คุณครู.คอม
.









Online: 27 user(s)

ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ 2541





kunkroo radio

ตรวจสอบแทรคไปรษณีย์ไทย

domain register Admin Only

ทดสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต

ตรวจสอบไอพี(IP check for locate)

..
     


    :  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม
หมวด: สาระจากพระพุทธศาสนา
พระเจ้าพิมพิสาร
04-01-2013 เข้าชมแล้ว: 48871

  พระเจ้าพิมพิสาร เป็นพระราชาแห่งแคว้นมคธ ซึ่งเป็นแคว้นที่ใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดแคว้นหนึ่งในสมัยพุทธกาล  มีเมืองหลวงชื่อราชคฤห์  พระองค์ได้ครองราชย์สมบัติอยู่เป็นเวลา 52  ปี
            พระเจ้าพิมพิสารมีอัครมเหสีพระนามว่าเวเทหิ ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ามหาโกศลแห่งแค้วนโกศล  มีพระราชโอรสซึ่งประสูติจากพระนางเวเทหิ  1  พระองค์  มีนามว่า  อชาตศัตรู
            พระเจ้าพิมพิสาร ทรงมีความสัมพันธ์กับพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่ต้น กล่าวกันว่าพระองค์เป็นพระสหายกับพระพุทธเจ้าสมัยที่ยังทรงเป็นพระกุมาร ด้วยพระเจ้าสุทโธทนะทรงมีความสนิทสนมกับพระบิดาของพระเจ้าพิมพิสาร
ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าพิมพิสารกับพระพุทธเจ้า
            เพื่อความสะดวกในการกำหนด  อาจแบ่งระยะของความสัมพันธ์ออกเป็น  2  ตอน  คือ
           ความสัมพันธ์ก่อนกาลตรัสรู้  พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงพบพระพุทธเจ้าครั้งแรกในสมัยมที่พระมหาบุรุษเสด็จออกบรรพชา  เสด็จมาพักที่เชิงเขาปัณฑวะ  แคว้นมคธ  ในสมัยนั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงเป็นมหาอุปราชยังมิได้ราชาภิเษก พระองค์ทรงพอพระทัยในบุคลิกลักษณะของพระมหาบุรุษมาก  จึงทูลเชิญให้ครองราชย์สมบัติครึ่งหนึ่งแห่งแคว้นมคธ  แต่พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธและตรัสบอกถึงความตั้งพระทัยของพระองค์ที่จะออกผนวชเพื่อแสวงหาอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ  พระเจ้าพิมพิสารทรงแสดงความยินดีด้วย และทูลขอต่อพระมหาบุรุษว่า  เมื่อได้ตรัสรู้แล้วขอให้เสด็จกลับมาโปรดพระองค์ด้วย

พระเจ้าพิมพิสารได้ทราบครามที่ชาวเมืองต่างโจษจันกันถึงเรื่องนักบวชหนุ่มผู้ทรงความ
สง่างามผิดจากนักบวชอื่นๆ   เข้ามาในเมือง   จึงทรงสั่งเจ้าพนักงานไปสืบความดู   หนังสือปฐมสมโพธิ
เรียบเรียงพระดำรัสสั่งของพระเจ้าพิมพิสารตอนนี้ไว้ว่า

 "ท่านจงสะกดตามบทจรไปดู    ให้รู้ตระหนักแน่      แม้เป็นเทพยดาก็จะเหาะไปในอากาศ 
ผิวะเป็นพญานาคก็ชำแรกปฐพีไปเป็นแท้  แม้ว่าเป็นมนุษย์  ก็จะไปนั่งบริโภคภัตตาหารโดยควรประมาณ
แก่ตนได้  จงไปพิจารณาดูให้รู้เหตุประจักษ์"

 ฝ่ายมหาบุรุษเมื่อทรงรับอาหารบิณฑบาตพอควรจากชาวเมืองแล้ว  ก็เสด็จออกจากเมืองไป
ที่เงื้อมภูเขานอกเมืองแห่งหนึ่ง  แล้วทรงตั้งสติพิจารณาปรารภที่จะเสวยอาหารที่ทรงได้มาจากการเสด็จ
บิณฑบาต  อาหารที่ว่าเป็นจำพวกที่เรียกว่า  'มิสกภัตร'  คือ  อาหารที่คละระคนปนกันทุกชนิด   ทั้งดีและ
เลว  ทั้งน้ำและแห้ง  ทั้งคาวและหวาน

 พระมหาบุรุษทรงเห็นแล้วทรงเกิดพระอาการอย่างหนึ่ง        ซึ่งปฐมสมโพธิพรรณาไว้ว่า 
"ปานประหนึ่งลำไส้ใหญ่จะกลับออกทางพระโอษฐ์   เหตุพระองค์เคยเสวยประณีตโภชนาหาร  ปานประ
ดุจ  ทิพย์สุธาโภชน์..."  แต่ทรงข่มพระทัยด้วยคุณธรรมของนักบวชเสียได้  จึงเสวยอาหารนั้นอย่างปกติ

 พระเจ้าพิมพิสารกับพระมหาบุรุษทรงเป็น  'อทิฏฐสหาย'  กัน  แปลว่า  ทรงเป็นพระสหาย
ที่เคยแต่ได้ยินพระนามกันมาก่อน   แต่ไม่เคยเห็นกันและกัน   เมื่อทรงทราบเรื่องจากเจ้าพนักงานกราบทูล
ให้ทรงทราบแล้ว   พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จไปเฝ้าพระมหาบุรุษ   ทรงทราบว่าเป็นเจ้าชายจากศากยสกุล 
จึงตรัสเชิญพระมหาบุรุษให้เสด็จอยู่ครองเมืองด้วยกัน      พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธและทรงแจ้งถึงความ
แน่วแน่ในพระทัยที่จะแสวงหาความตรัสรู้ 

 พระเจ้าพิมพิสารจึงตรัสขอปฏิญาณว่า  ถ้าได้ตรัสรู้แล้วขอให้เสด็จมาโปรด  พระมหาบุรุษ
ทรงรับปฏิญาณนั้น




             ความสัมพันธ์หลังกาลตรัสรู้ พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสร้างวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาและกรุงราชคฤห์เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดเป็นที่ประดิษฐานพุทธศาสนาเป็นแห่งแรก กล่าวคือ  เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว  ทรงเริ่มประกาศพระศาสนาและได้สาวกมากพอสมควรแล้ว  เช่น ชฎิล 3  พี่น้องพร้อมทั้งบริวารเป็นต้น  พระองค์ได้เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์พร้อมด้วยภิกษุชฎิลเหล่านั้น เพื่อโปรดพระเจ้า พิมพิสาร  ที่สวนตาลหนุ่ม
ครั้นนายอุทยานบาลได้เห็นพระบรมศาสดา พร้อมด้วยพระขีนาสพ ๑,๐๐๐ เป็นบริวาร ก็มีใจชื่นบานเลื่อมใส รีบนำเรื่องเข้าไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงทราบแล้ว ก็ทรงโสมนัสเสด็จออกจากพระนคร พร้อมด้วยพราหมณ์และคหบดี ๑๒ หมื่นเป็นราชบริพาร เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังลัฏฐิวันสถาน ถวายความเคารพในพระรัตนตรัยด้วยพระราชศรัทธา


     ครั้งนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสารพร้อมทั้งข้าราชการและประชาชนจำนวนมากได้บรรลุโสดาปัตติผล ประกาศพระองค์เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนาและได้ถวายพระราชอุทยานเวฬุวันให้เป็นวัดที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์  ดังนั้น วัดเวฬุวันจึงเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา

  

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

            1.  ทรงมีน้ำพระทัยกว้างขวางเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม  ดังจะเห็นได้ในกรณีที่ทรงเชิญให้พะรมหาบุรุษรับราชสมบัติในแคว้นมคธ  โดยมิได้ทรงหวงแหนหรือตระหนี่  และทรงยินดีมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรส  ในเมื่อพระราชโอรสปรารถนาโดยมิให้ต้องมีเหตุร้ายเนื่องจากการแย่งราชสมบัติ
            2.   ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยพระศรัทธาอย่างแท้จริง ทรงถวายวัดแห่งแรก  ทรงนำข้าราชการและประชาชนเข้าถึงพระรัตนตรัย  ทรงช่วยให้กรุงราชคฤห์ที่พระองค์ทรงปกครอง  ได้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาเป็นแห่งแรก กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง  เพราะอาศัยพระบรมราชูปถัมภ์ของพระองค์เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่ง
            3.  ทรงเอาพระทัยใส่ในความเสื่อมความเจริญของพระศาสนา  ทรงทำหน้าที่ของอุบาสกที่ดี  หาทางส่งเสริมสนับสนุนพระพุทธศาสนาให้มั่นคงและเจริญก้าวหน้าอยู่เสมอ  เช่นครั้งหนึ่ง  พระองค์ทรงพระราชดำริถึงการที่พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์  ได้ประชุมกันแสดงธรรมในวัน  14  ค่ำ  8  ค่ำ  แห่งปักษ์  มีประชาชนสนใจและเลื่อมใสไปฟังธรรมมาก  ทรงเห็นว่าเป็นวิธีการที่ดีอย่างหนึ่ง  ทรงมีพระประสงค์จะให้มีการปฏิบัติอย่างนั้นบ้างในพระพุทธศาสนา จึงทรงนำความขึ้นกราบทูลให้ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ประชุมกันในวันเช่นนั้นบ้าง  เป็นเหตุให้เกิด  วันธรรมสวนะ  แต่บัดนั้นมา
            4.  ทรงเคารพในพระสงฆ์มาก  จะเห็นได้จากครั้งหนึ่งพระองค์มีพระราชประสงค์จะทรงสรงสนานน้ำร้อนในบ่อน้ำร้อน  ตโปทา  ขณะเสด็จไปถึง  ทอดพระเนตรเห็นพระภิกษุกำลังสรงน้ำอยู่มากมาย  ทรงให้พระภิกษุสรงน้ำเสร็จก่อนพระองค์จึงทรงลงสรง  บังเอิญค่ำมืด  ประตูนครปิดพอดี  ไม่สามารถเสด็จเข้าเมืองได้  จึงเสด็จไปประทับค้างคืนที่พระเวฬุวัน  พระพุทธเจ้าทรงปรารภเหตุนี้  จึงทรงบัญญัติให้พระสาวกสรงน้ำในบ่อน้ำร้อนตโปทา  15  วันต่อครั้ง


            นอกจากนี้ พระเจ้าพิมพิสารยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาด้วยประการต่างๆ เป็นอันมาก เช่น ได้พระราชทานหมอชีวกโกมารภัจ ซึ่งเป็นแพทย์ประจำราชสำนักให้เป็นหมอประจำองค์พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์  เป็นต้น
         เปรต : ญาติพระเจ้าพิมพิสาร

ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทับอยู่ที่เวฬุวันมหาวิหาร ณ กรุงราชคฤห์

ทรงปรารถถึงบุตรเศรษฐีผู้ตายไปเป็นเปรต ให้เป็นต้นเหตุ มีความว่า ณ กรุงราชคฤห์ มีเศรษฐีผู้หนึ่งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีบริวารมากจนได้นามว่า มหาธนเศรษฐี เหตุเพราะเป็นผู้มีทรัพย์มาก

มหาธนเศรษฐี มีบุตรชายอยู่คนเดียว จึงเป็นที่รักใคร่ของเศรษฐีและภรรยาเป็นอันมาก ทั้งสองเฝ้าถนอมเกลาเกลี้ยงเลี้ยงดูบุตรชายชนิดที่ยุงมิให้แตะ ริ้นมิให้ไต่ ไรมิให้ตอม เท้ามิให้แตะพื้น ธุลีมิให้เปรอะเปื้อน มลทินใดๆ มิให้มากล้ำกรายแตะต้อง ให้บุตรต้องมามัวหมอง

ครั้นบุตรชายเศรษฐีนั้นเจริญวัย บิดามารดา ก็มาคิดว่า เราทั้งสองมีทรัพย์สินมากมายมหาศาล ถึงลูกเราจะหยิบฉวยเอาไปใช้สักวันละพันกหาปณะ (๑ กหาปณะเท่ากับ ๔ บาท) สิ้นเวลาไปสักร้อยปี ทรัพย์ของเราก็ยังไม่รู้จักหมด แล้วประโยชน์อันใดเล่าที่เราจะเสือกไสให้บุตรของเราต้องไปศึกษาเล่าเรียน ให้ได้รับความยากลำบากสองสามีภรรยาผู้เป็นเศรษฐี คิดดังนี้แล้ว ก็มิได้ส่งบุตรชายตนไปศึกษาหาความรู้ ด้วยคิดว่าไปศึกษาวิชาก็เพื่อจะนำมาแสวงหาทรัพย์ แต่เวลานี้ทรัพย์เรามีมากมายจนใช้ไม่หมด แล้วจะยังไปแสวงหาอีกทำไม สุดท้ายก็มิได้ส่งบุตรชายไปเรียนวิชาความรู้ใด ได้แต่ปล่อยให้บุตรชายตนเที่ยวเล่นซุกซนไปตามประสาเด็กครั้งเมื่อบุตรของผู้เป็นเศรษฐีเติบโตเป็นหนุ่ม บิดามารดาก็ไปขอกุมารี ผู้เป็นบุตรสาวของพราหมณ์มหาศาล ผู้เจริญด้วยชาติตระกูล มีรูปโฉมสะคราญตา เพียบพร้อมไปด้วยจริตกิริยามารยาท แต่ขาดธรรมบุตรชายเศรษฐีนั้น ได้อยู่กินร่วมกับกุมารีนั้น ต่างฝ่ายต่างก็พากันมัวเมาต่อกามคุณทั้ง ๕ มี รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสเป็นต้นทั้งสองมิเคยรักษาศีลบริจาคทานบำเพ็ญภาวนาเลย อีกทั้งยังตั้งข้อรังเกียจต่อสมณะชีพราหมณ์ทั้งปวง ต่างพากันใช้จ่ายทรัพย์ที่มีเพื่อบำรุง บำเรอ ตนแต่ถ่ายเดียว มิเคยเหลียวดูความทุกข์ยากของเพื่อมนุษย์ แถมยังดูถูกเหยียดหยามต่างๆ นาๆ

กาลต่อมา บิดามารดาก็ถึงกาลกิริยาตายลง บุตรเศรษฐีพร้อมภรรยาแทนที่จะบังเกิดธรรมสังเวช กลับยิ่งมัวเมาประมาทใช้จ่ายทรัพย์ที่มีอยู่อย่างฟุ่มเฟือย จนในที่สุดทรัพย์สมบัติมหาศาลที่บิดามารดาทิ้งไว้ให้ก็ต้องหมดไป ต้องไปกู้หนี้ยืมสิของผู้อื่นมาเลี้ยงชีวิต ไอ้ครั้นจะคิดทำมาหากินก็ไม่รู้ว่าจะไปทำอะไรเพราะไร้วิชา กู้มามากๆ เข้าเจ้าหนี้เขาก็เข้ามาทวง เมื่อไม่มีทรัพย์จะใช้หนี้ บุตรเศรษฐีและภรรยาจึงต้องยกบ้านและสมบัติที่มีให้แก่เจ้าหนี้ทั้งปวงที่มาทวง แล้วตนกับภรรยาจึงชวนกันไปอาศัยนอนตามโรงทานหรือศาลาพักร้อนริมทาง ทั้งสองต้องซัดเซพเนจรรอนแรมเที่ยวขอทานเพื่อเลี้ยงชีวิตไปวันๆ ต้องรับความลำบาก ทุกยากเหลือแสน เหตุเพราะขออาหารจากใครๆ ก็มิอยากจะให้ ด้วยเป็นเพราะตอนที่ร่ำรวยก็ชอบที่จะดูถูกเหยียดหยามแก่คนที่ต่ำกว่า ครั้งเมื่อถึงเวลาตนตกต่ำแร้นแค้น เลยมีแต่คนจ้องดูแคลนมิให้อาหาร

ขณะนั้นมีโจรกลุ่มหนึ่ง เดินทางผ่านมาเห็นเข้า จึงกล่าวแก่บุตรเศรษฐีขึ้นว่า เจ้ายังหนุ่มยังมีกำลังแข็งแรง เหตุใดจึงทำตัวเหมือนคนพิการขาดมือ ขาดเท้า เที่ยวขอทาน มาเถิดสหาย จงมาร่วมกับพวกเราเที่ยวลักขโมย ปล้นสดมภ์ ฉกชิงทรัพย์ของผู้คนทั้งหลายกันเถิด จะได้ทรัพย์มาพอเลี้ยงชีพได้ เจ้ามัวแต่เที่ยวขอทานอยู่เช่นนี้ คงมิอาจได้อาหารพอเลี้ยงชีพหรอก
บุตรเศรษฐี จึงกล่าวว่า พี่ชายข้าพเจ้าไม่รู้จักวิธีลักขดมย ข้าพเจ้าคงจะทำมิได้พวกโจรจึงกล่าวว่า สหายไม่เป็นไรหรอก เรื่องวิธีลักขโมยปล้นสดมภ์น่ะ เดี๋ยวพวกเราจะช่วยสอนให้ ขอให้สหายและภรรยาจงตามไปอยู่กับเรา แล้วทำตามเราสอนก็แล้วกันเมื่อบุตรเศรษฐีและภรรยา ตามพวกโจรไปแล้ว ต่อมาโจรก็พากันออกชิงทรัพย์ในบ้านหลังหนึ่ง พร้อมทั้งมอบไม้กระบอง ให้แก่บุตรเศรษฐีแล้วกล่าวว่า
สหาย เมื่อพวกเราเจาะฝาเรือนเข้าไปในบ้าน เจ้าจงยืนดักรออยู่ ณ ประตูเรือน ถ้ามีเจ้าของเรือนวิ่งออกมาทางประตู เจ้าจงตีด้วยไม้ตะบองนี้ให้ตาย จะได้ไม่ไปแจ้งแก่พระราชาว่าพวกเรามาปล้นเอาทรัพย์ไป บุตรเศรษฐีผู้นี้เป็นคนขาดปัญญา ไม่รู้ว่าทำสิ่งใดมีสาระ หรือไม่มีสาระ จึงทำตามคำสอนของพวกโจร ยืนถือไม้ตะบองคุมเชิงอยู่ที่ปากประตูเรือนเช่นนั้นพวกโจรเมื่อเข้าไปในเรือนได้แล้ว จึงเก็บขนข้าวของทรัพย์สมบัติ ใส่ถุงแบกหนีออกไปทางช่องฝาเรือนขณะนั้นเจ้าของเรือน พอทราบว่าโจรเข้ามาขโมยทรัพย์ ก็พากันตื่นกลัว เอะอะโวยวาย หนีออกมาทางประตูบ้าน

บุตรชายเศรษฐีผู้ริเป็นโจร ก็ใช้ไม้ทุบตีเจ้าของบ้าน แต่เนื่องจากเจ้าของทรัพย์ภายในเรือนมีหลายคน โจรมือใหม่จึงสู้แรงไม่ได้ จึงถูกจับประชาทัณฑ์พร้อมกับนำตัวไปถวายพระราชา ฟ้องว่าเป็นโจรมาปล้นทรัพย์ในเรือนพระราชาครั้นเมื่อไต่สวนเป็นที่ทราบแน่ชัดแล้ว จึงทรงลงพระอาญา ด้วยการมีรับสั่งให้อำมาตย์ นำบุตรเศรษฐีผูกเครื่องจองจำ แล้วให้สวมคอด้วยพวกมาลัยดอกไม้แดง ทาศรีษะด้วยขี้อูฐ พร้อมทั้งนำตระเวนตีกลองร้องป่าวประจานไปทั่วเขตพระนคร เมื่อถึงเขตประหารที่นอกเมืองให้ตัดหัวเสียบประจาน

ขณะที่ขุนทหาร นำลูกเศรษฐีผู้บัดนี้กลายเป็นโจร ถูกเครื่องพันธนาการร้อยรัดกาย ถูกบรรดาทหารเฆี่ยนตีด้วยแส้และหวาย ผ่านมากลางเขตบ้าน ผู้คนชนทั้งปวงก็พากันออกมามุงดู ส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่อึงมี่

ครานั้นมีหญิงงามเมือง (โสเภณี) ผู้หนึ่ง มีนามว่า สุลสา นางได้ยินเสียงหมู่ชนก่นด่าวิพากษ์วิจารณ์อยู่เซ็งแซ่ นางจึงชโงกหน้าออกมาดูจากบานหน้าต่างของปราสาทที่นางและมารดาพร้อมบริวารอาศัยอยู่ นางได้แลเห็นบุตรเศรษฐีถูกเฆี่ยนตีประชาทัณฑ์เช่นนั้น ก็เกิดใจเมตตาการุญ ด้วยเหตุว่าเคยรู้จักคุ้นเคยกันมาแต่กาลก่อน  นางจึงได้นำขนมสด ๔ ก้อน พร้อมกับน้ำดื่มไปให้แก่บุตรเศรษฐี พร้อมทั้งยังช่วยขอร้องต่อขุนทหารผู้ควบคุมว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอได้โปรดกรุณาให้เวลาบุรุษผู้ควรรับโทษานุโทษนี้ ได้มีโอกาสหยุดพัก ได้กินขนมสดและดื่มน้ำเสียก่อนเถิด ไหนๆ เขาก็จะมิได้มีโอกาสได้ดื่มกินอีกต่อไปแล้ว ผู้คุมจึงอนุญาต

เวลานั้น พระโมคคัลลานะเถระเจ้า แลเห็นด้วยทิพยจักษุว่า บุตรเศรษฐีผู้นี้จักมาตายเสียวันนี้ เขายังมิได้เคยทำบุญบำเพ็ญกุศลสิ่งใดมาเลยตั้งแต่เกิด มีแต่ทำบาปอกุศล เมื่อตายไปจักไปบังเกิดในนรก ตกอบายภูมิ พระมหาเถระจึงมีใจกรุณา คิดว่าถ้าเราไปอยู่ ณ ที่ตรงนั้นบุตรเศรษฐีผู้นี้ จะได้ถวายขนมสดและน้ำดื่มแก่เรา เมื่อเรารับทานของเขาแล้ว เมื่อถึงคราวที่เขาตายจักได้ไปบังเกิดเป็นรุกขเทวดา ดีหละ...เราจะไปเป็นที่พึ่งแก่เขาขณะที่นางสุลสา นำเอาขนมสดและน้ำ มอบให้แก่นักโทษ ผู้กำลังจะโดนประหาร พระมหาโมคคัลลานะจึงเนรมิตกายให้ปรากฏเฉพาะหน้าของนักโทษนั้น

บุตรเศรษฐีผู้เป็นนักโทษประหาร เมื่อได้เห็นพระมหาเถระซึ่งเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ ก็มีจิตเลื่อมใสยินดี จึงอังคาส (ถวายพระ) ขนมสดและน้ำดื่มแก่พระเถระ ด้วยจิตคิดว่าชีวิตเรากำลังจะมอดม้วย เราจะยังมาต้องการประโยชน์อันใดกับอาหารมื้อนี้ เราจะทำให้ขนมสดและน้ำดื่มนี้มีกินไปจนถึงโลกหน้าจะดีกว่า คิดดังนั้นแล้วบุตรเศรษฐีผู้เป็นนักโทษประหาร ก็ถวายขนมและน้ำนั้นแก่พระเถระ  พระมหาเถระเมื่อได้รับขนมและน้ำนั้นแล้ว จึงลงนั้นในที่นั้นเพื่อดื่มและฉันให้บุตรเศรษฐีได้เห็น

บุตรเศรษฐี ได้เห็นเช่นนั้น ยิ่งบังเกิดศรัทธาเลื่อมใสมากขึ้น ผู้คุมจึงพาเดินทางไปสู่ที่ประหาร ขณะที่บุตรเศรษฐีบังเกิดปีติอิ่มเอิบในผลบุญของตนที่ได้กระทำมา จวบจนกระทั่งผู้คุมพาตัวมายังที่ประหาร และลงดาบตัดคอเขา จิตของเขาก็ยังดื่มด่ำเอิบอาบอยู่ในผลบุญที่ตนได้กระทำ

ด้วยเดชแห่งบุญที่บุตรเศรษฐีได้กระทำก่อนตาย หลังจากตายลงแล้ว พลันได้อุบัติเป็นรุกขเทวดา สถิตอยู่ ณ ต้นไทรใหญ่ ที่ขึ้นอยู่ระหว่างซองเขาแห่งหนึ่งนอกกรุงราชคฤห์

ที่จริงบุตรเศรษฐี ควรจะมีวาสนาบังเกิดเป็นเทพยดาชั้นสูง เหตุเพราะได้มีโอกาสทำบุญแก่พระมหาโมคคัลลานะเถระ ผู้รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ แต่ด้วยจิตก่อนตายได้หวนระลึกนึกรัก นางสุลสา ว่าของที่เราได้มาแล้วมีโอกาสทำบุญถวายทานแก่พระเถระ เพราะจิตใจที่มากด้วยเมตตาของนาง นางช่างมีจิตใจที่ดีงามเสียเหลือเกิน ตัวเราช่างมีวาสนาน้อย มิได้มีโอกาสอยู่ทำการอุปการะตอบแทนบุญคุณต่อนาง ด้วยความคิดเหล่านี้จึงทำให้จิตของบุตรเศรษฐีนั้น เศร้าหมองลง จึงได้ไปบังเกิดเป็นแค่รุกขเทวดา ถือว่าเป็นภุมเทวดาชั้นต่ำ

ถ้าบุตรเศรษฐีนั้น จักขวนขวายดำรงวงศ์ตระกูลในเวลาเจริญวัย ก็จะได้เป็นเศรษฐีปานกลางดำรงวงศ์ตระกูลในเวลาเจริญวัย ก็จะได้เป็นเศรษฐีปานกลาง ถ้าขยันประกอบการงานในปัจฉิมวัย ก็จะได้มีโอกาสเป็นเศรษฐีน้อย แต่ถ้าบวชในปฐมวัย ก็จักได้เป็นพระอรหันต์ ถ้าบวชในมัชฉิมวัยจักได้บรรลุพระสกทาคามี หรือไม่ก็เป็นพระอนาคมี แต่ถ้าบวชในปัจฉิมวัยจักได้บรรลุพระโสดาบัน แต่เพราะเขาคบคนพาล จึงกลายเป็นนักเลงผู้หญิง นักเลงสุรา นักเลงการพนัน ชอบประพฤติทุจริตผิดศีลเสมอ ไม่เคารพผู้ใหญ่จนเป็นเหตุให้ทรัพย์ทั้งหลายพินาศเสียหายจนสิ้น แม้แต่ชีวิตก็ไม่เหลือ

กาลต่อมา นางสุลสา ได้มีโอกาสไปเที่ยวเล่นนอกเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งภูเขา อันต้นไทรใหญ่ขึ้นอยู่ และ ณ ต้นไทรนั้น ยังเป็นที่สถิตของรุกขเทวดาบุตรเศรษฐี รุกขเทวดานั้นเมื่อได้เห็นนางสุลสาจึงจำได้บังเกิดความพึงพอใจต่อนาง จึงบันดาลให้มืดไปทั้งบริเวณรอบภูเขาทั่วภาคพื้น แล้วรุกขเทวดานั้นได้นำนางสุลสาไปสู่ยังวิมานอันเป็นที่อยู่ของตนบนต้นไทรใหญ่นั้น แล้วเล่าเรื่องแต่หนหลังให้นางสุลสาได้ทราบ มนุษย์และเทวดาทั้งสองนั้นจึงอยู่ร่วมกันสิ้นเวลาตลอด ๗ วัน

กล่าวฝ่ายมารดาของนางสุลสา เมื่อเห็นว่าบุตรีของตนหายไปจึงออกตามหาไปในที่ต่างๆ ด้วยความอาลัยรักในบุตรีของตนจนสิ้นเวลาไป ๗ วัน ก็ยังมิอาจได้พบบุตรีของตนได้ จึงนั่งลงร้องไห้อยู่ข้างทางที่ผู้คนสัญจรไปมา

คนทั้งหลายจึงพากันเข้าไปสอบถาม พอรู้ความก็บังเกิดความสงสาร แต่ก็สุดปัญญาที่จะช่วยนางผู้เฒ่านั้นได้ จวบจนเวลาล่วงเลยไปมีชายผู้หนึ่งเดินทางผ่านมาเห็นเข้า จึงชักชวนยายผู้เฒ่าให้เข้าไปเฝ้าถวายอภิวาท พระมหาโมคคัลลานะเถระ ณ เวฬุวนาราม เพื่อขอให้พระเถระผู้มากไปด้วยฤทธิ์พิจารณาช่วยเหลือ

ครั้นพระมหาเถระโมคคัลลานะ ได้ทราบจึงกล่าวแก่มารดาของนางสุลสาว่า นับแต่นี้ไปอีก ๗ วัน พระบรมสุคตเจ้า จักทรงแสดงธรรมที่เวฬุวันมหาวิหาร ขออุบาสิกาจงเดินทางมาสดับพระสัทธรรมนั้น แล้วอุบาสิกาจะได้เห็นนางสุลสาบุตรีปรากฏตัวอยู่นอกที่ประชุมนั้น

กาลต่อมานางสุลสา จึงได้กล่าวแก่รุกขเทวดานั้นว่า นับแต่ข้าพเจ้ามาอยู่ในวิมานของท่าน ก็สิ้นเวลาไป ๗ วันแล้ว บัดนี้ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นห่วงมารดาของข้าพเจ้า ถ้ามารดาออกตามหา คงจะต้องได้รับความยากลำบากทุกข์มากเป็นแน่ ขอท่านจงนำข้าพเจ้ากลับไปส่งแก่มารดาเถิด

รุกขเทวดานั้นจึงได้นำนางสุลสาไปส่งให้แก่มารดา ในขณะที่พระบรมศาสดา ทรงแสดงธรรมอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ให้นางสุลสายืนอยู่นอกที่ประชุมพร้อมรุกขเทวดา แต่มิมีใครมองเห็นรุกขเทวดา เห็นแต่นางสุลสา

ชนทั้งหลาย เมื่อเห็นนางสุลสามาปรากฎยืนอยู่ จึงพากันซักถามนางว่าเจ้าไปไหนมา มารดาของเจ้ากำลังเศร้าโศกทุกข์ร้อน ดูคล้ายจะเป็นบ้า ทำไมเจ้าถึงทำเหตุฉิบหายให้เกิดแก่ตนเช่นนี้นางสุลสา จึงเล่าให้แก่ชนทั้งหลายได้ฟังว่า ไปอยู่กับรุกขเทวดาบุตรเศรษฐี

ชนทั้งหลายพอได้ฟัง ต่างก็พากันส่ายหน้า แสดงอาการกิริยาไม่เชื่อแล้วกล่าวว่าไม่จริงหรอก เจ้ากำลังพูดโกหก บุตรเศรษฐีนั้นเป็นผู้มีความประพฤติเลวร้าย ชั่วช้าลามก มีบุญอันใดที่จะทำให้ไปบังเกิดเป็นรุกขเทวดา

นางสุลสา จึงได้กล่าวขึ้นว่า บุตรชายเศรษฐีแม้จะทำทุจริตทั้งทางกาย วาจา ใจ แต่ก่อนตาย เมื่อข้าพเจ้านำขนมสดและน้ำดื่มไปให้เขากินก่อนตาย เขากลับไม่กิน แต่มีศรัทธาบริจาคขนมสดและน้ำดื่มนั้นถวายแก่พระเป็นเจ้ามหาโมคคัลลานะผู้เรืองฤทธิ์ ด้วยกุศลกรรมดังกล่าวจึงทำให้เขาไปบังเกิดเป็นรุกขเทวดา

ชนทั้งหลาย พอได้ฟังนางสุลสาเล่า ต่างก็พากันเปล่งสาธุพร้อมกับเกิดความเลื่อมใส อัศจรรย์ใจ ปีติโสมนัสเป็นที่ยิ่งนัก แล้วพากันกล่าวจนเกิดโกลาหลว่า โอ้! ช่างอัศจรรย์จริงหนอ... พระสมณะศากยบุตรช่างมีคุณอันวิเศษจริงหนอ... พระอรหันต์ของพระผู้มีพระภาค ช่างเป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลกจริงหนอ แม้แต่คนทุจริตเข็ญใจ น้อมถวายเครื่องสักการบูชาเพียงเล็กน้อย ก็ยังเป็นผลส่งให้ไปบังเกิดเป็นเทวดา ประเสริฐจริงหนอๆ... สาธุ... สาธุ...

ภิกษุทั้งหลาย ครั้นได้สดับเสียงของมหาชนเป็นโกลาหลอยู่นอกที่ประชุมเช่นนั้น จึงนำความที่ได้สดับเอาไปกราบทูลถามแต่พระบรมสุคตเจ้า

องค์สมเด็จพระบรมสุคตเจ้า จึงได้มีพุทธฏีกาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่บุคคลมาถวายทานแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย ถือว่าประเสริฐแล้ว พระอรหันต์เปรียบประดุจดังเนื้อนา ผู้ถวายทานทั้งหลายประดุจดังชาวนา สิ่งของที่ควรถวายทั้งปวงเปรียบประดุจดังพันธุ์พืชที่จะปลูกลงบนเนื้อนา

เมื่อชาวนา ปลูกพืชพันธุ์ดีลงบนเนื้อนาที่ดี พร้อมทั้งดูแลรักษาอย่างดี (หมายถึงมีศรัทธา) ย่อมเป็นที่มุ่งหวังได้ว่า พันธุ์พืชนั้นๆ ย่อมเจริญเติบโตดี ผลก็ย่อมออกมาดี

ผลของพืชนั้น (หมายถึงบุญที่ได้) ย่อมเป็นประโยชน์แก่ผู้ให้ ผู้ถวาย ผู้บริจาค ผู้อุทิศ (ผู้ปลูกหรือชาวนา) และยังเป็นประโยชน์แก่เปรตทั้งหลาย แก่หมู่ญาติทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้ว เมื่อผู้ให้ทาน ผู้ถวาย หรือชาวนาผู้ปลูกพืชนั้น ทำการอุทิศ บุญจึงมีแก่ผู้ให้ ผู้ถวาย ผู้อุทิศ หรือชาวนาผู้ปลูกพืชแล้วแบ่งปันแก่เปรตและญาติทั้งหลาย ผู้ให้ ผู้ถวายนั้นย่อมรุ่งเรืองเจริญ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ส่วนเปรตผู้ได้รับผลบุญนั้นแล้ว ย่อมพ้นจากสภาพความเป็นเปรตด้วย การยินดีในบุญที่ญาติอุทิศให้ ตัวอย่างเช่น เปรตผู้เป็นญาติของพระเจ้าพิมพิสารเป็นต้น ดังเรื่องที่มีมาแล้วความว่า

ครั้งเมื่อพระราชาพิมพิสาร และบริวารได้ทรงสดับพระสัทธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโปรดจนบรรลุเป็นพระโสดาปัตติผลพร้อมหมู่ชนและบริวารเป็นอันมากองค์ราชาพิมพิสาร ทรงมีจิตศรัทธา ทรงถวายอุทยานเวฬุวันพร้อมสร้างเป็นวัด เพื่อให้พระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์สาวก ได้อาศัยเจริญสมณะธรรม กาลต่อมา คืนวันหนึ่ง องค์ราชาพิมพิสารขณะที่ทรงกำลังบรรทม พลันทรงได้ยินเสียงร้องโหยหวนอันน่ากลัวปรากฎขึ้นภายในพระราชวังเช้าขึ้นพระราชาพิมพิสาร จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทรงกราบทูลถามถึงที่มาของเสียง ว่าเป็นเสียงอะไร ทำไมถึงได้โหยหวนน่าสะพรึงกลัวเช่นนั้นองค์สมเด็จพระบรมสุคตเจ้า จึงทรงมีพุทธฏีกาตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตรทรงอย่าได้หวาดกลัวไปเลย เสียงที่ทรงได้ยินนั้นจะไม่เป็นผลร้ายอันใดแก่พระองค์เลย แล้วทรงเล่าเหตุที่มาของเสียงเหล่านั้นให้แก่พระราชาพิมพิสารได้ทรงสดับ ความว่า

อดีตกาลนั้นย้อนหลังจากนี้ไป ๙๒ กัป พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระปุสสะสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงได้รับทูลอาราธนาจากพระราชาผู้ครองนครราชคฤห์ในอดีต ให้เสด็จประทับอยู่ในพระราชอุทยานพร้อมภิกษุสงฆ์บริวารอีก ๕๐๐ รูป เพื่อที่จะถวายภัตตาหาร เหตุการณ์ได้ดำเนินอยู่เช่นนี้เป็นเวลาหลายวัน จวบจนพระราชบุตรทั้ง ๓ ขององค์ราชา ได้ทูลขออนุญาตแก่พระบิดา เพื่อที่จะมีโอกาสถวายทานแก่พระปุสสะพุทธเจ้าและหมู่สงฆ์ ด้วยพระองค์เองบ้างราชาราชคฤห์ จึงทรงอนุญาตให้พระราชบุตรทั้ง ๓ ทำการถวายทานแก่พระปุสสะพระพุทธเจ้าและหมู่สงฆ์ทั้งหลายได้

พระราชบุตรทั้ง ๓ จึงได้ไปชวนขุนคลัง (ซึ่งก็คือพระราชาพิมพิสารในชาติปัจจุบัน) ให้มารวมจัดหาอาหารทั้งคาวและหวาน ขุนคลังพอได้รับหน้าที่ให้เป็นหัวหน้าจัดหาอาหารเลี้ยงพระ จึงชักชวนบรรดาญาติๆ ของตน ให้มาช่วยทำอาหารเลี้ยงพระ ต่างฝ่ายต่างก็ช่วยกันเป็นที่โกลาหล ขยันขันแข็ง ใหม่ๆ ตอนช่วงแรกๆ บรรดาญาติ ของขุนคลัง ก็ยังปฏิบัติตนดีอยู่ แต่พอเวลาล่วงเลยไป ชักเกิดความประมาท แอบบริโภคอาหารก่อนพระภิกษุสงฆ์เสียบ้าง แอบขโมยอาหารที่เขาทำไว้เพื่อถวายแก่พระพุทธเจ้า และหมู่สงฆ์ไปเลี้ยงลูกเมียและญาติของตนเสียบ้าง บรรดาญาติๆ ของขุนคลังแอบทำผิดอยู่เช่นนี้เป็นนิตย์ ด้วยความละโมบกาลต่อมา พระราชบุตรทั้ง ๓ และขุนคลัง กับบรรดาญาติบริวารตายลง

พระราชบุตรทั้ง ๓ และขุนคลัง ตายแล้วได้ไปเสวยสุขอยู่บนสวรรค์ มีวิมานอันเรืองรองและโภคทรัพย์อันประณีตเลิศรสมากมายเป็นเครื่องอยู่ ส่วนบรรดาญาติๆ และบริวารของขุนคลัง ที่แอบขโมยอาหารของพระภิกษุสงฆ์ ต้องไปบังเกิดในขุมนรกสิ้นกาลช้างนาน ครั้นพ้นจากนรกนั้นแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดเป็นเปรต จำพวก ปรทัตตูปชีวี คือเปรตจำพวกมีผลบุญของญาติเป็นอาหาร

ปรทัตตูปชีวีเปรต เป็นเปรตที่มีเศษอกุศลอันเบาบาง จึงมีจิตอันระงับทุกข์โศกได้บางขณะ จึงมีโอกาสรับรู้บุญที่หมู่ญาติอุทิศให้ เมื่อรับรู้แล้วอนุโมทนาผลบุญนั้นๆ ความอดอยาก ยากแค้น ก็จะบรรเทาเบาบาง หรือหายไปสิ้น ด้วยเดชบุญของญาติ

แต่ถ้ายังมิได้มีญาติระลึกถึง ไม่อุทิศผลบุญให้ เปรตจำพวกนี้ ก็จะซัดเซพเนจร เร่ร่อน แสวงหาผลบุญจากหมู่ญาติคนต่อๆ ไป ถ้ายังมิได้ก็จะเวียนกลับมา รอใหม่ วนเวียนอยู่ใกล้ๆ หมู่ญาติ ด้วยความหวังว่า

“เมื่อใด ญาติของเรา ทำบุญกุศลแล้ว เขาคงอุทิศให้แก่เราบ้าง” แต่เมื่อญาติทำบุญแล้วมิได้อุทิศผลบุญให้ หมู่เปรตพวกนี้ ก็จะเดินวนเวียนไปมา ด้วยความผิดหวัง หิวกระหาย ทุรนทุราย บางทีถึงกับเป็นลมล้มลงหมดสติไป ครั้นพอมีลมพัดมากระทบกาย ก็ฟื้นคืนสติมาได้แล้วคิดปลอบใจตนเองว่า

“วันนี้ญาติเราระลึกไม่ได้ว่ามีเรา คราวต่อไปเขาคงจะระลึกได้”

เมื่อทำบุญกุศล เขาคงจะอุทิศผลบุญให้เรา ในคราวหน้า และแล้วเปรตนั้น ก็ทนอดอยาก หิวกระหายต่อไป ด้วยความหวังว่า สักวันเราจะได้อาหารจากหมู่ญาติที่ระลึกถึง

ปรทัตตูปชีวีเปรต ผู้เป็นญาติของพระราชาพิมพิสาร ได้รอคอยผลบุญของพระราชาพิมพิสาร ด้วยความอดอยาก หิวกระหาย จนกาลเวลาล่วงเลยมาจนถึง พระพุทธเจ้ากกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า หมู่ชนผู้คนทั้งหลายพอได้ฟังพระสัทธรรม ที่พระพุทธองค์ทรงแสดง ก็บังเกิดปีติโสมนัสยินดี มีศรัทธาที่จะบริจาคทานถวายปัจจัย ๔ แก่หมู่สงฆ์ ซึ่งมีพระกกุสันโธพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วแบ่งผลบุญอุทิศให้แก่หมู่ญาติของตนที่ล่วงลับไปแล้ว

ฝูงเปรตปรทัตตูปชีวี บางพวกที่ได้รับผลบุญของญาติ ก็แสดงความชื่นชมโสมนัสยินดี ดุจดังบุรุษสตรีผู้เดินทางมากลางทะเลทราย อดอยากและกระหายน้ำเป็นกำลัง ครั้นเดินมาเจอแหล่งน้ำและอ






