คุณครู.คอม
.









Online: 38 user(s)

ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ 2541





kunkroo radio

ตรวจสอบแทรคไปรษณีย์ไทย

domain register Admin Only

ทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต

ตรวจสอบไอพี(IP check for locate)

..
     


    :  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม
หมวด: สาระจากพระพุทธศาสนา
ถือศีล ห้า ได้กุศลมากกว่าสร้างวิหารทาน จริงหรือ
04-01-2013 เข้าชมแล้ว: 8463

          

ชาวอินเดีย ตั้งแต่ก่อนพุทธกาล จนถึงครั้งพุทธกาลและหลังพุทธกาล มีคติความเชื่อสืบทอดกันมาว่า การบูชายัญเป็นกรณีย
กิจที่สำคัญและจำเป็นในชีวิต เพราะยัญเป็นของขลังของศักดิ์สิทธิ์ ถ้าทำถูกต้องตามหลักการจริง ๆ จะสามารถบังคับเทพเจ้าให้อำนวยผลที่ปรารถนาแก่ผู้บูชาได้จริง ๆ ไม่ใช่เป็นเพียงการประจบประแจงหรือการอ้อนวอนขอความเมตตาอย่างธรรมดาเท่านั้น และถ้าทำให้เคร่งครัด ยิ่ง ๆ ขึ้นไปจนถึงขั้นสูงสุดที่เรียกว่า มหายัญ
ที่มียัญสมบัติ ๓ องค์ประกอบ ๑๖ ก็สามารถบันดาลให้ผู้บูชาก้าวขึ้นสู่ฐานะเป็นเทพได้ด้วย จึงนิยมทำพิธีบูชายัญกัน มากขึ้น
และมีรูปแบบวิธีปฏิบัติหลากหลายขึ้นตามลำดับ เช่น เครื่องบูชายัญต้องประกอบด้วยเนื้อสัตว์ต่าง ๆ จึงต้องมีการฆ่าสัตว์จำนวนมาก ยิ่งมากและหลากหลาย ชนิดเท่าใดก็ยิ่งขลังและศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเท่านั้น๒ และมีบัญญัติทางศาสนาว่า การฆ่าสัตว์บูชายัญไม่บาปโดยทั่วไป การบูชายัญมีส่วนประกอบ ๓ อย่างคือ (๑) ผู้เป็นเจ้าของยัญ ที่เรียกว่า ผู้บูชา (๒) ผู้ประกอบพิธีให้ ที่เรียกว่า ผู้ทำพิธี (๓) เครื่องบูชายัญ ในการบูชามหายัญซึ่งต้องใช้เครื่องบูชามากและหลากหลายนั้น ผู้บูชาที่มีอำนาจทาง การเงินและการเมืองเท่านั้นจึงจะสามรถทำได้ ผู้ทำพิธีบูชายัญให้ถือว่ามีความ สำคัญมาก ต้องเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในพิธีกรรมต่าง ๆ อย่างถูกต้อง แม่นยำ จริง ๆ มิฉะนั้น ยัญนั้น ๆ จะไม่ขลังไม่ศักดิ์สิทธิ์ หน้าที่นี้จึงสงวนไว้สำหรับพวกพราหมณ์เท่านั้น ผู้ทำพิธีกรรมให้แก่ประชาชนทั่วไป ได้แก่ พราหมณาจารย์ ส่วน ผู้ทำพิธีกรรมให้แก่พระราชาหรือผู้ครองรัฐ ได้แก่ พราหมณ์ปุโรหิต ด้วยเหตุนี้ อำนาจของพราหมณ์จึงมากขึ้น ๆ จนกลายเป็นเทวดาบนดินไปด้วย เพราะเป็นผู้รู้ใจเทพเจ้าอย่างไรก็ดี มหายัญที่สมบูรณ์แบบ คือ ที่ประกอบด้วย ยัญสมบัติ ๓ ประการและองค์ประกอบอีก ๑๖ ประการ ซึ่งเชื่อถือกันว่า เป็นมหายัญยอดขลังและศักดิ์สิทธิ์นั้น เมื่อตกมาถึงสมัยพุทธกาลได้เลือนลางไปแล้ว พวกพราหมณาจารย์ พราหมณ์ปุโรหิต และพราหมณ์มหาศาลทั้งหลาย จึงไม่เคยพบไม่เคยเห็นคัมภีร์ที่ ว่าด้วยเรื่องนี้เลย ได้ยินแต่ชื่อและคำเล่าลือถึงสรรพคุณเท่านั้น แม้มีผู้ปรารถนาจะประกอบพิธีบูชามหายัญนี้กันมาก ก็ไม่มีผู้ใดทำให้ได้ แต่มีกิตติศัพท์ขจรไปในหมู่พราหมณ์ว่า พระสมณโคดมพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนี้ดี และนี้แหละเป็นที่มาของ กูฏทันตสูตร


