คุณครู.คอม
.









Online: 33 user(s)

ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ 2541





kunkroo radio

ตรวจสอบแทรคไปรษณีย์ไทย

domain register Admin Only

ทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต

ตรวจสอบไอพี(IP check for locate)

..
     


    :  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม
หมวด: บทความ
เนื่องจากซองกฐิน
03-01-2013 เข้าชมแล้ว: 19384

บทความ:

พระเจ้าอยู่หัวทรงถวายผ้าพระกฐิน
ตรงกับพุทธบัญญัติ



ในปัจจุบัน การถวายผ้ากฐินให้ความสำคัญกับ "บริวารกฐิน" คือเงิน
ทำให้มีการแข่งขันกันว่า ปีนี้ทอดกฐินได้เงินเท่าไหร่
น่าจะไม่ตรงกับพุทธประสงค์

เรื่องเล่าก่อนเข้าเรื่อง
                                     

 

มีพระธุดงค์องค์หนึ่ง เดินทางในป่าทึบ 
ในป่านั้นมีเสือโคร่งแม่ลูกอ่อน กำลังเดินหากินสวนทางมา
เมื่อเห็นพระธุดงค์ก็เข้าแอบซ่อนในป่า
รอให้พระธุดงค์มาใกล้แล้วจึงกระโดดออกมาหมายจะขย้ำพระธุดงค์

ทันใดนั้น!!!!!!!โฮกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก พร้อมกับร่างมหึมาของเสือโคร่งกระใดดใส่ร่างพระธุดงค์
พระธุดงค์ตกใจสุดขีด ในขณะวินาทีเป็นตายนั้นพระธุดงค์ล้วงมือเข้าไปในย่าม

                                                                 ตัวอย่างซองกฐินซองผ้าป่า

แล้วจับวัตถุหนึ่งขว้างใส่เสือแม่ลูกอ่อนอย่างแรง
แม่เสือโคร่งมองเห็นดังนั้นหยุดชะงักแสดงอาการตกใจสุดขีด วิ่งหนีอย่างไม่คิดชีวิต



อยู่มาวันหนึ่ง ลูกน้อยของแม่เสือถามแม่เสือโคร่งว่า "ปกติแม่ไม่เคยกลัวอะไรเลย ลุยมาทั้งป่าไม่มีอย่างนี้เลย
แม่ไปเจออะไรเข้าถึงได้ตาเหลือกหนีไม่คิดชิวิตอย่างนั้น"
แม่เสือตอบว่า "จะไม่ให้แม่กลัวหนีป่าราบได้อย่างไร ก็พระองค์นั้น ล้วงเอาซองกฐินซองผ้าป่าขว้างใส่แม่ มันน่ากลัวมาก"

แม่เสือโคร่งบอกลูกน้อยต่อว่า"  ลูกรู้ไหมซองแบบนี้นะแม้แต่มนุษย์ยังกลัวเลย นับประสาอะไรสัตว์อย่างเรา"

จบเรื่องเล่ามาเข้าเรื่องจริง

 

กฐิน (บาลี: กฐิน, เขมร: ) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้  โดยคำว่ากฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด1 ดังนั้นกฐินจึงจัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยจำเพาะ ซึ่งนอกจากในพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้ว กฐินยังมีในฝ่ายมหายานบางนิกายอีกด้วย แต่จะมีข้อกำหนดแตกต่างจากพระวินัยเถรวาท
การได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน  ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธีการถวายผ้ากฐิน หรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้น และด้วยการที่การถวายผ้ากฐินนั้น จัดเป็นสังฆทาน คือถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์ ยกให้ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา) และกาลทาน ที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอน คณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นบุญประเพณีนิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย
ประเพณีการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน
กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน

ความหมายและความสำคัญของการถวายกฐิน

ความหมายของกฐิน
กฐิน เป็นศัพท์บาลี แปลตามศัพท์ว่าไม้สะดึง คือ "กรอบไม้" หรือ "ไม้แบบ" สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรในสมัยโบราณ ซึ่งผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐิน (ผ้าเย็บจากไม้แบบ)
กฐิน อาจจำแนกตามความหมายเพื่อความเข้าใจง่ายได้ดังนี้
กฐิน เป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับทำจีวร ดังกล่าวข้างต้น
กฐิน เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน (โดยได้มาจากการใช้ไม้แม่แบบขึงเย็บ)
กฐิน เป็นชื่อของงานบุญประเพณีถวายผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆืเพื่อกรานกฐิน
กฐิน เป็นชื่อของสังฆกรรมการกรานกฐินของพระสงฆ์
ความสำคัญพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่น
การถวายกฐินนั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งทำให้การถวายกฐินมีความความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่นดังนี้
จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
จำกัดเวลา คือกฐินเป็นกาลทานอย่างหนึ่ง (ตามพระบรมพุทธานุญาต) ดังนั้นจึงจำกัดเวลาว่าต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษา เป็นต้นไป
จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน
จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่พระวินัยกำหนดไว้
จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป
จำกัดคราว คือ วัด ๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
เป็นพระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระประสงค์โดยตรง

