คุณครู.คอม
.









Online: 27 user(s)

ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ 2541





kunkroo radio

ตรวจสอบแทรคไปรษณีย์ไทย

domain register Admin Only

ทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต

ตรวจสอบไอพี(IP check for locate)

..
     


    :  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม
หมวด: สุขภาพ
ดื่มน้ำจากขวดพลาสติกตากแดดเสี่ยงมะเร็ง แค่เรื่องลวง
03-06-2014 เข้าชมแล้ว: 9679
ออนไลน์สะพัด! ห้ามดื่มน้ำจากขวดพลาสติกตากแดด เก็บหลังรถ เหตุความร้อนทำสารไดออกซินละลาย เสี่ยงเป็นมะเร็ง กรมวิทย์ยันไม่จริง เหตุสารไดออกซินเกิดจากการเผาไหม้ความร้อนสูงเกิน 200 องศาเซลเซียส พร้อมเผยผลตรวจสอบน้ำในขวดพลาสติกตากแดด ไม่พบสารไดออกซิน



ดื่มน้ำจากขวดพลาสติกตากแดดเสี่ยงมะเร็ง แค่เรื่องลวง!!!
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้สังคมออนไลน์มีการส่งต่อข่าวให้หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำบรรจุขวดพลาสติกที่เก็บในหลังรถยนต์และจอดกลางแดด เพราะมีโอกาสได้รับสารไดออกซิน จนเกิดมะเร็งได้นั้น จริงๆ แล้ว กลุ่มสารไดออกซินที่ก่อให้เกิดพิษมี 29 ตัว และสารแต่ละตัวจะมีค่าความเป็นพิษแตกต่างกัน ทั้งนี้ สารไดออกซินเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเคมีภัณฑ์ที่มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ เช่น อุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมผลิตยาฆ่าแมลง เป็นต้น หรือกระบวนการเผาไหม้อุณหภูมิสูงทุกชนิด เช่น เตาเผาขยะทั่วไป เตาเผาขยะจากโรงพยาบาล เตาเผาศพ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง และการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น

นพ.อภิชัย กล่าวอีกว่า การสร้างกลุ่มสารไดออกซินจากการเผาไหม้จะอยู่ในช่วงอุณหภูมิประมาณ 200-550 องศาเซลเซียส และจะเริ่มถูกทำลายเมื่ออุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียสขึ้นไป ทำให้มีการปลดปล่อยและสะสมสารกลุ่มนี้ในสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นทางอากาศ ดิน หรือน้ำ ซึ่งสามารถปนเปื้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ได้ ดังนั้น ที่ระบุว่าไดออกซินละลายออกมาจากขวดบรรจุน้ำดื่มเมื่อวางไว้ในที่ร้อนๆ เช่น หลังรถยนต์ จึงสรุปได้ว่า ไม่ใช่เรื่องจริง เพราะไม่เคยมีรายงานการตรวจพบไดออกซินในพลาสติก และสารเคมีต่างๆ ที่มีการกล่าวอ้างว่าละลายออกมาจากขวดพลาสติกทั้งในสภาวะอุณหภูมิสูงหรือสภาวะการแช่แข็ง แล้วทำปฏิกิริยาเกิดเป็นสารไดออกซินนั้น ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนว่าเกิดขึ้นได้