 ความเป็นมาของ กูฏทันตสูตร

          ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปแวะพักในสวนอัมพลัฏฐิกา ใกล้หมู่บ้านพราหมณ์ชื่อขาณุมัต แคว้นมคธ หมู่บ้านนี้ พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานเป็นพรหมไทย ให้กูฏทันตพราหมณ์ปกครอง ขณะที่พระผู้มีพระภาคประทับที่หมู่บ้านนั้น กูฏทันตพราหมณ์กำลังเตรียมการจัดทำพิธีบูชายัญที่มียัญสมบัติ ๓ ประการ มีองค์ประกอบ ๑๖ ประการ เพื่อความสุขความเจริญของตนเองและประชาชนใน หมู่บ้านของเขา โดยได้เตรียมสัตว์ไว้ฆ่าบูชายัญ จำนวน ๓,๕๐๐ ตัว คือ "วัวเพศผู้ ลูกวัวเพศผู้ ลูกวัวเพศเมีย แพะ และแกะ อย่างละ ๗๐๐ ตัว แต่เนื่องจากตนไม่ทราบว่าจะทำพิธีนี้อย่างไรแน่ ทราบแต่ว่าพระผู้มีพระภาคทรงทราบดี ฉะนั้น เมื่อทราบจากพวกพราหมณ์ทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จมาประทับอยู่ที่สวนอัมพลัฏฐิกาแล้ว จึงได้ออกไปเฝ้าทูลถามวิธีประกอบพิธีบูชามหายัญดังกล่าวพระพุทธเจ้าทรงเล่าเรื่องพิธีมหาบูชายัญของพระเจ้ามหาวิชิตราช          พระผู้มีพระภาคตรัสตอบกูฏทันตพราหมณ์ โดยทรงนำพิธีมหาบูชายัญของพระเจ้ามหาวิชิตราชในอดีตกาล มาตรัสเล่าให้ฟัง ดังมีใจความต่อไปนี้
เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้ามหาวิชิตราชมีพระราชทรัพย์มหาศาล ทรงมี พืชพันธุ์ธัญญาหารเต็มท้องพระคลัง ทรงทำสงคราม
ได้ชัยชนะจนได้ครองดินแดนกว้างใหญ่ไพศาล วันหนึ่ง ทรงประสงค์จะทำพิธีบูชามหายัญเพื่อความสุขสวัสดีแก่พระองค์เองสืบต่อไปชั่วกาลนาน จึงทรงปรึกษากับพราหมณ์ปุโรหิตว่าจะทำอย่างไร พราหมณ์ปุโรหิตจึงกราบทูลแนะนำให้ทรงทำเป็นขั้น ๆ ดังนี้
          ขั้นที่ ๑ ให้ทรงปราบโจรผู้ร้ายแบบถอนรากถอนโคน เพื่อมิให้กลับมา เป็นเสี้ยนหนามเบียดเบียนประชาราษฎร์ต่อไป
อีก โดยกราบทูลถวายวิธีการปราบโจร ๓ วิธี คือ
             ๑. ให้พระราชทานพันธุ์พืชและอาหารแก่เกษตรกรผู้ขยันในการทำเกษตร
             ๒. ให้พระราชทานต้นทุนแก่ราษฎรผู้ขยันในการค้าขาย
             ๓.ให้พระราชทานอาหารและเงินเดือนแก่ข้าราชการผู้ขยันทำงานในหน้าที่ราชการเมื่อพระเจ้ามหาวิชิตราชทรงปฏิบัติตาม
คำแนะนำนี้โดยเคร่งครัด ก็ปรากฏว่าได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง คือพระราชทรัพย์เพิ่มพูนมากขึ้น ๆ บ้านเมืองไม่มีโจรผู้ร้าย บ้าน
เรือนไม่ต้องปิดประตู อาณาประชาราษฎร์อยู่เย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า
          ขั้นที่ ๒ ให้มีรับสั่งถึงบุคคลในพระราชอาณาเขต ๔ พวก คือ (๑) พวกเจ้าผู้ครองเมืองต่าง ๆ ที่ขึ้นกับพระเจ้ามหา
วิชิตราช (๒) พวกอำมาตย์ราชบริพารผู้ใหญ่ (๓) พวกพราหมณ์มหาศาล (พราหมณ์ผู้มีทรัพย์มาก) (๔) พวกคหบดีมหาศาล (คหบดีผู้มีทรัพย์มาก) เพื่อขอให้บุคคลเหล่านั้นรับทราบการพระราชพิธีบูชามหายัญ และขอความเห็นชอบด้วย ซึ่งปรากฏว่าบุคคลเหล่านั้นได้ตอบรับรองด้วยดี คำรับรองนี้เรียกว่า อนุมัติ ๔ (จากบุคคล ๔ พวก) ถือเป็นองค์ประกอบ ๔ ประการ ใน