ความเป็นมาของกฐิน

ภิกษุชาวเมืองปาวา30 รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่ยังไม่ทันถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูป จึงต้องจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาแล้ว ภิกษุุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความยากลำบากเพราะฝนยังตกชุกอยู่ เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตวัน พระพทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง เมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถรับผ้ากฐินได้ และภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ 5 ประการ ภายในเวลาอานิสงส์กฐิน (นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4) คือ
ไปไหนไม่ต้องบอกลา
ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับสามผืน2
ฉันคณะโภชน์ได้ (ล้อมวงกันฉันภัตตาหารได้) 3
เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้โดยที่ยังมิได้วิกัปป์ และอธิษฐาน โดยไม่ต้องอาบัติ
จีวรลาภอันเกิดขึ้น จักได้แก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว
การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลกฐินในประเทศไทย

 

สำเนาศิลาจารึกหลักที่ ๑ (ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช)
การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลกฐินในประเทศไทย สันนิษฐานว่าเริ่มมีมาแต่แรกที่รับพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาในดินแดนประเทศไทย ซึ่งอาจมีปฏิบัติประเพณีนี้มาตั้งแต่สมัยทวาราวดี แต่มาปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าชาวไทยได้ถือปฏิบัติในการบำเพ็ญกุศลในเทศกาลกฐินในสมัยกรุุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังปรากฏความในศิลาจารึกหลักที่ 1 (ด้านที่ 2) ดังนี้
 
... คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทังชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทังสิ้นทังหลายทังผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อโอกพรรษากรานกฐินเดือนณื่งจี่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐิน โอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสูดญัตกฐินเถิงอไรญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียง เรียงกันแต่อไรญิกพู้นเท้าหัวลาน ดมบังคมกลองด้วยเสียงพาทย์เสียงพีณ เสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากปตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก ...

— คำอ่านศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ ๒
ในศิลาจารึกดังกล่าว ปรากฏทั้งคำว่า กรานกฐิน, บริวารกฐิน (บริพานกฐิน), สวดญัตติกฐิน (สูดญัตกฐิน) ซึ่งคำดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า เทศกาลทอดกฐินมีคู่กับสังคมไทยทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชนมาช้านาน ดังปรากฏว่าชาวพุทธในประเทศไทยให้ความสำคัญกับงานทอดกฐินที่จัดในวัดต่าง ๆ มาก โดยถือว่าเป็นงานบุญสำคัญที่สุดงานหนึ่งในรอบปี บางวัดที่มีผู้ศรัทธามาก อาจมีผู้จองเป็นเจ้าภาพทอดกฐินล่วงหน้ายาวเป็นสิบ ๆ ปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของชาวพุทธในประเทศไทยที่ได้ร่วมใจกันสืบทอดประเพณีนี้มาจนปัจจุบัน
ชนิดของกฐินในประเทศไทย

ตามพระวินัยแล้ว ไม่ได้จำแนกการทอดกฐิน (การถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์) ออกเป็นชนิด ๆ ไว้แต่อย่างใด คงกล่าวแต่เพียงในส่วนการทำหรือรับผ้ามากรานกฐินของพระสงฆ์เท่านั้น แต่หากพิจารณาจากประเพณีที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน คงพอจำแนกชนิดของการทอดกฐินได้เป็นสองคือ
จุลกฐิน


งานบุญกฐินของชาวเขมรในสหรัฐอเมริกา
จุลกฐิน คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย ตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีกวันหนึ่ง ดังนั้นโบราณจึงนับถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มาก เพราะต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) ภายในระยะเวลาอันจำกัด โดยจุลกฐินนี้ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
ประเพณีการทอดจุลกฐินนี้เป็นประเพณีที่พบเฉพาะในประเทศไทยและลาว ไม่ปรากฏประเพณีการทอดกฐินชนิดนี้ในประเทศพุทธเถรวาทประเทศอื่น สำหรับประเทศไทย มีหลักฐานว่ามีการทอดจุลกฐินมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หน้า 268 ว่า "ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) โปรดให้ทำจุลกฐิน" ปัจจุบันประเพณีการทำจุลกฐินนิยมทำกันเฉพาะชุมชนทางภาคเหนือและอีสานเท่านั้น โดยอีสานจะเรียกกฐินชนิดนี้ว่า "กฐินแล่น" (จุลกฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก)
เค้ามูลของการทำจีวรให้เสร็จในวันเดียว ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้ารับสั่งในคณะสงฆ์ในวัดพระเชตวันร่วมมือกันทำผ้าไตรจีวรเพื่อถวายแก่พระอนุรุทธะผู้มีจีวรเก่าใช้การเกือบไม่ได้แล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นงานใหญ่ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงช่วยการทำไตรจีวรด้วย โดยทรงรับหน้าที่สนเข็มในการทำจีวรครั้งนี้ด้วย
สาเหตุประการหนึ่งที่มีการทำจุลกฐิน เนื่องมาจากกำหนดการกรานกฐินนั้นมีระยะเวลาจำกัด และพระสงฆ์ไม่สามารถขวนขวายดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผ้ากฐินเองได้ (เพราะจะทำให้กฐินเดาะ (สังฆกรรมเสีย) จึงอาจมีบางวัดที่ใกล้กำหนดหมดฤดูกฐินแต่ยังไม่มีผู้นำผ้ากฐินมาถวาย) ทำให้ในสมัยก่อนเมื่อใกล้เดือน ๑๒ (หมดฤดูกฐิน) มักจะมีผู้ศรัทธาตระเวนไปตามวัดต่าง ๆ เมื่อเจอวัดที่ยังไม่ได้รับถวายผ้ากฐิน จึงต้องเร่งรีบขวนขวายจัดการทำผ้ากฐินให้เสร็จทันฤดูกฐินหมด ซึ่งบางครั้งอาจเหลือเวลาแค่วันเดียว จึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนทั้งชุมชน ในการร่วมกันจัดทำผ้าไตรจีวรให้สำเร็จก่อนหมดฤดูกฐิน (เพราะสมัยก่อนไม่มีผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปสำหรับขาย) การร่วมมือกันจัดทำจุลกฐินดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี
มหากฐิน
มหากฐิน เป็นศัพท์ที่เรียกเพื่อหมายความถึงการทอดกฐินที่มีบริวารกฐินมาก ไม่ต้องทำโดยเร่งรีบเหมือนจุลกฐิน มหากฐินคือกฐินที่ทอดถวายตามวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยในปัจจุบัน ที่จะมีการรวบรวมจตุปัจจัยไทยธรรมและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปเป็นเครื่องประกอบในงานกฐินถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อนำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต่อไป (มหากฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก) โดยมหากฐินนั้นอาจเป็นกฐินที่มีเจ้าภาพเพียงคนเดียวหรือกฐินสามัคคีก็ได้

             ที่กล่าวนี้เป็นประวัติของกฐิน ซึ่งเก็บความจากพระบาลี แต่ข้อความที่กล่าวข้างต้นนี้ยังเข้าใจยาก และไม่แลเห็นว่าเหตุผลเนื่องถึงกันอย่างไร ฉะนั้นจึงต้องอธิบายขยายความสักเล็กน้อย

1.ตามหลักวินัย ภิกษุจะเข้าบ้านต้องบอกลากัน
2. จะเดินทางต้องเอาไตรจีวรไปให้ครบชุด
3. เวลาฉันอาหารต้องนั่งเรียงกัน จะล้อมวงกันไม่ได้
4. สิ่งของที่เหลือใช้เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน
5. ลาภที่เกิดขึ้นต้องให้แก่ภิกษุผู้มีอาวุโส คือที่บวชนานที่สุด

ข้อบังคับเหล่านี้ ย่อมเป็นความลำบากแก่ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก เช่นการเข้าบ้านต้องบอกลากันเสมอไปนั้น ถ้าเผอิญอยู่คนเดียว ไม่มีใครจะรับลา ก็เข้าบ้านไม่ได้

การเดินทางต้องเอาไตรจีวรไปให้ครบ หมายความว่าต้องเอาผ้านุ่งห่มไปให้ครบชุด คือ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าซ้อนผ้าห่ม) ในครั้งก่อน ภิกษุไม่มีโอกาสได้ผ้าบางเนื้อละเอียดอย่างสมัยนี้เสมอไป ถ้าไปได้ผ้าเปลือกไม้หรือผ้าอะไรชนิดหนา การที่จะนำเอาไปด้วยนั้นไม่เป็นการง่าย ภิกษุ ๓๐ รูปที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็ได้รับความลำบากในเรื่องนี้มาแล้ว

การห้ามฉันอาหารล้อมวง และบังคับให้นั่งเรียงกันฉันอาหารนั้น ถ้ามีอาหารน้อยก็ทำความลำบาก เราทราบอยู่แล้วว่าการรับประทานแยกกันย่อมปลีกอาหารมากกว่าการรับประทานรวมกัน เรื่องนี้ภิกษุ ๓๐ รูป ที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็คงได้รับประสบความลำบากเรื่องนี้มา ในระหว่างทางเหมือนกัน

เรื่องจีวรที่ไม่ต้องการใช้นั้น ในชั้นเดิมเป็นความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า ที่จะไม่ให้พระภิกษุเก็บสะสมทรัพย์สมบัติ ถ้ามีอะไรเหลือใช้ จะเก็บไว้ไม่ได้ ต้องให้คนอื่นเสีย โดยเฉพาะเรื่องจีวรนี้มีบัญญัติว่า ถ้ามีจีวรเหลือใช้เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน พัน ๑๐ วันไปแล้วต้องสละให้คนอื่นไป ถ้าจะไม่สละต้องทำพิธี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเรียกว่า “วิกัป” คือไปทำความตกลงกับภิกษุอีกรูปหนึ่งให้เป็นเจ้าของจีวรด้วยกัน แล้วมอบให้ตนเก็บไว้ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “อธิษฐาน” คือถ้าจีวรที่เหลือใช้นั้นใหม่กว่าของที่ใช้อยู่ ก็เอามาใช้เสีย แล้วสละของเก่าให้คนอื่นไป การห้ามกวดขันไม่ให้เก็บผ้าจีวรไว้เกินต้องการเช่นนี้ ในบางครั้งก็เกิดความลำบากเช่น ถูกขโมยลักจีวร ซึ่งเคยถูกกันมามากในครั้งพุทธกาล หรือมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้จีวรนั้นใช้ไม่ได้ ก็ไม่มีสำรองเสียเลย