"ปัจจุบันขวดพลาสติกขนาดเล็กมีอยู่ 2 ชนิด คือขวดสีขาวขุ่น ทำจากพลาสติกชนิด PE (พอลิเอทิลีน) และขวดใสไม่มีสีทำจากพลาสติกชนิด PET (พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต) ซึ่งนิยมใช้กันมากกว่าขวดแบบขาวขุ่น สำหรับขวดบรรจุน้ำ ชนิดเติม ซึ่งมีการบรรจุซ้ำจะเป็นขวดความจุประมาณ 20 ลิตรมี 3 ชนิด คือขวดสีขาวขุ่นทำจากพลาสติก ชนิด PP (พอลิพรอพิลีน) ขวดใส สีฟ้าอ่อน หรือสีเขียวอ่อน ทำจากพลาสติกชนิด PC (พอลิคาร์บอเนต) และขวดพลาสติกชนิด PET พลาสติกเหล่านี้ไม่มีสารคลอรีน เป็นองค์ประกอบที่จะเป็นต้นกำเนิดของไดออกซิน หรือถึงแม้ว่าพลาสติกชนิดอื่น เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ แต่อุณหภูมิของน้ำในขวดไม่ได้สูงมากพอที่จะทำให้เกิดสารไดออกซินขึ้นมาได้ อีกทั้งไม่นิยมใช้เพื่อบรรจุน้ำบริโภค" อธิบดีกรมวิทย์ กล่าว

นพ.อภิชัย กล่าวด้วยว่า สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทย์ ได้ซื้อตัวอย่างน้ำดื่มที่บรรจุในขวดพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีน พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต พอลิพรอพิลีน พอลิคาร์บอเนต และพอลิไวนิลคลอไรด์ที่จำหน่ายในตลาดสดและซุปเปอร์มาเก็ต จำนวน 18 ยี่ห้อ และนำไปวางในรถที่จอดกลางแดดเป็นเวลา 1 วัน และ 7 วัน จากนั้นตรวจวิเคราะห์สารประกอบกลุ่มไดออกซิน จำนวน 17 ตัว และพีซีบี จำนวน 18 ตัว พบว่า ตรวจไม่พบสารประกอบกลุ่มไดออกซินและพีซีบีในทุกตัวอย่าง ขอให้ผู้บริโภคพิจารณาข่าวสารต่างๆ ที่ได้รับจากสื่อออนไลน์ก่อน



สถาบันพลาสติกร่วมยัน ขวดน้ำตากแดดเสี่ยงมะเร็งไม่ใช่เรื่องจริง ระบุสารที่ใช้ในการผลิตพลาสติกเป็นคนละตัวกับข่าวลวงที่เผยแพร่ แต่ให้ระวังอย่ายกซดเข้าปากโดยตรง เหตุเชื้อจุลินทรีย์จากปากอาจเข้าไปเพิ่มปริมาณในน้ำ ด้านผู้เชี่ยวชาญโภชนวิทยาฯ เตือนควรใส่ใจเรื่องบรรจุภัณฑ์ ปิดมิดชิด วันเดือนปีผลิตมากกว่า

นายคงศักดิ์ ดอกบัว ผู้อำนวยการฝ่ายสารสนเทศและกลยุทธ์อุตสาหกรรม สถาบันพลาสติก กล่าวถึงกรณีการส่งต่อข้อความเตือนทางโลกออนไลน์ให้ระวังการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกใส อาจมีสารก่อมะเร็ง เมื่อใช้ซ้ำหลายครั้ง หรือเก็บไว้ในรถที่จอดตากแดด ว่า กระบวนการผลิตมีการนำพลาสติก Polyethylene terephthalate มาใช้ ชื่อสาร คือ "Phthalates" ซึ่งไม่มีอันตราย แต่ข่าวที่เผยแพร่ออกไป มักบอกว่า เป็นสาร "Plasticizers" ที่ชื่อคล้ายกันและก่อให้เกิดอันตรายได้หากได้รับปริมาณมาก จึงถือเป็นเรื่องความเข้าใจผิดอย่างมาก อย่างไรก็ตาม มีการทดสอบเพื่อตรวจวัดอันตราย โดย อย. ประเทศสหรัฐฯ พบว่า เรื่องสารชนิดต่างๆ ที่สามารถซึมผ่านเข้าสู่น้ำดื่มได้ต่ำกว่าค่าที่อนุญาต 100 - 1,000 เท่า และหากเก็บขวด PET ในรถที่ร้อนหรือในช่องแช่แข็ง ก็พบว่าสารชนิดต่างๆ ที่ซึมผ่านก็ยังอยู่ในค่าที่ต่ำกว่าค่าที่กำหนดเช่นกัน

"น้ำดื่มในขวด PET ถือว่ามีความปลอดภัย แต่หากเปิดขวดบริโภคแล้ว การใช้ปากดื่มจากขวด จะทำให้จุลินทรีย์จากปากเข้าไปเพิ่มปริมาณในน้ำ โดยเฉพาะหากเก็บไว้ในอุณหภูมิสูงก็จะยิ่งเพิ่มตัวอย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน" นายคงศักดิ์ กล่าว

นพ.ฆนัท ครุธกูล เครือข่ายคนไทยไร้พุง และผู้เชี่ยวชาญทางด้านโภชนวิทยาคลินิก รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทพลาสติก ปัจจุบันมีการควบคุมมาตรฐานอย่างเคร่งครัด และมีการตรวจสอบอยู่เป็นระยะ เมื่อพบว่ามีปัญหา เช่น กรณีสารในขวดนม ก็จะมีการถอดออกจากตลาดเป็นระยะ หากเลือกใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องก็ไม่มีปัญหา ทั้งนี้ การเชื่อข่าวสารที่เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตควรเชื่อถือจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ ยังพบว่า ข่าวสารในอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 80-90 มักไม่ถูกต้องและหวังผลทางการค้า อย่างไรก็ตาม ในแง่ความปลอดภัยผู้บริโภคควรสังเกตในเรื่อง บรรจุภัณฑ์ที่สะอาด ปิดมิดชิด วันเดือนปีที่ผลิต มากกว่า ขอบคุณ Manager Online





