บทความ:
เรื่องราวของ ท้าวเวสสุวัณ หรือ ท้าวเวสสุวรรณ
ท้าวเวสสุวัณประทับเสนาบดียักษ์ จอมเทพแห่งอตุรทิศ ผู้บันดาลความร่ำรวยและขจัดภูติผีปีศาจ
ในคัมภีร์ไตรภูมิพระร่วง เรียกท้าวเวสสุวัณว่า "ท้าวไพศรพมหาราช" และได้พรรณนาถึงการแต่งองค์ไว้ว่า"ท้าวไพศรพมหาราชเป็นพระยาแก่ฝูงยักษ์แลเทพยดาทั้งหลายฝ่ายทิศอุดรเถิงกำแพงจักรวาลเบื้องอุดรทิศพระสุเมรุราชแลเครื่องประดับตัว แลบริวารทั้งหลายเทียรย่อมทองเนื้อสุกฝูงยักษ์ทั้งหลายนั้น บ้างถือค้อน ถือสากแลจามจุรีเทียรย่อมทองคำบ่มิรู้ขิร้อยล้านแลฝูงยักษ์นั้นมีหน้าอันพึงกลัวแลท้าวไพศรพจึงขึ้นม้าเหลืองตัว๑ดูงามดั่งทอง" จากคำพรรณนาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าท้าวเวสสุวัณหรือท้าไพศรพนั้นร่ำรวยมหาศาลมีทองคำมากมายไม่รู้กี่ร้อยล้าน ทั้งยังมีเครื่องประดับเป็นทองคำ บริวารก็ถือ ค้อนทอง สากทอง และทรงม้าสีทอง
ฝ่ายพุทธศาสนามีปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกมหานิทานสูตร มหาวรรค ทีฆนิกาย กล่าวไว้ว่าดินแดนที่ประทับของท้าวเวสสุวัณชื่ออาลกมันทาราชธานีเป็นนครเทพเจ้าที่งดงามรุ่งเรืองมากโดยท้าวเวสสุวัณเทวราชโลกบาลองค์นี้เป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันและเมื่อพระมหาโมคคัลลานะเดินทางขึ้นมาเยี่ยมเยียนพระอินทร์ท้าวสักกะเทวราช ณ มหาปราสาทไพชยนต์วิมาน ท้าวเวสสุวัณพระองค์นี้ก็ได้เสด็จเข้าร่วมให้การต้อนรับด้วยพระเจ้าพิมพิสารกษัตริย์แห่งแคว้นมคธ หลังจากที่เสด็จสวรรคตเนื่องจากการทารุณกรรมของพระเจ้าอชาตศัตรูผู้เป็นราชโอรสที่เข้ายึดอำนาจก็ได้มาอุบัติในโลกสวรรค์เป็นพญายักษ์เสนาบดีตนหนึ่งของท้าวเวสสุวัณนั่นเอง
ในอรรถาโลภปาลสูตรกล่าวว่าเมื่อถึงวันอุโบสถคือขึ้นหรือแรม ๘ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ องค์ จะลงมาตรวจโลกมนุษย์อยู่เสมอโดยจะถือแผ่นทองและดินสอมาด้วยและจะเที่ยวเดินดูไปทุกแห่งทั่วถิ่นฐานบ้านเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายในโลกมนุษย์ถ้าใครทำบุญประพฤติธรรมทำความดีก็จะเขียนชื่อและการกระทำลงบนแผ่นทองคำแล้วนำแผ่นทองคำไปให้ปัญจสิขรเทวบุตรซึ่งจะนำไปให้พระมาตุลีอีกต่อหนึ่ง พระมาตุลีจึงเอาไปทูลถวายแด่พระอินทร์ถ้าบัญชีในแผ่นทองมีมากเทวดาทั้งหลายก็จะแซ่ซ้องสาธุการ ด้วยความยินดีที่มนุษย์จะได้ขึ้นสวรรค์มาก แต่หากมนุษย์ใดทำความชั่วก็จะจดชื่อส่งบัญชีให้พญายมราช เพื่อให้นายนิรยบาลทั้งหลายจะได้ทำกรรมกรณ์ให้ต้องตามโทษานุโทษเท่าสัตว์นรกเหล่านั้น
ศิลาจารึกสมัยกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า ท้าวเวสสุวัณมีปราสาทช้างเรืองอร่ามด้วยแสงแก้วอยู่เหนือยอดเขายุคนทร มียักษ์เฝ้าประตูวังและยักษ์เสนาบดีอยู่หลายตนมีร่างทิพย์ ม้าทิพย์ ราชรถทิพย์และบุษกทิพย์ มีศักดิ์เป็นใหญ่แก่ฝูงยักษ์ทั้งหลาย ๙ ตนมีบริวารที่เรียกว่า"ยักขรัฏฐิภะ"ซึ่งมีหน้าที่สืบข่าวและตรวจตราเหตุการณ์ต่างๆรวม ๑๒ ตนและยังมียักษ์ที่สำคัญเป็นเสนาบดียักษ์อีก ๒๘ นายที่คอยรับใช้ท้าวเวสสุวัณอยู่ดังจะเห็นว่า