องค์ประกอบทั้งหมด ๑๖ ประการ
          ขั้นที่ ๓ ให้ทรงตรวจหาคุณสมบัติ ๘ ประการของเจ้าของพิธีบูชามหายัญ คือ พระเจ้ามหาวิชิตราชเอง และคุณสมบัติ
๔ ประการของผู้ทำพิธี คือพราหมณ์ปุโรหิต ปรากฏว่าทั้งพระเจ้ามหาวิชิตราชและพราหมณ์ปุโรหิตมีคุณสมบัติครบถ้วนตามตำรา
พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ ประการ คือ
             ๑. ทรงมีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระชนกและฝ่ายพระชนนี ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะ
คัดค้านตำหนิได้ เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
             ๒. มีรูปงดงามน่าดูน่าเลื่อมใส มีพระฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนักดุจพรหม มีพระวรกายดุจพรหม โอกาสที่จะได้พบเห็นยากนัก
             ๓. ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีพืชพันธุ์ธัญญาหารเต็มท้องพระคลัง
             ๔. ทรงมีกองทหารที่เข้มแข็ง ประกอบด้วยกองทัพ ๔ เหล่า อยู่ในระเบียบวินัย คอยรับพระบัญชา มีพระบรมเด
ชานุภาพดังจะเผาผลาญข้าศึกได้ด้วยพระราชอิสริยยศ
             ๕. ทรงมีศรัทธา ทรงเป็นทายก ทรงเป็นทานบดี มิได้ทรงปิดประตู ทรงเป็นดุจโรงทานของสมณพราหมณ์ คน
กำพร้า คนเดินทาง
วณิพก และยาจก ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอยู่เนือง ๆ
             ๖. ทรงรู้เรื่องราวที่ได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมานั้น ๆ ไว้มาก
             ๗. ทรงทราบความหมายแห่งภาษิตที่ได้ทรงศึกษานั้นว่า นี้คือจุด
มุ่งหมายแห่งภาษิตนี้ ๆ
             ๘. ทรงเป็นบัณฑิต มีพระปรีชาสามารถดำริเรื่องราวในอดีต อนาคต และปัจจุบันได้
พราหมณ์ปุโรหิตประกอบด้วยคุณสมบัติ ๔ ประการ คือ
               ๑. เป็นผู้มีชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา ถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอดเจ็ดชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัด
ค้านตำหนิได้ เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
               ๒. เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงจำมันตระ (บทสวด)รู้จบไตรเทพ พร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ (ว่าด้วยอภิธานศัพท์ในพระ
