv56   Copyright©2023 kunkroo.com
Development from SMEweb 1.5f By คุณครู.คอม