ในเรื่องลาภที่เกิดขึ้นในวัดนั้น มีข้อบังคับกวดขันว่าให้ได้แก่ภิกษุที่มีพรรษายุกาลมากที่สุด คือที่บวชก่อนคนอื่น ในเรื่องนี้ทำความเดือดร้อนหลายครั้ง เช่นภิกษุอยู่ในวัดเดียวกัน อดอยากมาด้วยกัน มีผู้เอาของมาถวาย และในวันที่มีผู้เอาของมาถวายนั้น เผอิญมีภิกษุจรมาพักอยู่ในวัดนั้นด้วย และภิกษุจรมีพรรษายุกาลมากกว่าภิกษุที่อยู่ในวัด ลาภนั้นก็ต้องตกเป็นของภิกษุที่จรมา ส่วนภิกษุที่อยู่ในวัดก็ไม่มีส่วนได้

             ความขัดข้องลำบากเกิดจากทางวินัยอย่างนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงเห็นมานานแล้ว แต่วินัยของพระพุทธเจ้าไม่เหมือนกฎหมาย คือกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว ถ้ารู้สึกว่าไม่ดีก็ประกาศเลิก และบัญญัติใหม่ ส่วนวินัยของพระพุทธเจ้าประกาศเลิกไม่ได้ ได้แต่งดชั่วคราว หรือมีข้อยกเว้นพิเศษให้ เมื่อได้ทรงเห็นความลำบากของภิกษุที่มาเฝ้า ทรงเห็นชัดว่าควรให้ความยกเว้นในเรื่องหอบหิ้วเอาไตรจีวรมา และทรงยกเว้นในข้อนี้ ก็เลยทรงประทานข้อยกเว้นอื่น ๆ ที่ทรงดำริมาแล้วแต่ก่อนด้วย จึงเกิดมีข้อยกเว้นขึ้น ๕ ข้อดังกล่าวมาข้างต้น

             แต่การที่งดใช้วินัยชั่วคราว หรือให้ความยกเว้นเป็นพิเศษนั้น จะให้กันเฉยๆ ไม่ได้ พระภิกษุต้องได้ทำความดีอันใดอันหนึ่ง จึงจะได้รับความยกเว้น ฉะนั้นการที่จะให้ภิกษุได้รับความยกเว้นในข้อนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้มีพิธีกรานกฐิน พิธีกรานกฐินต้องถือเป็นความดีความชอบอย่างหนึ่ง เพราะการทำจีวรในสมัยนั้นไม่ใช่ของง่าย ๆ ตามปกติเวลามีการทำจีวร ภิกษุย่อมได้รับความยกเว้นในวินัยหลายข้ออยู่แล้ว เมื่อต้องมาทำจีวรโดยรีบร้อนให้เสร็จในวันเดียว และตกเป็นสมบัติของคณะสงฆ์อีกเช่นนี้ ก็ควรเป็นความชอบที่พึงได้รับความยกเว้นในวินัย

 

ประเพณีทอดกฐิน : ตำนาน ความหมาย และอานิสงส์          

หลังจากวันออกพรรษาเป็นเวลา ๑ เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ หรือจำง่ายๆ ว่า  ตั้งแต่วันตักบาตรเทโวจนถึงวันลอยกระทง เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า "เทศกาลกฐิน" . . .

ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ ๑๙ ตุลาคม -๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๘  เมื่อพูดถึง “กฐิน” คนส่วนใหญ่คงคุ้นเคยกับซองทำบุญที่ได้รับในช่วงนี้  แต่เรื่องราวเกี่ยวกับ กฐิน ว่ามีตำนาน  ความหมาย อย่างไร  เชื่อว่าคงรู้กันไม่มากนัก  ดังนั้น  กลุ่มประชาสัมพันธ์  สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ   กระทรวงวัฒนธรรม  จึงขอนำมาเสนอให้ได้ทราบ  ดังต่อไปนี้

ความหมาย

         คำว่า "กฐิน" มีความหมายเกี่ยวเนื่องถึง ๔ ประการ  คือ

         ๑. เป็นชื่อของกรอบไม้  อันเป็นแม่แบบสำหรับทำจีวร  ที่อาจเรียกว่า "สะดึง"  เนื่องจากสมัยพุทธกาล  การทำจีวรให้มีลักษณะตามกำหนดกระทำได้โดยยาก  จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ให้เป็นอุปกรณ์ในการทำผ้านุ่ง/ผ้าห่ม/ผ้าห่มซ้อนที่รวมเรียกว่า จีวร  ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ (ผ้านุ่งพระ เรียกสบง  /ผ้าห่ม เรียกจีวร  /ผ้าห่มซ้อน เรียกสังฆาฎิ)  โดยพระสงฆ์จะช่วยกันทำโดยอาศัยแม่แบบนี้  เมื่อทำเสร็จและพ้นกำหนดกาลแล้วก็จะรื้อไม้แม่แบบเก็บไว้ใช้ในปีต่อๆ ไป การรื้อไม้แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้านี้เรียกว่า "เดาะ" หรือ "กฐินเดาะ" (เดาะกฐินก็เรียก)