เวท) เกฏุภศาสตร์ (ว่าด้วยกฎการใช้ถ้อยคำในพิธีกรรม) อักษรศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เข้าใจตัวบทและไวยากรณ์ ชำนาญโลกายตศาสตร์ (ว่าด้วยวาทศิลป์) และศาสตร์ว่าด้วยลักษณะมหาบุรุษ
               ๓. เป็นผู้มีศีล มีศีลที่เจริญ ประกอบด้วยศีลที่เจริญ
               ๔. เป็นบัณฑิต มีปัญญาเฉียบแหลมลำดับที่ ๑ หรือที่ ๒ ในบรรดาพราหมณ์ผู้รับการบูชาจึงเป็นอันได้องค์ประกอบของมหายัญครบทั้ง ๑๖ ประการ (อนุมัติ ๔ คุณสมบัติของพระเจ้ามหาวิชิตราช ๘ และของ
พราหมณ์ปุโรหิต ๔) จากนั้นพราหมณ์ปุโรหิต ได้กราบทูลอธิบายเหตุผลให้ทรงสบายพระทัยว่า ผู้เป็นเจ้าของ พิธีบูชามหายัญที่มีองค์ประกอบครบ ๑๖ ประการอย่างนี้จะไม่มีผู้ใดครหานินทาได้ในภายหลัง
          ขั้นที่ ๔ ให้ทรงวางพระทัยในการบูชามหายัญทั้ง ๓ กาล คือ (๑) ก่อนการบูชา ต้องไม่ทรงเดือดร้อนพระทัยว่า กอง
โภคสมบัติอันยิ่งใหญ่ของเราจักสิ้นเปลืองไป (๒) ขณะทำการบูชา ต้องไม่ทรงเดือดร้อนพระทัยว่า กองโภคสมบัติอันยิ่งใหญ่ของเรากำลังสิ้นเปลืองไป (๓) หลังบูชาแล้ว ต้องไม่ทรงเดือดร้อนพระทัยว่า กองโภคสมบัติอันยิ่งใหญ่ของเราได้สิ้นเปลืองไปแล้ว ทั้ง ๓ ประการนี้เรียกว่า ยัญสมบัติ คือคุณสมบัติของมหายัญ ๓ ประการ
          ขั้นที่ ๕ ให้ทรงวางพระทัยในผู้มารับทาน ซึ่งจะมีทั้งคนดีและคนไม่ดีปะปนกัน โดยให้ทรงตั้งพระทัยว่า จะทรง
เจาะจงให้แก่ผู้ที่งดเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ เท่านั้น
          ขั้นที่ ๖ ในการทำพิธีบูชายัญนั้น จะต้องไม่มีการฆ่าวัว แพะ แกะ ไก่ สุกร และสัตว์นานาชนิด จะต้องไม่มีการตัด
หญ้าคา พวกทาสกรรมกรของพระเจ้ามหา วิชิตราชก็ไม่ต้องถูกบังคับให้ทำสิ่งที่ตนไม่ต้องการ สิ่งที่ต้องใช้ในพิธีมีเพียงเนยใส น้ำมัน เนยข้น นมเปรี้ยว น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเท่านั้น
เมื่อพระเจ้ามหาวิชิตราชทรงเตรียมการเสร็จตามขั้นตอนนั้นแล้ว พวกเจ้าผู้ครองเมือง พวกอำมาตย์ พวกพราหมณ์มหาศาล
และพวกคหบดีมหาศาลได้นำทรัพย์พวกละจำนวนมากมาถวายร่วมในพิธีนั้น แต่พระเจ้ามหาวิชิตราชไม่ทรงรับ กลับพระราชทานพระราชทรัพย์ให้แก่บุคคลเหล่านั้นอีกด้วย ทั้งนี้ ทรงให้เหตุผลว่า พระราชทรัพย์ของพระองค์มาจากภาษีอากรที่ชอบธรรมของราษฎรนั่นเอง บุคคล ทั้ง ๔ พวกจึงได้จัดตั้งโรงทานขึ้นในทิศทั้ง ๔ ของหลุมยัญ คือ พวกเจ้าผู้ครองเมืองตั้งโรงทานในทิศตะวันออก พวกอำมาตย์ในทิศใต้ พวกพราหมณ์มหาศาลในทิศ ตะวันตก และพวกคหบดีในทิศเหนือ แล้วทำการแจกทานไปพร้อม ๆ กับพระเจ้ามหาวิชิตราช