หมวด: สาระจากพระพุทธศาสนา
»บุญข้าวประดับดิน เรียกอีกอย่างว่าเปรตพลี แปลว่าอุทิศให้เปรต วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9
06-09-2021
»อำนาจบุญบวช สวดมนต์ไหว้พระ ทำสมาธิ เดินจงกรม
14-02-2021
»ชาติหน้ามีจริงไหม
26-01-2021
»บัญชีบุญ-บัญชีบาป
24-01-2021
»ถ้าไม่ใช่กรรมที่เราทำมา เราก็จะไม่ได้รับกรรมนั้น
26-01-2021
»คำยืนยันจากหลวงปู่มั่นว่า "พระแก้วมรกต เลือกประเทศไทย" ด้วยเหตุผล 3 ข้อ
24-01-2021
»มนุษย์อยากเป็นเทวดา แต่ เทวดากลับอยากเป็นมนุษย์
11-03-2018
»ทุกข์ทรมารมากกว่าจะได้เกิดเป็นคน
10-03-2018
»อันตรธาน 5
28-02-2018
»มาฆบูชา
28-02-2018
»การไปแสวงบุญที่พุทธสังเวชนียสถาน 4 แห่ง ได้ไปสวรรค์
10-02-2018
»กรรม 12 ประเภท
10-02-2018
»นาค พญานาค เป็นสัตว์เดรัจฉาน
10-02-2018
»นักแสดง ตายแล้วไปเกิดในนรก หรือกำเนิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน
10-02-2018
»คำว่า อนุโมทนา กับ โมทนา ต่างกันอย่างไร
20-12-2017
»เหตุใดวัดพระแก้วจึงไม่มีพระสงฆ์อยู่
26-10-2017
»ทำไมต้องทำบุญ
05-07-2017
»เจ้าชายสิทธัตถะประสูติแล้ว ดำเนินได้ ๗ ก้าวจริงหรือ
31-05-2017
»เรื่องพระสารีบุตรตอนจะเข้าสู่พระนิพพาน
23-02-2016
»แผนที่ธรรม แสดง 31 ภพ
23-02-2016
»สี่คนหาม สามคนแห่ หนึ่งคนนั่งแคร่ สองคนพาไป คืออะไร
07-12-2015
»"วันนี้วันพระ" วันพระมีความเป็นมาและสำคัญอย่างไร
18-11-2015
»ติรัจฉานวิชา (ว่าด้วยสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่กระทำ)
07-08-2014
»มหาสุทัสสนสูตร : ข้อเตือนใจคนโลภ
29-07-2014
»อานาปานสติ
09-04-2014
»บัว 4 เหล่า
16-01-2018
»คติ และคติภพ คืออะไรและต่างกันอย่างไร
13-12-2014
»พระเกศา_พระโลหิต'_พระสังฆราชกลายเป็นพระธาตุ
13-12-2014
»สวรรค์ 6 ชั้น
19-01-2021
»พระคาถาธารณปริตร
02-10-2013
»หลวงพ่อชาตอบปัญหาธรรม
17-07-2013
»วันมาฆบูชา
11-02-2014
»พุทธชยันตี
10-01-2013
»พระธรรมเทศนาจากหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
05-01-2013
»ช้างปาเลไลยก์
17-01-2013
»พระกุมารกัสสปะ
05-01-2013
»นางจิญจมาณวิกา นางอมิตตา กลับชาติมาเกิด
05-01-2013
»นางวิสาขา มหาอุบาสิกา
03-04-2016
»นางสิริมา หญิงโสเภณีผู้บรรลุโสดาบัน
05-01-2013
»เอาเงินใส่บาตรพระบาปไหม ที่นี่มีคำตอบ
03-04-2016
»โครงการภาพยนตร์ พุทธศาสดา ชาวพุทธควรชมอย่างยิ่ง
05-01-2013
»ไฟล์เสียงวิธีนั่งสมาธิตอนที่1-5 โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
05-01-2013
»พระสุปฏิปฏิปัณโณ หรือพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ
04-01-2013
»พระไตรปิฏก ตอนที่ 1(เข้าใจง่าย)
04-01-2013
»พระบรมครู คู่มือครู
16-01-2018
»อนุบุพพิกถา
04-01-2013
»ตักบาตรเทโวโรหนะ
04-01-2013
»คุณหมอผู้สนใจธรรมะ "ธรรมะคือลมหายใจ"
04-01-2013
»พระเจ้าพิมพิสาร
04-01-2013
»พระอานนท์
04-01-2013
»พระมหาโมคคัลลานะ
04-01-2013
»เรื่องเทวดา
04-01-2013
»ถือศีล ห้า ได้กุศลมากกว่าสร้างวิหารทาน จริงหรือ
04-01-2013
»เงื่อนไขการทำบุญให้ทาน
04-01-2013
»การทำบุญด้วยศรัทธา
04-01-2013
»บุญจากการอนุโมทนา
04-01-2013
»พระฉันนนะผู้ว่ายากสอนยาก
04-01-2013
»นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระพุทธเจ้า
04-01-2013
»เกิดใหม่กลัวบาป อุทาหรณ์ การทำบาป
04-01-2013
»พระภัททากัจจานาเถรี
04-01-2013
»นิทานธรรมบท เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก
04-01-2013
»เมื่อใด บาปให้ผล เมื่อนั้น คนพาล ย่อมประสบทุกข์
04-01-2013
»เมื่อพญานาคอยากเป็นมนุษย์
04-01-2013
»เหตุใดเทวดาจุติ(ตาย)แล้วจึงอยากเกิดเป็นมนุษย์
04-01-2013
»ผลของกรรม
04-01-2013
 
หน้าแรก  เกี่ยวกับเราคุณครู.คอม


คุณครู.คอม ขอแสดงเจตนาว่าทุกข้อความใน เว็บไซต์นี้ให้คัดลอกได้
ไม่จำกัด เพื่อเป็นวิทยาทาน เพื่อการศึกษาเท่านั้น . .

email  [email protected]


kkwebv56   Copyright©2023 kunkroo.com
Development from SMEweb 1.5f By คุณครู.คอม