         ๒. เป็นชื่อของผ้า  ที่ถวายแก่สงฆ์เพื่อทำจีวรตามแบบหรือกรอบไม้นั้น  และต้องถวายตามกำหนดเวลา ๑ เดือนดังกล่าว  ซึ่งผ้านี้จะเป็นผ้าใหม่  ผ้าเก่าฟอกสะอาดหรือผ้าบังสุกุล (ผ้าที่เขาทิ้งแล้ว) ก็ได้  ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์หรือภิกษุ สามเณรก็ได้  ถวายแก่สงฆ์แล้วเป็นอันใช้ได้

         ๓. เป็นชื่อของบุญกิริยา  คือ การทำบุญถวายผ้ากฐินเพื่อให้สงฆ์ทำเป็นจีวร  ซึ่งต้องเป็นพระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ ๓ เดือน  ทั้งนี้ เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าใหม่ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด  การทำบุญถวายผ้ากฐินหรือที่เรียกกันติดปากว่า "ทอดกฐิน"  ก็คือการทอดหรือวางผ้าลงไป แล้วกล่าวคำถวายในท่ามกลางสงฆ์ และต้องทำในเวลาที่กำหนด ๑ เดือนที่ว่า  ถ้าทำก่อนหรือหลังไม่ถือว่าเป็นกฐิน

         ๔. เป็นชื่อของสังฆกรรม  คือ  กิจกรรมของสงฆ์ที่จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

 

ประเภทของกฐิน

         แยกเป็น ๒ ประเภทใหญ่  คือ ๑. กฐินหลวง   ๒. กฐินราษฎร์

         ๑. กฐินหลวง  มีประวัติว่าเมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายมาประดิษฐานในประเทศไทย และประชาชนชาวไทยได้นับถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  การทอดกฐินก็ได้กลายเป็นประเพณีของบ้านเมืองมาโดยลำดับ และพระเจ้าแผ่นดินผู้ปกครองบ้านเมืองก็ได้ทรงรับเรื่องกฐินเป็นพระราชพิธี อย่างหนึ่ง  การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับกฐินเป็นพระราชพิธีดังกล่าว  เป็นเหตุให้เรียกกันว่า กฐินหลวง  ดังนั้น วัดใดก็ตามไม่ว่าวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐินแล้ว  ก็เรียกว่า กฐินหลวงทั้งสิ้น  แต่สมัยต่อมากฐินหลวงได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะการณ์ของบ้านเมือง เช่น ประชาชนมีศรัทธา เจริญรอยตามพระราชศรัทธาของพระเจ้าแผ่นดินและได้รับพระกรุณาให้ถวายผ้าพระกฐินตามควรแก่ฐานะ  กฐินหลวงปัจจุบันจึงได้แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

              ๑.๑ กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือองคมนตรีเป็นผู้แทนพระองค์ไปถวายเป็นประจำ ณ วัดสำคัญๆ ปัจจุบันมี ๑๖ วัด เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์  วัดสุทัศน์เทพวราราม  วัดบวรนิเวศวิหาร  เป็นต้น

              ๑.๒ กฐินต้น หมายถึง กฐินที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่วัดหลวงและมิได้เสด็จไปอย่างเป็นทางการหรืออย่างเป็นพระราชพิธีแต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์

              ๑.๓ กฐินพระราชทาน  เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวงแก่ผู้ที่กราบบังคมทูลขอพระราชทานไปถวายยังวัดหลวง ที่นอกเหนือไปจากวัดสำคัญ ๑๖ วัดที่กำหนดไว้  เหตุที่มีกฐินพระราชทาน ก็เพราะปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ตลอดจนคณะบุคคลต่างๆ ที่สมควรขอพระราชทานผ้าพระกฐินไปถวายได้  ซึ่งกฐินดังกล่าวส่วนใหญ่ก็คือกฐินที่หน่วยงานราชการต่างๆ นำไปถวายนั่นเอง  ทั้งนี้ ผู้ที่จะรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวาย ณ วัดหลวงวัดใดต้องติดต่อไปยังกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ตามระเบียบเพื่อเป็นการจองไว้ก่อนด้วย 

        ๒. กฐินราษฎร์  หมายถึง กฐินที่ราษฎรหรือประชาชนผู้มีศรัทธานำผ้ากฐินของตนไปถวายตามวัดต่างๆ ยกเว้นวัดหลวง ๑๖ วัดที่กล่าวไว้แล้ว  ซึ่งจะมีชื่อเรียกต่างๆ ตามลักษณะของการทอด คือ