ท้าวเวสสุวัณ มีกำเนิดจากหลายตำนาน แม้กระทั่งใน ลัทธิของจีนฝ่ายมหายานว่า ท้าวโลกบาลทิศอุดรมีชื่อว่า "โตบุ๋น" เป็นขุนแห่งยักษ์มีพวกยักษ์บริวารมีกายสีดำ ถือดวงแก้วและงู ทางทิเบตมีกายสีทองคำถือธงและพังพอน ทางญี่ปุ่น ถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภนามว่า " พิสะมอน " ถือแก้วมณีทวนและธงตามที่ได้พรรณนามานั้นเป็นเพียงประวัติย่อๆของท้าวเวสสุวัณเพื่อชี้ให้เห็นว่าท่านมีความสำคัญมากเพียงใดโบราณาจารย์จึงได้จัดสร้างรูปไว้เคารพบูชามาตั้งกว่าพันปีมาแล้ว
โดยสรุปแล้วท้าวเวสสุวัณ ถือเป็นเทพเจ้าที่สำคัญยิ่ง เป็นที่เคารพนับถือในหลายต่อหลายประเทศ ในไทยเราเองนั้นนับถือเทพเจ้าองค์นี้มาก ในฐานะผู้คุ้มครองในห้ปลอดภัยจากวิญญาณร้าย ดังเราจะเห็นได้ว่าครุบาอาจารย์มักทำผ้ายันต์ท้าวเวสสุวัณ เป็นผืนสีแดงไว้ติดตามประตู เพื่อป้องกันภูตีผีปีศาจ คติความเชื่อนี้ถือว่าเก่าแก่ และเป็นที่คุ้นตาที่สุด หรืออย่างพิธีสวดภาณยักษ์ ก็เช่น พระคาถาภาณยักษ์ หรือบท "วิปัสสิ" นี้เป็นพระคาถาทีท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ท่าน โดยมีท้าวเวสสุวัณเป็นหัวหน้า นำมามอบให้พระพุทธเจ้า เพราะเห็นว่าบริวารของตนนั้นมีมาก บางพวกก็มีนิสัยดี แต่บางพวกมีนิสัยพาลเกเร อาจทำร้ายแก่พระธุดงค์ที่อยู่ตามป่าช้า ตามเขา ตามป่าได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันจึงได้มอบพระคาถาภาณยักษ์ถวายแต่พระพุทธองค์
ปัจจุบันเราก็ยังสามารถพบเห็นการสวดภาณยักษ์ได้อยู่ และจะเห็นรูปท้าวเวสสุวัณเด่นเป็นสง่าเสมอ ในพิธีสวดภาณยักษ์นี้ เพราะท้าวเวสสุวัณเป็นผู้ที่มีสิทธิเฉียบขาดในการลงโทษภูตีผีปีศาจทั้งหลาย จึงเป็นที่ศรัทธาเชื่อมั่นว่า ท้าวเวสสุวรรณนี้เป็นเทพเจ้าที่มีคุณในการทำลายล้างสิ่งอัปมงคล ทั้งกันทั้งแก้เรื่องผีปีศาจ คุณไสยมนต์ดำทั้งหลายได้ ทั้งยังให้คุณเรื่องโภคทรัพย์อีกประการหนึ่งดังที่กล่าวมาแล้ว
ที่มา : หนังสือ หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว เรื่อง ท้าวเวสสุวัณจอมเทพแห่งอตุรทิศ ผู้บันดาลความร่ำรวยและขจัดภูติผีปีศาจ
ท้าวเวสสุวรรณ เป็นอธิบดีแห่งอสูรย์หรือยักษ์ หรือเป็นเจ้าแห่งผี เรียกง่าย ๆ ว่า " นายผี " เป็นหนึ่งในบรรดาท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์
สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งมีท้าวมหาราชทั้งสี่ปกครอง คือ ท้าวธตรัฏฐะ ท้าววิรุฬหกะ ท้าววิรูปักขะ และท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) ประจำทิศต่างๆ ทั้งสี่ทิศ
โดยเฉพาะท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) เป็นใหญ่ปกครองบริวารทางทิศเหนือ ว่ากันว่าอาณาเขตที่ท้าวเธอดูแลปกครองรับผิดชอบมีอาณาเขตใหญ่โตมหาศาล กว้างขวาง และเป็นใหญ่
ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพแห่งขุมทรัพย์ เป็นมหาเทพแห่งความร่ำรวย มั่งคั่ง รักษาสมบัติของเทวโลก ทั้งเป็นเจ้านายปกครองดูแลพวกยักษ์ ภูติผีปีศาจทั้งปวง
นอกจากนี้หน้าที่ของท้าวเธอมีมากมาย เช่น การดูแลปกป้องคุ้มครอง พระพุทธศาสนา ปกป้องคุ้มครองแก่ผู้นั่งสมาธิปฏิบัติพระกรรมฐาน เป็นต้น