หมวด: สุขภาพ
»เรื่องยาเหนือ รมควันฆ่าไวรัส จากหนังสือธัมมวิโมกข์ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
14-07-2021
»ระวังเรื่องอาหารปลอม 10 อย่าง
08-10-2017
»การระวังรักษาข้อเข่าเสื่อม
08-01-2017
»“มันเทศ” คุณค่าเพียบ เผย “สีม่วง” สารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี
03-01-2017
»ภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงจะทำอย่างไร
08-10-2016
»การดื่ม “น้ำแร่” อาจเป็นการกระตุ้นให้ความดันโลหิตสูง
06-10-2016
»ประโยชน์กล้วยหอมทอง
02-10-2016
»ประโยชน์ของการดื่มเบียร์
01-10-2016
»ฟอกปอดให้สะอาดด้วยของ 4 ชนิด
14-09-2016
»มะเร็งตับอ่อน และท่อน้ำดี ก็หายได้ด้วยฟักข้าวเป็นพระเอก
13-08-2016
»กัญชารักษามะเร็ง!! เปิดประสบการณ์ลับ ผู้ป่วยมะเร็งตับ หมอบอกตายแน่ แต่กัญชาช่วยไว้ได้!
11-08-2016
»เตือน! ออกกำลังตอนเช้าทั้งที่ท้องยังว่าง เสี่ยงตับพัง พอๆ กับคนกินเหล้า
19-04-2016
»4 อาหารต้องห้าม ทำแก่ไม่รู้ตัว
05-04-2016
»แพทย์ญี่ปุ่นชี้ อดข้าวเช้าเสี่ยงความดันสูง,เส้นเลือดแตก
04-03-2016
»อาหารที่ไม่ตวรรับประทานบ่อย 10 อย่าง
29-02-2016
»5 เหตุผลชวนเดินออกกำลัง 9,900 ก้าวต่อวัน
11-11-2015
»พฤติกรรมเนือยนิ่ง นั่งทำงาน นอนเล่นมือถือ ไม่เคลื่อนไหว เสี่ยงตายก่อนวัย ป่วยโรค NCDs
09-09-2015
»4 วิธีไล่มดได้ผล แบบไม่ต้องฆ่า
27-05-2015
»วันความดันโลหิตสูงโลก
17-05-2015
»เห็ดเข็มทองอาหารมหัศจรรย์
10-05-2015
»คอเรสเตอรอล กินได้ ไม่มีปัญหา
02-05-2015
»ออกกำลังกายเวลาไหนดี
17-03-2015
»"รางจืด" ช่วยล้างท้องคนกินยาฆ่าแมลงฆ่าตัวตาย
03-03-2015
»เมล็ดทานตะวันและเมล็ดฟักทอง
14-02-2015
»เรื่องกล้วย ๆ แต่ไม่ธรรมดา
10-02-2015
»แร่ใยหิน อันตราย
30-01-2015
»ชาเขียวขวดน้ำตาลเพียบ แนะชงดื่มเองร้อนๆ แบบเข้มข้น
15-01-2015
»5 กฏเหล็ก หน้าเด็ก สั่งได้
07-01-2015
»โรคหัวใจขาดเลือด ตาย 4 ใน 10
07-01-2015
»อยากดั้งโด่ง
07-01-2015
»ลดน้ำหนักด้วยกล้วยหอม
04-01-2015
»อย่าดื่มเหล้าคลายหนาว
21-12-2014
»10 เคล็ดวิธีปิ้งย่างปลอดภัย ไม่ต้องกลัวมะเร็ง
17-12-2014
»แมคคาเดเมีย ราชาแห่งถั่ว ธัญพืชเพื่อสุขภาพ
13-12-2014
»ความดันโลหิต ทำไมต้องมีตัวเลขสองค่า
01-12-2014
»บุหรี่ไฟฟ้ามีสารก่อมะเร็งมากกว่าบุหรี่ธรรมดา 10 เท่า
28-11-2014
»น้ำมันมะกอก
24-11-2014
»ว่านหางจรเข้
24-11-2014
»ระวัง เด็ก ๆก็เป็นเบาหวานได้
16-11-2014
»ใครอยากเลิกเหล้า อ่านงานวิจัยนี้
24-10-2014
»เกสรผึ้ง
20-10-2014
»สารพิษผักผลไม้ในห้างเกินมาตรฐาน
21-08-2014
»นอนหัวค่ำ หน้าอ่อน สมองแจ่มใส
21-08-2014
»น้ำเสาวรส และประโยชน์มหาศาล
05-07-2014
»ดื่มน้ำจากขวดพลาสติกตากแดดเสี่ยงมะเร็ง แค่เรื่องลวง
03-06-2014
»5 สมุนไพรไทยพิชิตความดันโลหิตสูง
19-05-2014
»ผู้ชอบกินทุเรียนควรรู้
09-05-2014
»หลอดไฟตะเกียบสุขภาพ
19-04-2014
»บำบัดอาการคอตกหมอนหรืออาการปวดเมื่อยต้นคอ
19-02-2014
»ฝึกทำสมาธิ ยาอายุวัฒนะใกล้ตัว ช่วยสุขภาพดี หน้าอ่อนกว่าวัย
14-02-2014
»นักวิชาการไต้หวันแนะสร้างเครือข่ายรู้คุณค่าการกินผัก-ผลไม้ ชี้กินอย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน
05-02-2014
»7 วิธีกินปิ้งย่างให้ห่างมะเร็ง พบหมักเนื้อด้วย มะนาว ช่วยได้
01-02-2014
 
หน้าแรก  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม


คุณครู.คอม ขอแสดงเจตนาว่าทุกข้อความใน เว็บไซต์นี้ให้คัดลอกได้
ไม่จำกัด เพื่อเป็นวิทยาทาน เพื่อการศึกษาเท่านั้น . .

email  [email protected]


kkwebv56   Copyright©2023 kunkroo.com
Development from SMEweb 1.5f By คุณครู.คอม