              ๒.๑ กฐินหรือมหากฐิน  เป็นกฐินที่ราษฎรนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งที่ตนศรัทธาเป็นการเฉพาะ  ผ้าที่เป็นองค์กฐินจะเป็นผืนเดียวหรือหลายผืนก็ได้ จะเย็บแล้วหรือไม่ก็ได้  แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นผ้าสำเร็จรูปแล้ว  และนิยมถวายของอื่นๆ ที่เรียกว่า บริวารกฐิน ไปพร้อมกับองค์กฐินด้วย เช่น เครื่องอุปโภค บริโภคของพระภิกษุสงฆ์ อย่างหมอน โอ่งน้ำ เตา ไม้กวาด จอบ เสียบ อาหาร ยาต่างๆ เป็นต้น

              ๒.๒ จุลกฐิน  เป็นกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบเร่ง  เดิมเรียกแบบไทยๆ ว่า กฐินแล่น เจ้าภาพที่จะทอดกฐินเช่นนี้ได้ต้องมีพวกและกำลังมาก  เพราะต้องเริ่มตั้งแต่ปั่นฝ้ายเป็นด้าย ทอด้ายให้เป็นผ้า ตัดผ้าและเย็บผ้าเป็นจีวร  ย้อมสี และต้องทอดภายในวันนั้น และพระสงฆ์ก็ต้องกรานและอนุโมทนาในวันนั้นๆ ด้วย  เรียกว่าเป็นกฐินที่ต้องทำทุกอย่างให้เสร็จภายในวันเดียว

              ๒.๓ กฐินสามัคคี  เป็นกฐินที่มีเจ้าภาพหลายคนร่วมกัน  ไม่จำเป็นว่าใครบริจาคมากน้อย  แต่มักตั้งเป็นคณะทำงานขึ้นมาดำเนินการและมีหนังสือบอกบุญไปยังผู้อื่น  เมื่อได้ปัจจัยมาเท่าไรก็จัดผ้าอันเป็นองค์กฐิน  รวมทั้งบริวารไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่งที่จองไว้  ซึ่งกฐินชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน  เพราะนอกจากทำบุญกฐินแล้ว  ยังนำปัจจัยที่เหลือไปช่วยทำนุบำรุงวัด เช่น ก่อสร้างศาสนสถาน บูรณะปฎิสังขรณ์โบสถ์ เจดีย์  เป็นต้น

              ๒.๔  กฐินตกค้าง หรือ กฐินโจร  กล่าวคือในท้องถิ่นที่มีวัดมากๆ อาจจะมีวัดตกค้างไม่มีใครไปทอด  จึงมีผู้มีจิตศรัทธาเสาะหาวัดอย่างนี้ แล้วนำกฐินไปทอด  ซึ่งมักจะเป็นวันใกล้สิ้นเทศกาลกฐินหรือวันสุดท้าย  จึงเรียกว่า กฐินตกค้าง หรืออาจเรียกว่า กฐินโจร  เพราะกิริยาอาการที่ไปทอดอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว จู่ๆ ก็ไปทอด  ไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้วัดรู้เพื่อเตรียมตัวคล้ายโจรบุก   ซึ่งกฐินแบบนี้ต่างกับกฐินอื่นคือ  ไม่มีการจองล่วงหน้า และจะทอดเฉพาะวัดที่ยังไม่มีใครทอด  จะทอดหลายวัดก็ได้ และสามารถเอาของไทยธรรมที่เหลือจากวัดที่ไม่ได้ทอด (กรณีไปหลายวัด) ไปจัดเป็นผ้าป่า เรียกว่า "ผ้าป่าแถมกฐิน" ก็ได้

 

อานิสงส์หรือผลดีของการทอดกฐิน

         การทอดกฐิน  ถือเป็นการทำบุญพิเศษที่ทำได้เพียงปีละครั้ง และต้องอยู่ภายในกำหนดเวลาหนึ่งเดือนตามพุทธบัญญัติ  ดังนั้น อานิสงส์หรือผลดีจึงมีหลายประการ กล่าวคือ ได้สงเคราะห์พระสงฆ์ผู้จำพรรษาให้ได้ผ้านุ่งห่มใหม่  ได้ชื่อว่าทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา สร้างกุศลจิตแก่ผู้ทำบุญเพราะทำด้วยความเลื่อมใสศรัทธา  อีกทั้งการทอดกฐินยังก่อให้เกิดความสามัคคี เป็นการร่วมมือกันทำคุณงามความดี  และหากการถวายกฐินนั้น มีส่วนในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ก็จะได้ชื่อว่ามีส่วนช่วยรักษาศาสนสถานและศาสนวัตถุให้ยั่งยืนต่อไป

 ความหมายของกฐินที่เกี่ยวข้องกันดังนี้  

          -กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้ กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง, ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ

          -กฐินที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าที่มีผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้

          -กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ คือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบไตรมาส เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำว่าถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็น กาลทาน คือการถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือโอกาสทำได้ยาก