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเล่าจบ พราหมณ์ทั้งหลายในที่ประชุมนั้นพากัน ส่งเสียงแซ่ซ้องสรรเสริญ ส่วนกูฏทันตพราหมณ์นั่ง
นิ่งงงงัน จนพวกพราหมณ์ ซักถามว่า ทำไมไม่แสดงความยินดี กูฏทันตพราหมณ์ตอบว่า ทำไมจะไม่ยินดี ใครไม่ชื่นชมยินดีศีรษะแตกแน่ ๆ แต่กำลังงง ไม่ทราบว่า ทรงทราบเรื่องนี้ได้อย่างไร เพราะไม่ทรงใช้คำว่า "เราได้สดับมาอย่างนี้" หรือ "เรื่องนี้ควรเป็นอย่างนี้" แต่ทรงใช้ว่า "เรื่องเคยมีมาแล้ว" จึงทูลถามพระผู้มีพระภาค ก็ได้รับคำตอบว่า พระองค์ คือพราหมณ์ปุโรหิตผู้อำนวยการบูชามหายัญนั้น และทรงยืนยันว่า การบูชามหายัญครั้งนั้นทำให้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ได้จริง ๆ

พราหมณ์กูฏทันตะทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ มีอยู่หรือ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ มีอยู่
พราหมณ์กูฏทันตะทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ เป็นไฉน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  นิตยทาน ใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่ามีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้.

พราหมณ์กูฏทันตะทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยให้นิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญนั้นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร
๑๖ นี้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ว่า มีการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง จับไสคอกันบ้างฉะนั้น พระอรหันต์ก็ดี ท่านที่บรรลุอรหัตมัคก็ดี ย่อมไม่เข้าไปสู่ยัญเช่นนั้น ดูกรพราหมณ์ ส่วนนิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญอย่างใดอย่างหนึ่งที่บุคคลถวายเจาะจงพวกบรรพชิตผู้มีศีล พระอรหันต์ก็ดี ท่านที่บรรลุอรหัตมัคก็ดี ย่อมเข้าไปสู่ยัญเช่นนั้นโดยแท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไรเพราะในยัญนั้น ไม่ปรากฏว่ามีการประหารด้วยท่อนไม้ การจับไสคอกันเลย ฉะนั้น พระอรหันต์ก็ดี ท่านที่บรรลุอรหัตมัคก็ดี ย่อมเข้าไปสู่ยัญเช่นนั้น
.

ภาพถวายของใช้ประจำ แด่พระภิกษุ (นิตยทาน)

กูฏทันตพราหมณ์ทูลถามว่า
 ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า
กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้และกว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญนี้ ยังมีอยู่หรือ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า 
ดูกรพราหมณ์ ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญ
สมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ และกว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญนี้ มีอยู่.กูฏทันตพราหมณ์ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญนั้นเป็นไฉน

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรพราหมณ์ ยัญของบุคคลที่สร้างวิหารอุทิศพระสงฆ์ผู้มาแต่ทิศทั้ง ๔ นี้แหละเป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระ
เตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ และกว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญนี้

    
กูฏทันตพราหมณ์ทูลถามว่า  ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ และกว่าวิหารทานนี้ยังมีอยู่หรือ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีอยู่ พราหมณ์.
กูฏทันตพราหมณ์ทูลถามว่า  ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญนั้นเป็นไฉน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ยัญของบุคคลที่มีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ ดูกร
พราหมณ์ นี้แหละเป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่าและมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ กว่า นิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ และกว่าวิหารทานนี้.

 



กูฏทันตพราหมณ์ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติ ทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ กว่าวิหารทานและกว่าสรณคมน์เหล่านี้ยังมีอยู่หรือ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  มีอยู่ พราหมณ์.
กูฏทันตพราหมณ์ทูลถามว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญนั้นเป็นไฉน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  ดูกรพราหมณ์ การที่บุคคลเป็นผู้มีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบททั้งหลาย คือ งดเว้นจาก
ปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร งดเว้นจากมุสาวาท งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท
ดูกรพราหมณ์ นี้แหละเป็นยัญซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่าและมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ กว่าวิหารทาน และกว่าสรณคมน์นี้.

กูฏทันตพราหมณ์ทูลถามว่า
 ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้กว่านิตยทาน อันเป็นอนุกูลยัญ กว่าวิหารทาน กว่าสรณคมน์ และกว่าสิกขาบทเหล่านียังมีอยู่หรือ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ยังมีอยู่ พราหมณ์ ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ กว่าวิหารทาน กว่าสรณคมน์ และกว่าสิกขาบทเหล่านี้.

กูฏทันตพราหมณ์ทูลถามว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่าและมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า กว่ายัญสมบัติทั้ง ๓ ประการ ซึ่งมีบริวาร ๑๖ นี้ กว่านิตยทานอันเป็นอนุกูลยัญ กว่าวิหารทาน กว่าสรณคมน์ และกว่าสิกขาบทเหล่านี้เป็นไฉน

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรมพระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้วได้ศรัทธาในพระตถาคตมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่าฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ให้บริบูรณ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัดไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังในพระปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรมวจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีลคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.