ภูมิที่อยู่ต่อจากมนุษยภูมิขึ้นไป มีเทวดาผู้เป็นใหญ่ เป็นมหาราชอยู่ ๔ องค์ คือ
๑. ท้าวธตรัฏฐะ อยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครอง คันธัพพเทวดา
๒. ท้าววิรุฬหกะ อยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครอง กุมภัณฑ์เทวดา
๓. ท้าววิรูปักขะ อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครอง นาคเทวดา
๔. ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ อยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครอง ยักขเทวดา
มหาราชทั้ง ๔ นี้ เป็นผู้รักษามนุษยโลก หรือเรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล ซึ่งมีสถานที่ปกครองตั้งแต่ตอนกลางของเขาสิเนรุ ลงมาจนถึงมนุษยโลก มีอาณาเขตแผ่ออกไปจดขอบจักรวาล

เทวดาทั้งหลายที่อยู่ในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมินี้ทั้งหมด เป็นบริวารภายใต้อำนาจของมหาราชทั้ง ๔
เมื่อเทียบเวลาระหว่างมนุษย์กับสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิแล้ว ๕๐ ปี ในมนุษย์ เท่ากับ ๑ วัน ของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ
เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกานี้ มีอยู่ตั้งแต่กลางเขาสิเนรุจนกระทั่งถึงพื้นดินที่มนุษย์อยู่ มีชื่อเรียกตามที่อยู่ที่อาศัย ดังนี้
** อยู่บนพื้นดิน เรียกว่า ภุมมัฏฐะเทวดา
** อยู่บนต้นไม้ เรียกว่า รุกขะเทวดา
** อยู่ในอากาศ (มีวิมานอยู่) เรียกว่า อากาสัฏฐะเทวดา
ภุมมัฏฐเทวดา
ได้แก่ เทวดาที่อาศัยอยู่ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ภูเขา แม่น้ำ มหาสมุทร ใต้พื้นดิน ตามบ้านเรือน ซุ้มประตู เจดีย์ ศาลา เป็นต้น ท้าวมหาราชทั้ง ๔
จะอยู่ตอนกลางรอบเขาสิเนรุ มีปราสาทเป็นวิมานของตนเอง สำหรับ เทวดาอื่นที่ไม่มีวิมาน ก็ต้องไปอาศัยอยู่ตามสถานที่ดังกล่าวข้างต้น โดยถือเอาสถานที่นั้นเป็นวิมานของตน
รุกขเทวดา
ได้แก่ เทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ มีอยู่ ๒ จำพวก คือ พวกที่มีวิมานอยู่บนต้นไม้ กับพวกที่ไม่มีวิมาน รุกขเทวดาที่มีวิมานนั้น จะเอา วิมานตั้งอยู่บนยอดไม้
ส่วนเทวดาที่ไม่มีวิมานของตนเอง ก็จะอาศัยอยู่บนคบไม้ หรือ กิ่งก้านของต้นไม้
อากาสัฏฐเทวดา
ได้แก่ เทวดาที่มีวิมานของตนเองในอากาศ ตั้งอยู่ในอากาศ ภายใน และภายนอกของวิมาน จะประกอบด้วยรัตนะ ๗ อย่าง
ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจ ของกุศลกรรม คือ แก้วมรกต แก้วมุกดาแก้วประพาฬ แก้วมณี แก้ว เชียร เงิน และทอง บางวิมานก็มี ๒ รัตนะ บางวิมานก็มี ๓, ๔, ๕, ๖ รัตนะ ขึ้นอยู่กับบุญกุศลที่ตนได้สร้างไว้ วิมานเหล่านี้ จะลอยหมุนเวียนไปในอากาศรอบ ๆ เขาสิเนรุ
เทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกา บางพวกก็ขาดเมตตาธรรม จัดเป็นพวกเทวดาใจร้าย มี ๔ จำพวก คือ
๑. คันธัพพี คันธัพโพ
ได้แก่ เทวดาคันธัพพะ ที่ถือกำเนิดภายในต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม เรา เรียกกันว่านางไม้ หรือแม่ย่านาง ชอบรบกวนให้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ
เช่น ให้ เกิดเจ็บป่วย หรือทำอันตรายแก่ทรัพย์สมบัติที่นำไม้นั้นมาใช้สอย หรือนำมาปลูกบ้านเรือน เทวดาจำพวกนี้อยู่ในความปกครองของ ท้าวธตรัฏฐะ คันธัพพเทวดานี้ สิงอยู่ในต้นไม้นั้นตลอดไป
แม้ว่าใครจะตัดฟันไป ทำเรือ แพ บ้าน เรือน หรือเครื่องใช้สอยอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็คงสิงอยู่ในไม้นั้น ซึ่งผิดกับรุกขเทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ถ้าต้นไม้นั้นตายหรือถูกตัดฟัน ก็ย้ายจากต้นไม้นั้นไปต้นไม้อื่น
๒. กุมภัณโฑ กุมภัณฑี
ได้แก่ เทวดากุมภัณฑ์ ที่เราเรียกว่า รากษส เป็นเทวดาที่รักษา สมบัติต่าง ๆ มี แก้วมณี เป็นต้น และรักษาป่า ภูเขา แม่น้ำ ถ้ามีผู้ล่วงล้ำ ก้ำเกินก็ให้โทษต่าง ๆ เทวดาจำพวกนี้ อยู่ในความ
ปกครองของท้าววิรุฬหก
๓. นาโค นาคี
ได้แก่ พวก เทวดานาค จะมีวิชาเกี่ยวกับเวทมนต์คาถาต่าง ๆ ขณะท่องเที่ยวไปในมนุษยโลก บางทีก็เนรมิตเป็นคน หรือเป็นสัตว์ เช่น เสือ ราชสีห์ เป็นต้น
โดยเฉพาะชอบลงโทษพวกสัตว์นรก เทวดาจำพวกนี้ อยู่ในความปกครองของท้าววิรูปักขะ
๔. ยักโข ยักขี
ได้แก่ พวก เทวดายักษ์ จะพอใจในการเบียดเบียนสัตว์นรก เทวดา จำพวกนี้ อยู่ในความปกครองของท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ เทวดาทั้ง ๔ จำพวกนี้
จะเป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ เพราะอยู่ใกล้ชิดกับมนุษยภูมิ
คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวร
อิติปิโสภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
มรณังสุขัง อะหังสุคะโต นะโมพุทธายะ
ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชิกา ยักขะพันตา ภัทภูริโต
เวสสะ พุสะ พุทธัง อะระหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโมพุทธายะ
มนต์บทนี้เป็นมนต์ของพญายักษ์ ชื่อว่า"กุเวร" อันเป็นหนึ่งในบรรยาท้าวจตุโลกบาล ทั้ง ๔ อันได้แก่ ท้าวธตรฐ,ท้าววิรุฬหก,ท้าววิรูปักษ์,และท้าวกุเวร ผู้ครองนครอาฏานา ด้วยเหตุที่ว่าท้าวกุเวรนั้นได้เห็นว่ายังมีพวกอมนุษย์เป็นอันมาก ยังทำการหลอกหลอน พวกพระภิกษุที่ปฏิบัติธรรมอยู่ จึงได้นำมนต์บทนี้ไปถวายแด่พระพุทธเจ้า ให้พระองค์ ประทานแก่พระภิกษุสงฆ์ พระองค์ก็ทรงอนุญาตให้ใช้มนต์บทนี้ได้ เพื่อเป็นการคุ้ม ครองป้องกันอันตราย ที่เกิดจากยักษณ์ ,ภูต ผี ปีศาจ และยังป้องกันโรคภัยได้ มนต์บทนี้ เป็นที่นิยมของชาวพุทธไทยเป็นอย่างมาก ใช้สวดในพิธีภาณยักษณ์ เป็นต้น
วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภู ตานุกัมปิโน
เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน
โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะวุสีมะโต
กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต
โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
เย จาปิ นิพพุตาโลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา
หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง ฯ
วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมันติ