
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
"คำว่าแม่ "นั้นมีความหมายในใจลูกทุกคน จนยากที่จะเปรียบเทียบได้กับทุกสรรพสิ่งในโลก กับทุกสรรพสิ่งในโลก ดังคำขวัญที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานไว้ว่า “แม่เป็นพระอรหันต์ของลูก คนที่เที่ยววิ่งหาพระเพื่อกราบไหว้พระอรหันต์ อย่าลืมว่ามีพระอรหันต์อยู่กับตัวแล้ว ควรปฏิบัติต่อแม่อย่าให้บกพร่องได้"
ประเทศไทยเริ่มจัดงานวันแม่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน ต่อมามีการเปลี่ยนกำหนดงานวันแม่หลายครั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนโดยให้ถือว่า วันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
ด้วยเหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก คนไทยถือเป็นดอกไม้มงคล นิยมเอาดอกมะลิมาร้อยเป็นมาลัยเพื่อบูชาพระ และดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลายมะลิ นอกจากนี้ มะลิดอกแห้งก็ยังสามารถใช้ปรุงเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดี

“ดอกมะลิ” จึงกลายสัญลักษณ์หนึ่งที่มาพร้อมกับเทศกาล “วันแม่” ซึ่งเป็นวันที่บรรดาลูกให้ความสำคัญกับผู้ที่ให้กำเนิดเป็นพิเศษ และไม่ว่าจะเลือกดอกมะลิพันธุ์ใด ที่มีประมาณ 10 กว่าพันธุ์ หรือ ซื้ออะไรให้แม่ก็ตาม มันก็ไม่สำคัญเท่าความรู้สึกลึก ๆในหัวใจ ของแตละคนที่จะมอบความรัก ต่อแม่ทุกๆวัน และ คงไม่ยากจนเกินไปนัก หากเอ่ยคำว่า “รักแม่ กอดแม่ ให้ความสุขกับท่านทุกวัน" เพื่อให้ท่านได้ชื่นใจ เพราะคุณอาจโชคดีกว่าหลาย ๆ คนที่ได้เพียงแต่รำลึกถึงพระคุณแม่ผ่านภาพ และเงาที่ตราตรึงไว้ในความทรงจำเท่านั้นว่า “ลูกรักแม่” วันแม่ปีนี้อย่าลืมทำให้แม่ผู้มีพระคุณได้มีความสุขกันนะ

ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
มะลิเป็นพรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบๆ ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกเป็นคู่ ไปตามก้านต้นลักษณะใบป้อมมน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบไม่มีจัก ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบยาว 2-3 นิ้ว มีดอกมะลิเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นช่อตามปลายยอดหรือปลายกิ่งประมาณ 3-5 ดอก แล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกมีสีขาวกลิ่นหอม มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ มะลิออกดอกตลอดปี
มะลิเป็นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด กลางแจ้ง อากาศถ่ายเทสะดวก ต้องการน้ำปานกลาง ควรปลูกในดินที่ร่วนซุย ขยายพันธุ์มะลิโดยการปักชำกิ่ง หรือตอนกิ่ง
มะลินอกจากจะมีกลิ่นหอมไว้ดมแล้ว มะลิดอกแห้งใช้ปรุงเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ชนิดของมะลิที่นิยมปลูกเป็นไม้มงคล
1. มะลิซ้อน (Grand Duke of Tuscany)
2. มะลิวัลย์ (Angel-hair jasmine)
3. มะลิฉัตร (Arabian jasmine)
4. มะลิพวง (Angelwing jasmine)
5. พุทธชาติ (Star jasmine)มะลิเป็นพรรณไม้ยืนต้น และเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลางบางชนิดก็มีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ
1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดียว
แตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียว
เข้ม ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือตามง่ามใบ
ดอกเล็กสีขาวมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่ประ
มาณ 2-3 เซนติเมตรผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่1เมล็ดนอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่าง
กันไปตามชนิดพันธุ์
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความรักความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไปเพราะดอกมะลิเป็นดอก
ไม้ประจำวันแม่แห่งชาติซึ่งเป็นสัญลักณณ์แสดงถึงความรักของลูกต่อแม่และผู้ที่มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณนอกจากนี้คนไทย
โบราณยังเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ เพราะดอกมะลิมีสีขาวบริสุทธิ์ ขาวสะอาด ซึ่งคนไทยนิยมใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาพระเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นมะลิไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธเพราะโบราณเชื่อ
ว่าการปลูกต้นไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธถ้าจะให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้นนั้นผู้ปลูกควรเป็นสภาพสตรีที่สูง
อาจุ เพราะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงและยังเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี เป็นที่ยอมรับนับถือของบุคคลทั้วไป การดูแลรักษามะลิ1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 8-14 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก :
ดินร่วน อัตรา 1: 1 :1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้งเพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยน
ดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
2. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โบราณนิยมปลูกบริเวณทางเข้าหน้าบ้าน เพื่อเป็นเสน่ห์แก่บ้าน
ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 1 ผสมดินปลูก กล้วยไม้
แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย มีความชุ่มชื้นปานกลาง ระบายน้ำได้ดี
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 5-6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
อัตรา 200-300 กรัม / ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง
การขยายพันธ์ การปักชำ การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง การแยกกอ วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำ การตอน
โรค รากเน่า (Sclerotium root rot)
แมลง หนอนเจาะดอก
อาการ ใบเหลือง เหี่ยว ต้นแห้งตาย โคนต้นมีเส้นใยสีขาว และดอกเป็นแผล เป็นรู ทำให้ดอกเสียรูปทรง
และร่วง ดอกเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ
การป้องกัน ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของหนอนตัวแก่
การกำจัด ใช้ยาเมโธมิล หรือ เมธามิโดฟอส อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก
มะลิเป็นไม้ดอกเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่ง
ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่รู้จักมานานและนิยมกันอย่างแพร่หลาย ดอกมะลิมีสีขาวบริสุทธ์และมีกลิ่นหอม คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความรักความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไปเพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่แห่งชาติซึ่งเป็นสัญญาลักษณ์แสดงถึงความรักของลูกต่อแม่และผู้ที่มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ นอกจากนี้คนไทยนิยมใช้เป็นเครื่องสักการะบูชาพระ ที่แตกต่างไปจากดอกไม้ชนิดอื่น เมื่อได้กลิ่นหอมของดอกมะลิแล้วจะรู้สึกชื่นใจมาก จึงมักจะนำดอกมะลิมาใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ เช่น เก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำดอกไม้แห้ง ประดับพานพุ่มบูชาพระ ทำพวงหรีด ใช้ดอกมาอบขนมหรือโรยหน้าบนน้ำเชื่อมและน้ำดื่มให้มีกลิ่นหอมเย็นชื่นใจ และปัจจุบันทางราชการได้กำหนดให้ดอกมะลิเป็นสัญลักษณ์ประจำวันแม่แห่งชาติ มะลิ สามารถนำดอกมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหย(absolute) น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิจัดเป็นน้ำมันหอมระเหยที่มีราคาแพงในตลาดของโลก