 

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล

๑. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะวางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ข้อนี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๒. เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๓. เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกลเว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๔. เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๕. เธอละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้นเพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวคำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๖. เธอละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รักจับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๗. เธอละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถพูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๘. เธอเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม.
๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล.
๑๐. เธอเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล.
๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.
๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.
๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.
๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.
๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.
๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.
๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.
๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้.
๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย.
๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.
๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.
๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(นี่คือ  จูฬศีล  หรือจุลศีล)

มัชฌิมศีล
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
๑. ภิกษุผู้เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคาม เห็นปานนี้คือ พืชเกิดแต่เง่า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ดเป็นที่ครบห้าแม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๒. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้เห็นปานนี้ คือ สะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมเครื่องประเทืองผิว สะสมของหอม สะสมอามิส แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๓. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์
ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมมหรสพมีการรำเป็นต้น การเล่านิยายการเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม การเล่นของคนจัณฑาล การเล่นไม้สูง การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะชนไก่ รบนกกระทา รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล การจัด
กระบวนทัพ กองทัพ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๔. ภิกษุเว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้วยังขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนี้ คือ เล่นหมากรุกแถวละแปดตา แถวละสิบตาเล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสะกาเล่นเป่าใบไม้ เล่นไถน้อยๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆเล่นธนูน้อยๆ เล่นเขียนทายกัน เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๕. ภิกษุเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่เห็นปานนี้ คือ เตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาวเครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะมีสีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะ วิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้าย มีสีหะและเสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คนเครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะอันมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้างแม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๖. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตบแต่งร่างกาย อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัวเช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบการประดับการตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัวเห็นปานนี้ คือ อบตัวไคลอวัยวะ อาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้ ประเทืองผิว ผัดหน้า ทาปากประดับข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้ขรรค์ ใช้ร่ม สวมรองเท้าประดับวิจิตร ติดกรอบหน้า ปักปิ่น ใช้พัดวาลวิชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชาย แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.



ภาพอ้างอิงจาก www.surinnews.com/topic_n.php


๗. ภิกษุเว้นขาดจากติรัจฉานกถา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบติรัจฉานกถาเห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชาเรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้าเรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนครเรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆแม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๘. ภิกษุเว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกันเห็นปานนี้เช่นว่าท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
๙. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการใช้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ






หมวด: สาระจากพระพุทธศาสนา
»บุญข้าวประดับดิน เรียกอีกอย่างว่าเปรตพลี แปลว่าอุทิศให้เปรต วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9
06-09-2021
»อำนาจบุญบวช สวดมนต์ไหว้พระ ทำสมาธิ เดินจงกรม
14-02-2021
»ชาติหน้ามีจริงไหม
26-01-2021
»บัญชีบุญ-บัญชีบาป
24-01-2021
»ถ้าไม่ใช่กรรมที่เราทำมา เราก็จะไม่ได้รับกรรมนั้น
26-01-2021
»คำยืนยันจากหลวงปู่มั่นว่า "พระแก้วมรกต เลือกประเทศไทย" ด้วยเหตุผล 3 ข้อ
24-01-2021
»มนุษย์อยากเป็นเทวดา แต่ เทวดากลับอยากเป็นมนุษย์
11-03-2018
»ทุกข์ทรมารมากกว่าจะได้เกิดเป็นคน
10-03-2018
»อันตรธาน 5
28-02-2018
»มาฆบูชา
28-02-2018
»การไปแสวงบุญที่พุทธสังเวชนียสถาน 4 แห่ง ได้ไปสวรรค์
10-02-2018
»กรรม 12 ประเภท
10-02-2018
»นาค พญานาค เป็นสัตว์เดรัจฉาน
10-02-2018
»นักแสดง ตายแล้วไปเกิดในนรก หรือกำเนิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน
10-02-2018
»คำว่า อนุโมทนา กับ โมทนา ต่างกันอย่างไร
20-12-2017
»เหตุใดวัดพระแก้วจึงไม่มีพระสงฆ์อยู่
26-10-2017
»ทำไมต้องทำบุญ
05-07-2017
»เจ้าชายสิทธัตถะประสูติแล้ว ดำเนินได้ ๗ ก้าวจริงหรือ
31-05-2017
»เรื่องพระสารีบุตรตอนจะเข้าสู่พระนิพพาน
23-02-2016
»แผนที่ธรรม แสดง 31 ภพ
23-02-2016
»สี่คนหาม สามคนแห่ หนึ่งคนนั่งแคร่ สองคนพาไป คืออะไร
07-12-2015
»"วันนี้วันพระ" วันพระมีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร
18-11-2015
»ติรัจฉานวิชา (ว่าด้วยสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่กระทำ)
07-08-2014
»มหาสุทัสสนสูตร : ข้อเตือนใจคนโลภ
29-07-2014
»อานาปานสติ
09-04-2014
»บัว 4 เหล่า
16-01-2018
»คติ และคติภพ คืออะไรและต่างกันอย่างไร
13-12-2014
»พระเกศา_พระโลหิต'_พระสังฆราชกลายเป็นพระธาตุ
13-12-2014
»สวรรค์ 6 ชั้น
19-01-2021
»พระคาถาธารณปริตร
02-10-2013
»หลวงพ่อชาตอบปัญหาธรรม
17-07-2013
»วันมาฆบูชา
11-02-2014
»พุทธชยันตี
10-01-2013
»พระธรรมเทศนาจากหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
05-01-2013
»ช้างปาเลไลยก์
17-01-2013
»พระกุมารกัสสปะ
05-01-2013
»นางจิญจมาณวิกา นางอมิตตา กลับชาติมาเกิด
05-01-2013
»นางวิสาขา มหาอุบาสิกา
03-04-2016
»นางสิริมา หญิงโสเภณีผู้บรรลุโสดาบัน
05-01-2013
»เอาเงินใส่บาตรพระบาปไหม ที่นี่มีคำตอบ
03-04-2016
»โครงการภาพยนตร์ พุทธศาสดา ชาวพุทธควรชมอย่างยิ่ง
05-01-2013
»ไฟล์เสียงวิธีนั่งสมาธิตอนที่1-5 โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
05-01-2013
»พระสุปฏิปฏิปัณโณ หรือพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
04-01-2013
»พระไตรปิฏก ตอนที่ 1(เข้าใจง่าย)
04-01-2013
»พระบรมครู คู่มือครู
16-01-2018
»อนุบุพพิกถา
04-01-2013
»ตักบาตรเทโวโรหนะ
04-01-2013
»คุณหมอผู้สนใจธรรมะ "ธรรมะคือลมหายใจ"
04-01-2013
»พระเจ้าพิมพิสาร
04-01-2013
»พระอานนท์
04-01-2013
»พระมหาโมคคัลลานะ
04-01-2013
»เรื่องเทวดา
04-01-2013
»ถือศีล ห้า ได้กุศลมากกว่าสร้างวิหารทาน จริงหรือ
04-01-2013
»เงื่อนไขการทำบุญให้ทาน
04-01-2013
»การทำบุญด้วยศรัทธา
04-01-2013
»บุญจากการอนุโมทนา
04-01-2013
»พระฉันนนะผู้ว่ายากสอนยาก
04-01-2013
»นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระพุทธเจ้า
04-01-2013
»เกิดใหม่กลัวบาป อุทาหรณ์ การทำบาป
04-01-2013
»พระภัททากัจจานาเถรี
04-01-2013
»นิทานธรรมบท เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก
04-01-2013
»เมื่อใด บาปให้ผล เมื่อนั้น คนพาล ย่อมประสบทุกข์
04-01-2013
»เมื่อพญานาคอยากเป็นมนุษย์
04-01-2013
»เหตุใดเทวดาจุติ(ตาย)แล้วจึงอยากเกิดเป็นมนุษย์
04-01-2013
»ผลของกรรม
04-01-2013
 
หน้าแรก  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม


คุณครู.คอม ขอแสดงเจตนาว่าทุกข้อความใน เว็บไซต์นี้ให้คัดลอกได้
ไม่จำกัด เพื่อเป็นวิทยาทาน เพื่อการศึกษาเท่านั้น . .

email  [email protected]


kkwebv56   Copyright©2023 kunkroo.com
Development from SMEweb 1.5f By คุณครู.คอม