          -กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม คือก






หมวด: บทความ
»การทำทาน
23-02-2018
»การพิจารณาเวทนาในเวทนาในชีวิตประจำวัน
23-02-2018
»เมื่อมีศีลดี
23-02-2018
»คำอวยพรส่งมาทางไลน์
23-02-2018
»สาระจากการบิณฑบาต และการใส่บาตร
06-04-2016
»เราเคยฟังแต่ไม่รู้จักชื่อ เพลงพม่าประเทศ
03-04-2016
»ตัดสินคดีโกงในสมัยโบราณ
31-03-2016
»ทำไมต้องเซลฟี้ (Selfie)
05-01-2015
»ยุคตัวกู ของกู
22-12-2014
»การลบ facebook ออกจากชีวิต
19-12-2014
»30 วิธีเจ๋ง แบบสบายๆ
21-10-2014
»ทำบุญด้วยถังเหลือง ไม่ใช่สังฆทาน
30-07-2014
»อันตราย! ใช้ ทิชชู ซับน้ำมันอาหาร เจอสารก่อมะเร็ง-โซดาไฟ
02-07-2014
»ม.ขอนแก่นทำได้ ก้าวแรกทำน้ำมันดิบจากใบอ้อย
14-06-2014
»เครื่องไฟฟ้าในบ้านกินไฟอย่างไรมาดูกัน
24-05-2014
»ฝนฟ้าคะนอง เล่นเน็ต โทรศัพท์ ระวังฟ้าผ่า
13-05-2014
»ชักนำต่างชาติเขาฮุบที่ทำกินชาวนา
25-03-2014
»สุดยอดข้อมูลประเทศไทยกับ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล
15-02-2014
»เรื่องเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
08-02-2014
»โรคใหม่จากการสูบบุหรี่
18-02-2014
»อะไรเอ่ย ลองทายดูซิ ก่อนอ่าน นะครับ
23-01-2014
»polar vortex คืออะไร
23-01-2014
»นักวิจัยชี้สารสกัดจากผลไม้ในอาหารเสริมได้ประโยชน์จริง
21-01-2014
»กินผักผลไม้วันละครึ่งกิโล ลดมะเร็ง50%
19-01-2014
»วันครู ปี 2557
19-01-2014
»เพาะถั่วงอกในขวดน้ำดื่ม(เก่า)
19-01-2014
»ทำได้อย่างนี้หนุ่มตลอดกาล
19-01-2014
»มะเร็ง ที่มากับอาหารจากกล่องโฟม
13-12-2014
»อ่านแล้วจึงรู้ว่า ที่รู้มานั้นยังรู้ไม่หมดจริง...
13-12-2014
»ไลฟ์สไตล์มรณะ ทั้ง 14 ประการ
13-12-2014
»กินผลไม้ก่อนอาหารรักษามะเร็งได้
13-12-2014
»คนไป ชุมนุมไล่รัฐบาลทรราช ทำตามรัฐธรรมนูญ
13-12-2014
»โรคไมเกรน
13-12-2014
»วีดิโอสาระเพื่อบ้านเมือง มันส์มาก
13-12-2014
»รถยนต์ติดแก๊สควรตรวจสอบอะไรบ้าง
13-12-2014
»แบคไฟร์ในรถยนต์ติดแก๊ส
13-12-2014
»นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ระวังโรค CVS
13-12-2014
»5 เคล็ดลับบอกลาโรคเบาหวาน
13-12-2014
»เรื่องถังเช่า (อีกที)
02-04-2016
»4 เป้าหมายช่วยให้เลิกสูบบุหรี่
13-12-2014
»ปวดศีรษะจากความเครียด จนถึงดึงเส้นผมเพื่อบรรเทาปวด
13-12-2014
»เก็บผลไม้ป่าต่างแดน บลูเบอร์รี่
13-12-2014
»กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆมาก โอกาสมีฝนตก ร้อยละ 90 และมีฝนตกหนักบางแห่ง
13-12-2014
»ดูกันชัด ๆ หวู๋ติ๊บถล่ม ไทยวันนี้ พรุ่งนี้ และมะรืนนี้
01-10-2013
»น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ ในปี 2556
28-09-2013
»เขื่อนแม่วงก์
29-09-2013
»สรรพคุณ พริกไทย
29-09-2013
»เกลือบ่อดินอันตราย
16-09-2013
»ศึกษาเฉพาะกรณีธรรมกาย" โดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
14-09-2013
»ถังเช่า (เพียงอยากให้รู้)
14-09-2013
»ถั่วงอก เรื่องน่ารู้
07-09-2013
»ข้าวพันธุ์ลืมผัว
07-09-2013
»กดจุดหายปวด บำบัดอาการปวดผู้ทำงานนั่งนานๆ
05-09-2013
»บุญเดือนเก้า ห่อข้าวประดับดิน
05-09-2013
»ดีปลี ยาพื้นบ้านไทย ที่ควรรู้จัก
04-09-2013
»ดิจิตอลทีวี คืออะไร
27-08-2013
»วันเดียว เที่ยว 3 ประเทศ ข้ามโขงสะพานไทยลาวแห่งที่ 3 ที่นครพนม
23-08-2013
»แม่น้ำโขง
11-08-2013
»ถนอมแบตเตอรี่สมาร์ทโฟน
10-08-2013
»แกรนด์ แคนยอน ฟ้าผ่าปีละหลายหมื่นครั้ง! อยู่ที่แจ้ง รู้เอาตัวรอด
30-07-2013
»หลวงพ่อชาตอบปัญหาการกินเจกับกินเนื้อ
17-07-2013
»วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา
17-07-2013
»โน๊ตบุ๊ค สะดวกแต่เสี่ยงโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ
04-07-2013
»มะตูมซาอุ
23-06-2013
»มะตูมซาอุ
23-06-2013
»ตกใจไหม ถ้าบอกว่า "น้ำตาลคือสารเสพติด"
24-02-2013
»ตำนานพระอินทร์ (พระอินทร์ในสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์)
05-02-2015
»เรื่องจิต หรือ ใจ
19-01-2013
»วันครู
14-01-2013
»เซียงกง คืออะไร มาจากไหน
03-01-2013
»ทำบุญตักบาตรพระ อาจได้บาป เพราะอะไร เชิญทางนี้
03-01-2013
»ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่
03-01-2013
»กระดูกพรุนศัตรูผู้สูงวัย โดยเฉพาะผู้หญิงเสี่ยงมากที่สุด
03-01-2013
»การฉีดวัคซีนโรคคอตีบ
03-01-2013
»การสร้างบุญบารมี
03-01-2013
»ธรณีสูบ ตั้งแต่พุทธกาลมาจนถึงสมัยปัจจุบัน
03-01-2013
»ที่มาของการสวดภาณยักษ์
03-01-2013
»วันมาฆะบูชา
03-01-2013
»ประเมินตนเองบ้าง
03-01-2013
»ตำนานเทวเกษียรสมุทร มีคนอ้างว่าเป็นที่มาของเหล้า
03-01-2013
»แพทย์เตือนดื่มสนุกทุกข์ถนัด
03-01-2013
»สุดยอดอาหารเพื่อ "สุขภาพสมอง"
03-01-2013
»การใช้และบำรุงรักษาแบตเตอรี่โน๊ตบุ๊ค
03-01-2013
»เนื่องจากคำทำนายของเด็กชายปลาบู่
03-01-2013
»มณีกัณฐชาดก ขอในสิ่งที่ไม่ควรขอ
03-01-2013
»เทคโนโลยียานพาหนะในยุคน้ำท่วม
03-01-2013
»จากบั้งไฟพญานาค ถึง พญานาค
03-01-2013
»เนื่องจากซองกฐิน
03-01-2013
»ปัญหาเรื่องไวรัส หน้าจอฟ้า ไอค่อนหายหมด
03-01-2013
»คลิปยูเอฟโอ ล่าสุดมีผู้อ้างว่าถ่ายได้
03-01-2013
»การกระตุ้นสมอง ทำให้เกิดความจำดี
02-04-2016
»เตือน พวงมาลัยดอกมะลิ ริมทางอันตรายสารพิษอื้อ!
03-01-2013
»พบสารไล่ยุงในต้นตีนเป็ด
03-01-2013
»ความเป็นมาการถวายผ้าอาบน้ำฝน
03-01-2013
»มักกะลีผล
03-01-2013
»ยอดภูเขาทอง วัดสระเกษ ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
10-01-2014
»แผนที่ธรรม
11-01-2013
»เทศนาจากหลวงปู่โต พรหมรังสี
03-01-2013
»วันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา
10-01-2013
»เกร็ดความรู้ในการรักษาศีล
03-01-2013
»5 ศุกร์ 5 เสาร์ 5 อาทิตย์ในเดือนกรกฎคม 2554
03-01-2013
»แมงมุม ที่มีพิษทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวสี่ชั่วโมง
03-01-2013
»ชาเขียวต้านโรค
03-01-2013
»แว่นกันแดดตอน ฝนตก มองเห็นชัด 90%
03-01-2013
»การนอนกลางวันช่วยลดความเครียด จึงลดความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
03-01-2013
»อารมณ์ดี แต่สมองไม่ค่อยจำ
03-01-2013
»จิตรกรกับเทพธิดา
03-01-2013
»โอกาสหรือวิกฤติที่ไทยยังไม่มี 3G
03-01-2013
»สำรวจพบ8อาชีพ มีเงินเดือนเกินแสน นักบินรายได้สูงสุด
03-01-2013
»ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ แขนขาอ่อนแรง
03-01-2013
»ชลอความเสื่อมของร่างกายทำอย่างไร ยีน มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร
03-01-2013
»เกิดอะไรขึ้นเมื่อมีแผ่นดินไหว
03-01-2013
»เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ควรทำอย่างไร
03-01-2013
»ตำนานพระพุทธรูปปางนาคปรก
02-04-2016
 
หน้าแรก  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม


คุณครู.คอม ขอแสดงเจตนาว่าทุกข้อความใน เว็บไซต์นี้ให้คัดลอกได้
ไม่จำกัด เพื่อเป็นวิทยาทาน เพื่อการศึกษาเท่านั้น . .

email  [email protected]


kkwebv56   Copyright©2023 kunkroo.com
Development from SMEweb 1.5f By คุณครู.คอม